คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยมั้ย อายุเท่าไหร่กันนะ ลูกถึงจะเริ่มมีเพื่อน
เคยสงสัยมั้ย อายุเท่าไหร่กันนะ ลูกถึงจะเริ่มมีเพื่อน
อายุเท่าไหร่กันนะ ลูกถึงจะเริ่มมีเพื่อน ลูกตัวติดแม่ตลอดเวลา พาไปเล่น Play Group ก็นั่งเล่นอยู่คนเดียว ไม่เข้าไปหาเพื่อนๆ บ้างเลย หรือว่าลูกยังไม่พร้อมกันนะ แล้วเมื่อไหร่ลูกจะพร้อมมีเพื่อนกันละ
มีเพื่อน = มีทักษะทางสังคม ?
ลูกจะเริ่มมีเพื่อนยังไง จะหาเพื่อนได้ไหม คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยค่ะ เพราะอะไรรู้ไหมคะ เพราะคุณพ่อคุณแม่คือเพื่อนคนแรกของลูกยังไงละคะ ลูกจะเรียนรู้วิธีโต้ตอบกับคนอื่นๆ และแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อตัวเขาเองค่ะ
จากนั้นอีก 2 ปี ลูกจะสามารถเล่นกับเพื่อน เรียนรู้ที่จะเล่นเกมส์ต่างๆ พูดคุยเม้ามอย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้ การเรียนรู้ทักษะทางสังคมนี้คุณพ่อคุณแม่สร้างได้ค่ะ
1 – 1 ขวบครึ่ง (12 – 18 เดือน)
ในขวบปีแรกนั้น เด็กๆ จะเน้นพัฒนาการด้านร่างกายค่ะ เช่น การหยิบจับสิ่งของ การเดิน การวิ่ง ลูกยังคงมีสมาธิกับสิ่งต่างๆ ในเวลาสั้นๆ เช่น เล่นกับปู่ย่าตายาย แต่ลูกจะติดคนที่เลี้ยงเขาตลอดเวลาอย่างคุณแม่หรือคุณพ่อมากที่สุด
ลูกยังอยู่ในช่วงเวลาหัดเดินเตาะแตะ สนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับลูกมากกว่า ลูกเรียนรู้ที่จะสื่อสารและเปล่งเสียงออกมาอย่างมีความหมาย แม้ว่าในตอนนี้ลูกจะพุ่งความสนใจทุกอย่างไปที่ความต้องการของตัวเองเท่านั้นค่ะ
แน่นอนว่าการมีลูกขี้อายไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะเขากำลังเรียนรู้อยู่นะคะ พัฒนาการลูกจะดีขึ้นหนังจากอายุ 18 เดือนไปแล้วค่ะ ลูกอาจจะไม่ใช่เด็กที่เริ่มเดินไปหาไปเล่นกับเด็กคนอื่นก่อน แต่ในช่วงอายุนี้ลูกจะเริ่มสังเกตการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กคนอื่นๆ แล้วค่ะ ซึ่งบางทีก็กล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าหาคนอื่นก่อน
ดังนั้นบางทีคุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่า ลูกกับเด็กคนอื่น จะนั่งใกล้ๆ กัน แต่ไม่เล่นด้วยกันค่ะ นั่นแหละที่เด็กๆ กำลังสังเกตการณ์การเล่นของเพื่อนๆ อยู่ และขอให้ทำใจด้วยว่าเด็กๆ ในวัยนี้มักจะดูป่าเถื่อน แน่นอนละค่ะ การกัด การดึงผม การเตะ หรือผลัก คือการแสดงออกอย่างเดียวที่ลูกไม่ต้องพยายามมาก แต่พฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อลูกเรียนรู้การสื่อสารผ่านคำพูดได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว
ในปีแรกนั้น เด็ก ๆ จะเน้นพัฒนาการด้านร่างกาย เช่น การหยิบจับสิ่งของ การเดิน การวิ่ง
1 ขวบครึ่ง – 2 ขวบ (19 – 24 เดือน)
ในช่วงอายุนี้ ลูกจะเริ่มมีการเข้าหาเด็กคนอื่นๆ บ้างแล้วนะคะ แต่ก็เหมือนกับทักษะอื่นๆ การเรียนรู้ของลูกจะมีแบบที่ได้ผลบ้าง ผิดพลาดไปบ้างค่ะ เพราะเด็กๆ นั้นยังไม่ซับซ้อน รู้สึกยังไงก็แสดงออกไปตามนั้น การรอคอย การแบ่งปันนั้น ยังทำได้อย่างมีข้อจำกัด อย่างคาดหวังว่าลูกจะมีเหตุผลเหมือนกับผู้ใหญ่นะคะ
เด็กๆ นั้นต่างกัน ขณะที่เด็กคนนึงเงียบๆ นั่งเล่นของเล่นของเขาไป แต่เด็กอีกคนนั้นอาจจะเดินเม้ามอยไปทั่ว มันก็ไม่ผิดถ้าลูกจะไม่ใช่แนวเดินเข้าหาคนอื่นก่อนค่ะ การแอบอยู่ข้างหลังคุณแม่ หรือไม่ยอมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ นั่นแสดงว่าลูกยังไม่พร้อมที่จะมีส่วนร่วม เขาขอเก็บข้อมูลและขอสนใจกับสิ่งอื่นที่เขาสนใจก่อน อย่าพยายามบังคับหรือคะยั้นคะยอลูกให้ทำตามสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ ถ้าเขาพร้อมเขาจะทำเองค่ะ
2 ขวบ – 2 ขวบครึ่ง (25 – 30 เดือน)
โลกยังคงหมุนรอบตัวของลูกอยู่ค่ะ ในช่วงอายุ 2 – 3 นี้ ลูกยังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากพอที่จะคิดถึงความต้องการของคนอื่น สิ่งที่ลูกคิดและรู้สึก คือสิ่งที่คนอื่นคิดและรู้สึกด้วย
