X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

บทความ 3 นาที
การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไรการร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมเด็กแรกเกิดถึงได้ร้องไห้ทันทีที่คลอดออกมา เหตุผลของการทำให้ทารกแรกเกิดร้องไห้ครั้งแรกนั้นสำคัญอย่างไร เรามีคำตอบ

ทําไมทารกแรกเกิดจึงร้องไห้?

การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญต่อการมีชีวิตรอดของเด็กอย่างมาก เนื่องจากทารกเติบโตภายในมดลูกโดยได้รับออกซิเจนจากสายรกมาตลอด ซึ่งหมายความว่า ขณะอยู่ในท้องแม่นั้น ทารกไม่ได้ใช้ปอดในการหายใจ แต่เมื่อคลอดออกมาคุณหมอได้ทำการตัดสายสะดือ เป็นอันหมดหน้าที่ของรก เด็กแรกเกิดจึงต้องเริ่มหายใจด้วยปอดของตัวเองค่ะ

ทารกแรกเกิดจะร้องไห้ภายใน 20 วินาที ถึง 1 นาทีแรกของชีวิต เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ปอดทำงาน ร่างกายจะได้ไม่ขาดออกซิเจน ถ้าเบบี๋ไม่ร้อง คุณหมอจะกระตุ้นให้ร้อง โดยการจับตบที่ก้น นวดฝ่าเท้า หรือถูหลังทารกแรกเกิด

นอกจากนี้ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมแบบกะทันหัน จากในที่มืดๆ แคบๆ มาเป็นที่มีแสงสว่างจ้าก็เป็นเหตุให้เบบี๋ที่รู้สึกทั้งเหนื่อยและหิวร้องออกมาได้เช่นกัน และอุณหภูมิที่ลดลงอย่างฉับพลัน จากอุณหภูมิในท้องแม่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส มาสู่อุณหภูมิเฉลี่ยในห้องคลอดราว 28 องศาเซลเซียส เมื่อคลอดออกมาด้วยร่างกายเปลือยเปล่าและเปียกปอน สภาพแวดล้อมภายนอกครรภ์เช่นนี้จะกระตุ้นให้เบบี๋มีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการสูดหายใจลึกๆ ดึงเอาอากาศเข้าไปในทางเดินหายใจ แล้วร้องไห้ออกมาขณะหายใจออก  ทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบการหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยที่กระตุ้นให้ทารกร้องไห้หลังคลอดทันที

การแลกเปลี่ยนก๊าซ:

ในระหว่างการคลอด การหดตัวของมดลูกทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านเลือดของแม่กับเลือดของทารก ที่จะเปลี่ยนไปสู่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้น ทุกครั้งที่มีการหดตัวจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคลอดระยะที่สอง ซึ่งเป็นระยะเบ่ง เมื่อคุณแม่กลั้นหายใจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ภาวะความเป็นกรดในเลือดของทารกนี้ชักนำให้ทารกมีการหายใจเพิ่มขึ้น

ภาวะไร้น้ำหนัก:

เนื่องจากลูกน้อยได้ใช้เวลาเก้าเดือนในครรภ์ที่มีสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยของเหลว (น้ำคร่ำ) ทำให้รู้สึกเบากว่าน้ำหนักจริง แต่หลังจากเบบี๋คลอดออกมาแล้ว ทารกจะรู้สึกสูญเสียภาวะไร้น้ำหนัก จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งในการร้องไห้ของทารก

สายสะดือ:

ความยาวของสายสะดือปกติอยู่ที่ 30-60 เซนติเมตร หากสายสะดือยาวกว่า 60 เซนติเมตร มันอาจจะพันทารกในครรภ์ หรือทารกแรกเกิดจนรัดแน่น หากสายสะดือสั้นกว่า 25 เซนติเมตรอาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนดจากการดึงอย่างแรง หรือจากการฉีกขาดของสายสะดือ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในระหว่างการคลอด และยังมีอิทธิพลต่อการหายใจครั้งแรกของทารกอีกด้วย นอกจากนี้ การผูกสายสะดือทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น กระตุ้นตัวรับความดันเลือด และระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้น

