ก่อนลูกคลอด แม่ต้องเตรียมตัว อย่างดี ทั้งการแพ็กกระเป๋าเตรียมคลอด จัดเสื้อผ้า ให้พร้อม ของใช้ลูกต้องมีครบ แต่สิ่งสำคัญ ที่แม่ลืม ไม่ได้เด็ดขาด คือ เอกสาร ที่ต้องเตรียมไปคลอด และอย่าลืม! เตรียม เอกสารเตรียมคลอด เอกสารแจ้งเกิด แจ้งเกิด มาดูกันดีกว่าว่า การแจ้งเกิด แม่ต้องเตรียมเอกสาร อะไรบ้าง เอกสารแจ้งเกิด ต้องมีอะไรบ้าง และแม่ต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน
เอกสารเตรียมคลอด การแจ้งเกิดลูก
แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน การแจ้งเกิด ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง
- เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนไปคลอด
- การทำสูจิบัตร แม่ต้องแจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน
- หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน ทำสูจิบัตรให้ลูกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- กรณีทารกเกิดในโรงในโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลต่างๆ
- กรณีทารกเกิดนอกสถานพยาบาลหรือเกิดภายในบ้าน
- กรณีที่ทารกเกิดนอกบ้าน
- กรณีที่ทารกเกิดนอกบ้าน เช่น บนรถโดยสาร ศาลาข้างทาง บนรถแท็กซี่ ฯลฯ
- กรณีที่ทารกถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง
- กรณีเด็กที่เกิดในต่างประเทศ
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนไปคลอด
เอกสารแจ้งเกิด หรือเอกสารที่ต้องเตรียมไปคลอด เป็นสิ่งที่แม่ต้องเตรียมไว้ให้พร้อม เช่น
- เอกสารที่ใช้ในโรงพยาบาล อย่างใบนัดหมอ บัตรโรงพยาบาล ที่สำคัญมาก ๆ คือ สมุดฝากครรภ์ เพราะในสมุดฝากครรภ์จะมีข้อมูลภาวะต่าง ๆ ที่ต้องระวังของคุณแม่หรือลูกน้อย จากรายละเอียดการฝากครรภ์
- เอกสารส่วนตัว บัตรประชาชนของพ่อและแม่ หรือเตรียมสำเนาบัตรประชาชนของพ่อและแม่ ติดตัวเอาไว้
หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิด ต้องใช้อะไรบ้าง
กรณีทารกเกิดในโรงในโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ
- ผู้ทำคลอด หรือ ทางโรงพยาบาล จะเป็นผู้ออกหนังสือ รับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐานประกอบในการแจ้งเกิด เพื่อให้บิดา/มารดา ของทารก ที่เกิดนำไปยื่นแจ้งเกิดที่เทศบาล, อำเภอ
- บิดา/มารดา จะต้องทำการแจ้งเกิดภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกเกิด
- หลักฐาน การแจ้งเกิด ที่ต้องนำไปด้วยคือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ที่ไปแจ้ง หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ทางโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลที่คลอดบุตรเป็นผู้ออกให้ และ สำเนาทะเบียนบ้าน ของเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กเข้าไป
- แจ้งเกิดไม่มีทะเบียนบ้านได้ แต่ชื่อลูกจะอยู่ทะเบียนบ้านกลาง
- แจ้งเกิดลูกไม่มีพ่อ การที่ชื่อบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็ก จะมีระบุในสูจิบัตรคนเกิดหรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กที่จะแจ้งหรือไม่ก็ได้
กรณีทารกเกิดนอกสถานพยาบาลหรือเกิดภายในบ้าน
- กรณีที่เกิดในบ้าน เช่น บ้านพ่อแม่ บ้านญาติ ผู้ที่ต้องไปแจ้งคือ คนที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านในบ้านที่เด็กเกิด หรือบิดา/มารดาของทารกที่เกิด
- ต้องไปแจ้งเกิดทารกภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกเกิด โดยมีขั้นตอน คือ
