X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไม ลูกชอบโขกหัว ตัวเอง?

บทความ 3 นาที
ทำไม ลูกชอบโขกหัว  ตัวเอง?ทำไม ลูกชอบโขกหัว  ตัวเอง?

ช่างน่าประหลาดใจแต่การที่ทารกโขกหัวตัวเองกับสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมดามาก เกือบร้อยละ 20 ของเด็กทารกและเด็กวัยคลานจงใจโขกหัวตัวเอง แม้ว่าเด็กผู้ชายมีโอกาสโขกหัวตัวเองมากกว่าเด็กผู้หญิงถึงสามเท่าก็ตาม

ลูกชอบโขกหัว เกิดจากอะไร?

ลูกชอบโขกหัว

ลูกชอบโขกหัว

การโขกหัวตัวเอง มักเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีแรก และจะพบได้บ่อยสูงสุดระหว่างเดือนที่ 18 ถึงเดือนที่ 24 ของลูก นิสัย ลูกชอบโขกหัว ตัวเองอาจจะอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี แต่เด็กส่วนใหญ่จะเลิกพฤติกรรมนี้ได้เองก่อนอายุ 3 ปี

ลูกชอบโขกหัว

สาเหตุที่ลูกชอบโขกหัวตัวเอง

เพื่อให้ตัวเองสบายขึ้น ฟังดูแปลกล่ะสิ? แต่เด็กวัยคลานส่วนใหญ่ที่ชอบโขกหัวตัวเองก็เพื่อผ่อนคลาย ลูกโขกหัวตัวเองเป็นจังหวะขณะที่กำลังจะนอนหลับ เมื่อตื่นกลางดึก หรือแม้กระทั่งเมื่อกำลังนอนอยู่ บางคนก็ทั้งเข่า ทั้งมือ ทั้งเท้าไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เช่น การโยกเก้าอี้ อาจช่วยให้ลูกน้อยได้ผ่อนคลายตัวเองบ้าง

เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ลูกน้อยอาจจะโขกหัวตัวเองหากกำลังเจ็บปวดอยู่ เช่น จากฟันที่กำลังขึ้นหรือการติดเชื้อที่หู การโขกหัวดูเหมือนจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้ บางทีก็เป็นการทำให้ตัวเองไขว้เขวจากความอึดอัดไม่สบายที่ปากหรือหู

ความหงุดหงิดงุ่นง่านใจ หากลูกน้อยโขกหัวตัวเองระหว่างที่กำลังโมโหโวยวาย ลูกอาจจะพยายามปลดปล่อยอารมณ์รุนแรงอยู่ ลูกยังไม่ได้เรียนรู้มากพอที่จะแสดงอารมณ์ผ่านคำพูดได้ ดังนั้นลูกจึงต้องใช้การกระทำทางร่างกาย และเช่นกัน ลูกอาจจะต้องการทำให้ตัวเองรู้สึกสบายขึ้นจากความเครียด

เพื่อเรียกร้องความสนใจ การโขกหัวอย่างต่อเนื่องอาจเป็นวิธีที่ลูกเรียกร้องความสนใจจากคุณ คุณอาจจะสงสัยเมื่อคุณเห็นลูกทำอะไรที่ดูเหมือนจะทำร้ายตัวเองแบบนี้ และเนื่องจากลูกชอบเมื่อเห็นคุณให้ความสนใจและทำโน่นทำนี่เพื่อทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น สบายขึ้น ลูกก็จะโขกหัวตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณอีกเรื่อย ๆ

ปัญหาเรื่องพัฒนาการ การโขกหัวตัวเองอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาออทิสซึมและปัญหาทางพัฒนาการอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาการโขกหัวตัวเองเป็นเพียงสัญญาณเตือนทางพฤติกรรมเพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้นจากหลาย ๆ ชนิด มีโอกาสน้อยมากที่การโขกหัวตัวเองเพียงอย่างเดียวจะเป็นการส่งสัญญาณบ่งชี้ปัญหาทางพัฒนาการที่รุนแรง

โขกหัว

อ่านหน้าถัดไปเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาลูกชอบโขกหัว

ลูกชอบเอาหัวโขก

แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?

ให้ความสนใจกับลูก แต่ไม่ใช่ตอนที่ลูกกำลังโขกหัวตัวเอง

คุณควรให้ความสนใจกับลูกมาก ๆ เมื่อลูกไม่ได้กำลังโขกหัวตัวเอง หากลูกยังคงโขกหัวตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ พยายามอย่าทำเป็นเรื่องสำคัญ หรือคุณอาจจะอยากปรับพฤติกรรมลูกสักหน่อย แม้ว่าคุณไม่อาจมองข้ามพฤติกรรมนี้ไปโดยสิ้นเชิงได้ แต่ก็อย่าดุหรือทำโทษลูกที่โขกหัวตัวเอง ลูกเล็กเกินกว่าที่จะเข้าใจสถานการณ์ และท่าทางปฏิเสธของคุณอาจมีแต่ทำให้เรื่องแย่ลง

ป้องกันลูกไม่ให้บาดเจ็บ

ตรวจสอบสกรูและสลักของเปลลูกทุกเดือนหรือบ่อยกว่านั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการที่ลูกเอาหัวโขกกับเปลไม่ได้ทำให้โครงสร้างง่อนแง่นหรือหลวม คุณสามารถติดล้อยางที่ขาเปลและแขวนผ้านุ่ม ๆ หรือผ้าคลุมนวมระหว่างเปลและผนังเพื่อลดเสียงและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผนังและพื้น

