การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ในระหว่างการตั้งครรภ์ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และมีความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งตัวของมารดา และทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทางเดินปัสสาวะตอนบน ซึ่งเป็นส่วนของไต และท่อไต และทางเดินปัสสาวะตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนของกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่มักเกิดการอักเสบ คือ กระเพาะปัสสาวะ และในทางการแพทย์มักเรียกภาวะนี้ว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุของการติดเชื้อ
เกิดจาก เชื้อพวกแบคทีเรีย บริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (Ascending infection) ร่วมกับ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะ ขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัว ของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
แม้เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอยู่หลายชนิด แต่ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ มักติดเชื้อ อีโคไล (E.Coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) ซูโดโมแนส (Pseudomonas) และเอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ มักแพร่มาจากทางเดินอาหาร และช่องคลอด โดยปนเปื้อนมากับอุจจาระ หรือในขณะมีเพศสัมพันธ์
- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
การขาดฮอร์โมนชนิดนี้ ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ เติบโตได้ง่ายในช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อย่างโรคหนองในหรือเริม มีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน (Honeymoon Cystitis)
- การตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ ทางเดินปัสสาวะจะขยายออก ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น และอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
อาการของโรค
ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการต่าง ๆ ขึ้นกับตำแหน่ง ของการติดเชื้อ หากการติดเชื้ออยู่เฉพาะที่กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ น้ำปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน และปวดท้องน้อย แต่ถ้าการติดเชื้อนั้นลามขึ้นไปตามท่อไต จนถึงไต ผู้ติดเชื้อ จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลังบริเวณสีข้าง และถ้าเป็นรุนแรงมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำ ซึมลง และหมดสติได้
เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวของระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถแบ่งได้เป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แบบไม่มีอาการ (Asymptomatic bacteriuria) พบได้ประมาณ 2-15% และแบบที่มีอาการแสดง (Symptomatic UTI) พบได้ 1-2% ในหญิงตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ และควรที่จะไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการติดเชื้อ และอาจส่งปัสสาวะ เพื่อการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ เพื่อช่วยในการพิจารณา ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อไป
แบททีเรีย ชนิด Asymptomatic bacteriuria
มักตรวจพบได้จากการคัดกรองโรค หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยประมาณ 20-40% จะสามารถพัฒนาไปเป็น Pyelonephritis ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การคลอดก่อน อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ พบได้ถึง 20-50% ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยหรือภาวะทารกโตช้าในครรภ์
การวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแบบไม่ปรากฏอาการ
- ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียโดยวิธีการเก็บตรวจปัสสาวะ 2 ครั้ง (2 consecutive voided urine specimens) โดยพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคชนิดเดียวกัน ปริมาณเชื้อมากกว่า หรือเท่ากับ
- ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียโดยวิธีการสวนผ่านท่อปัสสาวะ(catheterized urine specimens) ผลการเพาะเชื้อ พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคชนิดเดียว ปริมาณเชื้อมากกว่า หรือเท่ากับ
วิธีเก็บสิ่งส่งตรวจ ควรให้หญิงตั้งครรภ์ทำความสะอาด บริเวณอวัยวะเพศก่อนทุกครั้ง เมื่อปัสสาวะออกไปก่อนระยะหนึ่ง แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางของการปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ (midstream clean-catch specimen) จะช่วยลดการปนเปื้อน ไม่แนะนำให้เก็บปัสสาวะส่งตรวจ ด้วยวิธีสวนท่อปัสสาวะ เนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสติดเชื้อ
วิธีการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- กินยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่ หากมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง คือ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หมอจะให้กินยาปฎิชีวนะประมาณ 3 – 7 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยไม่จำเป็นต้องแอดมิด นอนโรงพยาบาล
- ให้ยาปฎิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หากมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือติดเชื้อที่ไต หมอจะให้นอนโรงพยาบาล เพราะจำเป็น จะต้องให้ยาปฎิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ใช้เวลาประมาณ 10 – 14 วัน หากอาการดีขึ้น ก็สามารถกลับบ้านได้ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรกลับมาตรวจเพิ่มเติม
การป้องกันการติดเชื้อ
1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรม ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (วันละ 8 – 12 แก้ว) เพื่อให้ปัสสาวะออกในปริมาณที่เหมาะสม
3. เข้ารับการรักษาโรค ที่มีผลทำให้การไหลของปัสสาวะผิดปกติ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น
4. ผู้ที่ยังคงมีการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะบ่อย ๆ มากกว่า 2 ครั้ง ใน 6 เดือน หรือมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี แม้จะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปัสสาวะ และแก้ไขความผิดปกติ ของการไหลของปัสสาวะ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ แบบกินเพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน
การรักษาสำหรับหญิงตั้งครรค์
หากหญิงที่ตั้งครรภ์ ได้รับการวินิจฉัยว่า มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรได้รับการรักษาทุกราย โดยไม่คำนึงว่า จะมีอาการแสดงหรือไม่ เพื่อลดการภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากกรวยไตอักเสบ
ที่มา : wikipedia, si.mahidol, pobpad, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!