เมื่อลูกมีประสบการณ์กับเด็กๆ คนอื่น ลูกจะเริ่มแบ่งปันมากขึ้น สลับกันเล่นมากขึ้น ลูกอาจจะไม่ได้เป็นเด็กที่ใจดีมีน้ำใจตลอดเวลา แต่นั่นก็เป็นพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะ ในช่วงนี้ลูกอาจจะมีเพื่อนที่จำได้ 1-2 คนบ้างแล้ว แต่แน่นอนนั่นคือเพื่อนที่ลูกจำได้และอาจจะสนิทที่สุดแล้วค่ะ
เด็กๆ ยังไม่มีมารยาท เพราะมันคือเรื่องที่ต้องเรียนรู้ค่ะ ลูกอาจจะยังไม่ยอมพูดสวัสดีหรือขอบคุณ ลูกอาจจะวิ่งหนีไป เล่นสัก 10 นาที แล้วเดินมาจุ๊บคุณทีนึงก็ได้ ไม่ใช่เรื่องที่ยอมรับไม่ได้หรือผิดปกติค่ะ มารยาททางสังคม กฎกติกาทั้งหลาย ต้องการการฝึกฝนและเรียนรู้
ในช่วงอายุ 2 – 3 นี้ ลูกยังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์พอที่จะคิดถึงความต้องการของคนอื่น
2 ขวบครึ่ง – 3 ขวบ (31 – 36 เดือน)
เพื่อนในจินตนาการของเด็ก ๆ อาจจะเริ่มมีตัวตนในช่วงนี้ค่ะ ไม่ต้องเป็นห่วง หรือพยายามโยงเข้ากับสิ่งลี้ลับ มันคือการปูทางสำหรับการสร้างเพื่อนของเด็ก ๆ ค่ะ ลูกกำลังเรียนรู้วิธีการสร้างปฎิสัมพันธ์กับใครบางคน นอกเหนือจากคุณพ่อคุณแม่ มันคือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะสนับสนุนลูกนะคะ
ลูกกำลังเริ่มปรับตัว ปรับความสัมพันธ์กับคนอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะกับคุณพ่อคุณแม่ แม้ลูกจะทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เช่น เขาอาจจะหัวเราะเมื่อเห็นคนอื่นล้ม หรือไม่ปลอบน้องเมื่อน้องร้องไห้ นั่นก็เพราะลูกยังไม่รู้ไม่เข้าใจเต็มที่ ว่าเขาจะต้องทำยังไงเมื่อคนอื่นมีอาการแบบนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนลูกด้วยว่า ถ้าเป็นลูก ลูกจะรู้สึกยังไง และต้องการให้คนอื่นทำยังไงกับเขา ความเห็นอกเห็นใจหรือคิดถึงคนอื่นคือเรื่องที่สอนกันได้ค่ะ
แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรจะคาดว่า เขาจะทำได้ทุกสถานการณ์นะคะ เพราะลูกยังต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝน และเจอสถานการณ์จริงที่แตกต่างกันออกไปค่ะ
เพื่อนในจินตนาการของเด็ก ๆ อาจจะเริ่มมีตัวตนในช่วงนี้ค่ะ
เมื่อลูกเข้าอนุบาล
เขาจะเห็นตัวอย่างระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ครูกับเพื่อน เพื่อนกับครู สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น การฝึกฝนทักษะทางสังคมนี้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปหากช่วงแรก ๆ ลูกจะยังไม่มีเพื่อนที่สนิท หรือจำชื่อเพื่อนไม่ได้เลยสักคน ลูกกำลังพยายามอยู่ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เขาเพิ่งได้เจอเป็นครั้งแรกค่ะ
ลูกยังต้องการเวลาที่จะเติบโต เวลาที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในแบบของเขาเอง ลูกอาจจะไม่ใช่เด็กที่ร่าเริงที่สุด ไม่ใช่เด็กที่ทำได้ดีที่สุด และไม่นานเขาก็จะสนุกในแบบของเขา มีเพื่อนในแบบของเขา ทะเลาะกับเพื่อน ก็ควรให้เป็นเรื่องของเด็กๆ นะคะ ตีกัน กัดกัน แต่เขาจะดีกันเองค่ะ ปัจจัยความขัดแย้งของเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องอะไรไกลตัวค่ะ ความเหนื่อย ความไม่เข้าใจ อารมณ์หงุดหงิดของเด็ก ๆ เองนี่แหละ แม้คุณพ่อคุณแม่จะใจหายไปบ้าง เมื่อเช้ายังทะเลาะกับเพื่อนอยู่เลย เเต่อีกสิบนาทีต่อมาก็เล่นกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้ว เรื่องปกติของเด็ก ๆ ค่ะ
ลูกกำลังพยายามอยู่ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เขาเพิ่งได้เจอเป็นครั้งแรก
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : Babycenter
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ทำอย่างไรให้ลูกมีทักษะสังคมที่ดี
ทักษะทางสังคม 10 ประการ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ
ทำไม ทักษะทางสังคม ถึงสำคัญกว่าคะแนน ไขคำตอบ ปลดล็อกลูกตั้งแต่อนุบาล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!