อย่าเอาหมอนหรือผ้าห่มวางไว้ในเปลลูกเพื่อทำให้สิ่งของรอบตัวลูกนุ่มลง เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงที่ลูกจะหายใจไม่ออกเพราะเด็กเอาศีรษะไปมุดหรือผ้าห่มอาจมาพันกับส่วนศีรษะลูกได้ หากคุณต้องการใช้วัสดุกันกระแทกกับเปลลูกเพื่อลดแรงกระแทกเวลาลูกโขกหัวตัวเอง คุณต้องแน่ใจว่าวัสดุนั้นบาง แน่น (ไม่บวมหรือฟูฟ่อง) และยึดติดอยู่กับราวรั้วของเปลอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเอาหัวเข้าไปสอดอยู่ระหว่างวัสดุกันกระแทกกับราวรั้วของเปลได้นั่นเอง

พยายามอย่ากังวล

ลูกของคุณอาจได้รอยฟกช้ำมาสักรอยหรือสองรอย แต่อย่ากังวลไปเลย การโขกหัวตัวเองมักเป็นพฤติกรรมการควบคุมตัวเอง หมายความว่า ลูกของคุณไม่มีแนวโน้มที่จะโขกหัวตัวเองแรงจนทำให้บาดเจ็บอะไรมากมาย ลูกรู้ขีดจำกัดของตัวเองต่อความเจ็บปวดดีและจะลดแรงลงมาหน่อยเมื่อการโขกหัวตัวเองทำให้ลูกเจ็บ

ช่วยลูกโดยการเลี้ยงลูกให้รักจังหวะด้วยวิธีการอื่น ๆ

แน่นอนว่าลูกชอบจังหวะที่มั่นคง ดังนั้นคุณควรช่วยให้ลูกได้รักการใช้จังหวะด้วยวิธีการอื่น ๆ ดีกว่า
ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้คุณสอนลูกให้เต้นรำ เดินเป็นจังหวะ ตีกลอง หรือตบมือไปพร้อมกับเพลง คุณอาจลองตั้งเครื่องเคาะจังหวะไว้ในห้องของลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจที่มีจังหวะที่มั่นคง

บทความใกล้เคียง: ลูกก้าวร้าว ชอบทำร้ายผู้อื่น

อ่านวิธีหยุดลูกเอาหัวโขกสิ่งต่าง ๆ ที่หน้าถัดไป

คุณควรให้ลูกได้ออกกำลังกายมาก ๆ ในระหว่างวันเพื่อให้ลูกได้ใช้พลังงานที่มีออกไป ลูกจะได้ไม่เอาพลังงานที่ล้นออกมาไปโขกหัวตัวเอง

เริ่มต้นกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย

หากลูกโขกหัวตัวเองเพื่อเป็นวิธีการผ่อนคลายตัวเองหลังจากวันที่แสนยุ่ง คุณลองสร้างกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลายให้กับลูกดูสิ การอาบน้ำอุ่น การโยกลูกเบา ๆ บนตัก การเล่านิทานหรือร้องเพลงเบา ๆ ก่อนนอนก็อาจช่วยได้ คุณอาจอยากใช้เวลาลูบหลังหรือหน้าผากของลูกสักสองสามนาทีก่อนที่ลูกจะนอน ดนตรีเบา ๆ ในห้องนอนก็ช่วยผ่อนคลายได้เหมือนกัน

ปรึกษาแพทย์หากพฤติกรรมของลูกดูน่ากังวล

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

หากลูกคุณโขกหัวตัวเองบ่อย ๆ ระหว่างวันและโขกหัวตัวเองเรื่อย ๆ แม้ว่าลูกจะเจ็บ คุณอาจจะต้องกังวลแล้วล่ะ แม้ว่าอาการนี้จะดูไม่ธรรมดา การโขกหัวอาจเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมและปัญหาทางด้านพัฒนาการอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเด็กมีอายุเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล

เด็กออทิสติกโดยทั่วไป มักสื่อสารกับผู้คนไม่ค่อยราบรื่นนัก มักจะไม่ค่อยสนใจที่จะสัมผัสกับพ่อแม่ และดูเหมือนว่าจะมองผ่านผู้คนแทนที่จะมองที่ผู้คน หากคุณสังเกตว่าลูกของคุณสูญเสียความสามารถทางกายภาพ ทางภาษา หรือสูญเสียทักษะอื่น ๆ ที่เคยมี หรือหากลูกเริ่มเงียบลงไม่พูดไม่จาอย่างมาก หรือหากลูกมีพัฒนาการทั่วไปช้าผิดปกติล่ะก็ คุณควรปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ

เข้าใจเด็กแอสเพอร์เกอร์ (ออทิสติกอย่างหนึ่ง)

โขกหัว

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกชอบตีหัวตัวเอง เอาหัวโขกพื้น จะเป็นอันตรายไหม?

5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?

ลูกร้องเอาแต่ใจ ทําไงดี วิธีแก้ปัญหาลูกเอาแต่ใจ แต่ละช่วงวัย ทำไมลูกชอบกรี๊ด ลงไปดิ้นกับพื้น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทำไม ลูกชอบโขกหัว ตัวเอง?
แชร์ :
  • เด็กก้าวร้าว หยาบคาย โมโหร้าย พ่อแม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแบบนี้หรือเปล่า?

    เด็กก้าวร้าว หยาบคาย โมโหร้าย พ่อแม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแบบนี้หรือเปล่า?

  • ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

    ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • เด็กก้าวร้าว หยาบคาย โมโหร้าย พ่อแม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแบบนี้หรือเปล่า?

    เด็กก้าวร้าว หยาบคาย โมโหร้าย พ่อแม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแบบนี้หรือเปล่า?

  • ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

    ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