- ถ้าในบ้านที่เด็กเกิดอยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้เดินทางไปแจ้งการเกิดที่ว่าการอำเภอโดยตรง หรือในกรณีที่เดินทางไปไม่สะดวก ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านจะทำการรับแจ้ง และออกเอกสารเป็นใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน และให้บิดา/มารดาของทารก นำหลักฐานมาแจ้งต่อนายอำเภอ ที่ว่าการอำเภออีกครั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบสูจิบัตรให้
- ถ้าในบ้านที่เด็กเกิดอยู่ในเขตท้องที่ของเทศบาล ให้ผู้แจ้งไปแจ้งการเกิดได้ที่งานทะเบียนในเขตเทศบาลที่ทารกเกิด
- หลักฐานแจ้งเกิดที่ต้องนำไปแสดง คือ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้งเกิด ใบรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อลูกเข้าไป และพยานบุคคลที่รู้เห็นการเกิดของทารก เช่น หมอตำแย นางพยาบาลทำคลอด เพื่อนบ้าน เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ้งเกิดลูก แจ้งย้ายที่ที่อยู่ลูก พ่อแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
กรณีที่ทารกเกิดนอกบ้าน เช่น บนรถโดยสาร ศาลาข้างทาง บนรถแท็กซี่ ฯลฯ
- แจ้งเกิดภายในกี่วัน : ผู้ที่ต้องทำการแจ้งเกิดทารก คือ พ่อหรือแม่ โดยแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิด แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นยังไม่สามารถแจ้งได้ภายในกำหนด สามารถขยายเวลาออกไปได้ แต่ไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เด็กเกิด และ แจ้งเกิดลูกช้า กว่านี้ไม่ได้
- วิธีแจ้งเกิดและหลักฐานการเกิดที่จะต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ทำเช่นเดียวกับกรณีที่เด็กเกิดภายในบ้าน
กรณีที่ทารกถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง
เมื่อมีผู้พบเห็นเด็กทารก หรือเด็กเล็กอายุไม่เกิน 7 ขวบ ถูกทอดทิ้ง ผู้เห็นจะต้องรีบแจ้งการพบเด็ก พร้อมนำเด็กไปส่งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ) เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ เพื่อทำหลักฐานรับตัวเด็ก และดำเนินการแจ้งเกิดตามกฎหมาย
เอกสารเตรียมคลอด กรณีเด็กที่เกิดในต่างประเทศ
ทารกที่พ่อแม่ที่มีสัญชาติไทย แต่ไปเกิดในต่างแดน บิดา/มารดาสามารถทำการแจ้งเกิดได้ที่สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้
ข้อควรรู้
- หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ทางโรงพยาบาลออกหรือใบรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ส่วนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ ไม่ใช่ใบเกิดหรือสูจิบัตร
- ทารกที่เกิดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลูกของคนไทยหรือคนต่างด้าว สามารถแจ้งเกิดและมีสิทธิ์ได้รับหลักฐานการเกิด
- การรับแจ้งเกิด การออกสูจิบัตรหรือใบเกิดนั้น ไม่มีการเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
- การไม่แจ้งเกิดทารกต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิด แจ้งเกิดช้า เป็นความผิดตามกฎหมาย มีบทกำหนดโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด เมื่ออ่านข้อมูลเอกสารเตรียมคลอดแล้ว ก็เริ่มจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมได้เลยนะคะ เพราะถ้าเกิดกรณีคลอดฉุกเฉินขึ้นมา จะได้มีความพร้อมในเรื่องของเอกสารต่าง ๆ และมีเวลาดูแลตัวเองและลูกน้อยหลังคลอดได้อย่างเต็มที่นั่นเองค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แจ้งเกิดลูกไม่มีพ่อ แจ้งเกิดอย่างไรเมื่อผู้ชายไม่รับผิดชอบ
7 สิ่งที่ควรทำหลังคลอด พาลูกกลับบ้านแล้วต้องทำอะไรอีกนะ
ทำบัตรประชาชนเด็ก 7 ขวบ ครั้งแรก ทำที่ไหน ทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ที่มา : bora.dopa
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!