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการร้องไห้ครั้งแรกของทารก

ถ้าลูกน้อยของคุณร้องไห้นานเกินกว่า 2-3 นาทีหลังคลอด หรือหลังจากดูดนมครั้งแรก มีความเป็นไปได้ว่าทารกจะได้รับความบอบช้ำหรือการบาดเจ็บ หากเบบี๋ร้องไห้เร็วเกินไป หมายถึงก่อนที่ไหล่ของเบบี๋จะผ่านออกมาจากช่องคลอด ทารกอาจเริ่มหายใจในขณะที่ยังไม่มีอากาศที่เหมาะสม แต่คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดไปกระตุ้นศูนย์การหายใจในสมอง ทำให้ทารกสำลักน้ำคร่ำได้

วัดคุณภาพการร้องไห้ครั้งแรกของทารก

  1. หากการร้องไห้ครั้งแรกของทารกโหยหวนมาก อาจเป็นสัญญาณของความดันสูงภายในกะโหลก
  2. หากเสียงร้องเป็นเสียงแหบ อาจเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อชัก
  3. หากร้องไห้เหมือนแมว อาจเป็นสัญญาณของโรคทางพันธุกรรม
  4. หากร้องไห้เสียงแผ่วเบา แม้คุณหมอจะกระตุ้นแล้วก็ตาม อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางระบบประสาทอย่างรุนแรงหรือความผิดปกติอื่น ๆ

ทารกที่ไม่ร้องจะเป็นอย่างไร?

ทารกที่ไม่ร้องไห้ทันทีที่คลอดอาจเป็นไซนัสหรือเป็นหวัดในขวบปีแรก และในอนาคตยังอาจติดเชื้อในหู คอ จมูก หรือเกิดการอักเสบเรื้อรังที่หูชั้นกลาง นำไปสู่อาการหูหนวกและพูดช้าค่ะ

ที่มา www.momjunction.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ปอดของทารกในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร

ความพยายามของทีมแพทย์ช่วยชีวิตทารกแรกเกิดหยุดหายใจ

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร
แชร์ :
  • ลูกผู้ชายก็ร้องไห้ได้ คนร้องไห้ไม่ใช่คนอ่อนแอ แต่เป็นการปล่อยอารมณ์ที่ดี

    ลูกผู้ชายก็ร้องไห้ได้ คนร้องไห้ไม่ใช่คนอ่อนแอ แต่เป็นการปล่อยอารมณ์ที่ดี

  • ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

    ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

  • วิธีทําให้ผัวรักผัวหลง 8 วิธี ที่จะทำให้ผัวรักผัวหลงจนโงหัวไม่ขึ้น !!

    วิธีทําให้ผัวรักผัวหลง 8 วิธี ที่จะทำให้ผัวรักผัวหลงจนโงหัวไม่ขึ้น !!

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • ลูกผู้ชายก็ร้องไห้ได้ คนร้องไห้ไม่ใช่คนอ่อนแอ แต่เป็นการปล่อยอารมณ์ที่ดี

    ลูกผู้ชายก็ร้องไห้ได้ คนร้องไห้ไม่ใช่คนอ่อนแอ แต่เป็นการปล่อยอารมณ์ที่ดี

  • ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

    ทารกร้องไห้ ไม่หยุด ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี ?

  • วิธีทําให้ผัวรักผัวหลง 8 วิธี ที่จะทำให้ผัวรักผัวหลงจนโงหัวไม่ขึ้น !!

    วิธีทําให้ผัวรักผัวหลง 8 วิธี ที่จะทำให้ผัวรักผัวหลงจนโงหัวไม่ขึ้น !!

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