X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? มีเวลาดูแล สั่งสอนลูกได้นานแค่ไหน

บทความ 5 นาที
คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? มีเวลาดูแล สั่งสอนลูกได้นานแค่ไหน

พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปีพ่อแม่หลายคนคิดอยากจะหยุดเวลาลูกในวัยเด็กเอาไว้ เพราะเมื่อลูกโตขึ้นก็จะต้องห่างจากอกพ่อแม่ไปมีสังคมของเขา มีอนาคตที่ลูกจะต้องเป็นคนสร้างด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่กลายเป็นคนเบื้องหลังที่เฝ้ามองลูกเติบโต แท้จริงแล้วคนเป็นพ่อเป็นแม่ครอบครองลูกได้กี่ปีกันนะ

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี?

ต่อให้รักลูกแค่ไหน อีกไม่นานก็ต้องปล่อย! พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปี เราจะมีเวลาดูแลและเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกได้นานถึงแค่ไหน หลายคนบอกว่าลูกเป็นของพ่อแม่เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ดังนั้นจงใช้โอกาสทองเข้าครอบครองลูกในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่เข้าต้องการพ่อแม่ให้คุ้มค่าที่สุดกันเถอะ

 

เมื่อลูก 3 ขวบ

ความรู้สึกที่ลูกเข้าเรียนอนุบาลวันแรก ลูกของคุณสวมชุดนักเรียนได้น่ารักที่สุดเลย เมื่อคุณมาส่งที่โรงเรียน ลูกเอาแต่ร้องไห้จ้า เอาแต่กอดแม่ไม่ยอมให้แม่จากไป จนคุณครูต้องมาอุ้มไป คุณได้ยินลูกส่งเสียงดังร้องหา “แม่จ๋า แม่จ๋า!” แม้จะห่วงและสงสารลูกแต่ก็ต้องยอม นั่นคือวันที่ลูกห่างพวกพ่อแม่อย่างจริงจังครั้งแรก วันทั้งวันคุณรอเวลาให้โรงเรียนเลิกเพื่อที่จะไปยืนรอรับลูก ให้ลูกได้เห็นว่าคุณไม่ได้ไปไหนไกล และทันทีที่ลูกเห็นหน้าก็รีบวิ่งเข้ามากอด พร้อมกับพูดว่า “แม่จ๋า หนูคิดถึงแม่จ๋าจังเลย” ในเวลานั้น เมื่อได้กอดลูกก็เหมือนกับกอดโลกทั้งใบไว้ในอ้อมแขน

 

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อกับลูกสาว 12 ปีจบ

พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปีกัน

เมื่อลูก 6 ขวบ

ลูกเข้าเรียนชั้นประถมฯ ได้โดยที่คุณแม่ไม่ต้องจูงมือไปส่งถึงห้องเรียน มันช่างเป็นภาพที่น่าจดจำ จากเด็กขี้แยวันแรกเริ่มโตขึ้นมาแล้ว วัยนี้ลูกจะได้เปิดบันทึกชีวิตหน้าใหม่ของเขาแล้ว และเริ่มเป็นก้าวแรกที่ลูกได้ก้าวเท้าออกจากชีวิตของพ่อแม่ เพราะลูกคุ้นชินกับการอยู่ห่างจากพวกคุณเป็นวัน ๆ ได้แล้ว และลูกชอบไปโรงเรียน มีสังคมในแบบของเขา เป็นชีวิตที่เขาเริ่มชอบและเริ่มสนุก บางครั้งคุณอาจจะได้ยินลูกพูดว่า “แม่ ผมไม่ชอบอยู่บ้านเลย ผมไม่มีเพื่อนเล่น”

เมื่อลูก 12 ขวบ

ลูกเป็นเด็กมัธยมต้นแล้ว พ่อแม่บางคนอาจให้ลูกได้เข้าโรงเรียนประจำ กว่าจะได้กลับบ้านก็เมื่อหมดเทอม ลูกในวัยนี้ช่วยเหลือตัวเองได้เยอะแล้ว และเขาไม่จำเป็นต่องพึ่งพวกคุณอีกต่อไป ในบางครั้งลูกก็ชอบจ้องคุณ เวลาที่คุณแม่อยากช่วยทำอะไร คุณอาจจะเจอลูกบอกว่า “ไม่ต้องหรอกครับแม่ เดี๋ยวผมทำเอง!” เมื่อได้ยินประโยคนี้จากปากของลูก คุณจะรู้สึกว่าตัวเองเริ่มหมดความสำคัญหรือลูกไม่ต้องการคุณแล้ว!

 

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อกับลูกสาว 12 ปีจบ

พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปีกัน

เมื่อลูก 18 ปี

ลูกเข้ามหาวิทยาลัยกันแล้ว จะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่กี่ครั้งกันนะ เดือนละครั้งสองครั้ง ปีละครั้งสองครั้ง ก่อนหน้าที่ลูกจะกลับมาในตู้เย็นมีอาหารพอกินแค่คนสองคน แต่เมื่อลูกจะกลับมาคุณจะเตรียมของที่ลูกชอบไว้เต็มตู้ ไม่ว่าเขาจะใช้เวลาอยู่กับพวกคุณเพียงไม่กี่นาทีจากนั้นก็ออกไปหาเพื่อนสมัยเด็ก ในเวลานี้สิ่งที่พวกคุณกลัวที่จะได้ยินที่สุดก็คือ “แม่ ผมไม่กลับมากินข้าวนะ พ่อกับแม่กินกันไปเลย”

หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย

ลูกไปทำงานไกลบ้าน กว่าจะกลับมาเยี่ยมบ้านก็ยากเหลือเกิน เมื่อกลับมาก็อยู่กับพ่อแม่ให้ชื่นใจได้เพียงไม่กี่วัน ในช่วงเวลาที่ลูกไม่อยู่ด้วยสิ่งที่คุณรอคอยก็คือเสียงโทรศัพท์จากลูก และหวังจะให้ลูกได้พูดว่า “แม่ ผมสบายดี แม่รักษาสุขภาพด้วยนะ!” แค่นี้ คนเป็นแม่ก็สุขใจแล้ว

เมื่อลูกแต่งงาน

การกลับมาเยี่ยมพวกคุณก็จะถูกแบ่งครึ่งไปกับบ้านแม่ยายครึ่งหนึ่ง และเวลาของพวกคุณก็ลดน้อยลงไปอีก กว่าที่จะคุณชินก็เหลือแต่สองตายายที่เป็นคนแก่เฝ้าบ้าน และในตอนนี้สิ่งที่พวกคุณต้องการได้ยินมากที่สุดจากลูกก็คือ “แม่ครับ ปีใหม่ปีนี้ผมกลับบ้านนะ!”

 

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อกับลูกสาว 12 ปีจบ

พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปีกัน

และเมื่อเขามีลูก

พ่อแม่ก็ไม่ใช่สมาชิกของคนในครอบครัวของลูกอีกต่อไป ซึ่งถึงเวลานี้พวกคุณคงชินกับชีวิตแบบนี้แล้ว เมื่อมีเวลาว่างคุณก็มักจะเปิดดูอัลบั้มรูปเก่า ๆ ดูรูปครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก ไม่ว่าจะลูกจะโตไปอีกกี่ปี ลูกไปอยู่ที่ไหน เขาก็ยังคงเป็นสมาชิกในครอบครัวตลอดไป

อ่านมาถึงตรงนี้ มีใครน้ำตาไหล ถึงแม้ว่าลูกในตอนนี้ยังเป็นเบบี๋ เป็นเด็กหัดเดิน หรือกำลังเข้าอนุบาลกันอยู่ แต่เมื่อมองเห็นอนาคตข้างหน้า คุณจะรู้สึกได้ว่าตอนที่ลูกอยู่ข้างกายเรานั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่สุด แม้บางครั้งเราจะเหนื่อยกับการเลี้ยงลูก จะต้องคอยบ่นคอยว่า หรือพยายามหาเงินทองส่งเสียให้ลูกได้เรียนหนังสือไปมากมายก็ตาม

เพราะว่าอีกสิบปีหลังจากนี้ ต่อให้คุณอยากมีบรรยากาศแบบนี้ก็ไม่สามารถมีได้อีกแล้ว เพราะลูกมีวัยเด็กครั้งเดียว และลูกก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

 

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อกับลูกสาว 12 ปีจบ

พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? คุณครอบครองลูกได้กี่ปีกัน

หลังจากหย่านมลูกแล้ว คุณมักจะคิดถึงเวลาที่ให้นมลูกอยู่ใช่หรือไม่?
ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นคุณทั้งคิดว่าเจ็บหัวนมและลำบาก

คุณมักจะยิ้ม เมื่อเห็นภาพถ่ายตอนที่ลูกดูดหัวแม่มือของตัวเองใช่หรือไม่?
ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นคุณโมโหทุกครั้งที่เห็นลูกดูดมือ มักจะตีลูกและรีบล้างมือลูก แถมยังบ่นแล้วบ่นอีกว่าอย่าอมนิ้ว

คุณนึกถึงเสียงออดอ้อนของลูกในตอนที่เขาเป็นเด็ก ๆ ใช่หรือไม่?
ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นคุณมักจะดุลูกว่าทำไมทำตัวเป็นเด็ก ไม่รู้จักโตสักที

คุณนึกถึงวันที่ลูกกอดขาคุณแน่นในวันที่เขาไปโรงเรียนครั้งแรกใช่หรือไม่?
ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นคุณคิดแต่เพียงว่าจะทำยังไงให้ลูกไปโรงเรียนโดยไม่งอแง

กาลเวลาเดินหน้าไปเรื่อย ๆ ที่ผ่านแล้วมันก็จะผ่านเลยไป ดังนั้น พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้ไม่กี่ปี เวลาที่ลูกอยู่ข้างกายจึงเป็นเวลาที่มีค่ามากที่สุด ใช้เวลาเหล่านี้กับลูกให้คุ้มค่าและมีประโยชน์ที่สุด เพื่อให้คุณได้มีความทรงจำดี ๆ เก็บเอาไว้ และอย่ารอให้มันผ่านไป เพื่อจะได้ไม่มาเสียดายทีหลัง.

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

แหล่งที่มา : นุสนธิ์บุคส์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โอกาสทอง!!!เพิ่มเซลล์สมองให้ลูกก่อนสายเกินไป

เลี้ยงลูกไม่ง่ายแต่ไม่ใช่ของยาก

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • คุณครอบครองลูกได้กี่ปี พ่อแม่มีโอกาสทองที่จะครอบครองลูกได้กี่ปี? มีเวลาดูแล สั่งสอนลูกได้นานแค่ไหน
แชร์ :
  • 7 พฤติกรรมในชีวิตที่พ่อแม่ไม่แก้ไขส่งผล ทำลายอนาคตลูก !!

    7 พฤติกรรมในชีวิตที่พ่อแม่ไม่แก้ไขส่งผล ทำลายอนาคตลูก !!

  • ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

    ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 7 พฤติกรรมในชีวิตที่พ่อแม่ไม่แก้ไขส่งผล ทำลายอนาคตลูก !!

    7 พฤติกรรมในชีวิตที่พ่อแม่ไม่แก้ไขส่งผล ทำลายอนาคตลูก !!

  • ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

    ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