TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน อาการธรรมดาหรือสัญญาณอันตราย?

บทความ 5 นาที
ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน อาการธรรมดาหรือสัญญาณอันตราย?

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน เกิดจากอะไร แบบไหนที่ต้องกังวล พร้อมแนะนำวิธีดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ เพื่อให้ลูกนอนหลับสบาย หายใจโล่ง

พ่อแม่หลายคนคงเคยสะดุ้งตื่นกลางดึก เพราะได้ยินเสียง ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน หรือมีเสมหะในลำคอ เสียงแบบนี้ทำให้ใจไม่ดี กลัวว่าลูกจะหายใจติดขัด หรือเป็นอาการของโรคทางเดินหายใจที่ร้ายแรง ยิ่งช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ฝุ่น PM 2.5 หนาแน่น หรือเป็นช่วงหน้าฝนที่ไวรัสระบาดง่าย อาการเหล่านี้ยิ่งทำให้พ่อแม่กังวลว่า เป็นเพียงอาการชั่วคราวหรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องรีบไปพบแพทย์

บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปหาคำตอบว่า “ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน” เกิดจากอะไร แบบไหนที่ต้องกังวล พร้อมแนะนำวิธีดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ เพื่อให้ลูกนอนหลับสบาย หายใจโล่ง และพ่อแม่วางใจได้มากขึ้น

 

ลูกหายใจครืดคราด คืออะไร เพราะอะไร

เสียงหายใจครืดคราดในเด็ก เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน ถึงแม้จะพบได้บ่อยแต่ก็เป็นหนึ่งในอาการที่พ่อแม่กังวลใจ สาเหตุของอาการหายใจมีเสียงครืดคราดนั้นเกิดได้จากหลายประการ ทั้งจากการที่ทางเดินหายใจแคบลงหรือมีสิ่งอุดกั้น ส่งผลให้ลมหายใจไหลผ่านได้ไม่สะดวก จึงเกิดเสียงผิดปกติขึ้น

อาการนี้มักพบได้บ่อยในเด็กที่มีการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น ไข้หวัด หรือโรคครูป (Croup) ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจบวมและตีบลง
อย่างไรก็ตาม ภาวะหายใจครืดคราดอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความผิดปกติแต่กำเนิดไปจนถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น

  • ภาวะทางเดินหายใจส่วนล่างตีบแต่กำเนิด (Congenital subglottic stenosis)
  • การบวมผิดปกติของเนื้อเยื่อในลำคอ
  • ก้อนเนื้องอกหรือซีสต์ในทางเดินหายใจ
  • แผลเป็นจากการอักเสบหรือการใส่ท่อช่วยหายใจ (Acquired subglottic stenosis)
  • ภาวะหลอดเลือดผิดปกติในลำคอ (Hemangioma)
  • โรคหืด (Asthma)
  • ภาวะสายเสียงเป็นอัมพาต (Vocal cord paralysis)
  • ความผิดปกติของสายเสียงที่ทำให้การหายใจผิดจังหวะ (Paradoxical vocal cord dysfunction – PVCD)
  • ภาวะติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อในทางเดินหายใจ (Recurrent respiratory papillomatosis)

เนื่องจากสาเหตุของเสียงหายใจครืดคราดมีความหลากหลาย หากลูกมีอาการเป็นบ่อย หรือเสียงผิดปกติรุนแรงขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน

อาการที่พบบ่อย เมื่อลูกหายใจครืดคราดเวลานอน

  • ลูกหายใจครืดคราด แต่ไม่มีน้ำมูก

อาจเกิดจากการมีเสมหะติดขัดทำให้หายใจไม่สะดวก รวมถึงอาการภูมิแพ้ ที่ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจบวม อาจทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลงและเกิดเสียงหายใจครืดคราดได้ ภาวะนี้อาจเกิดจากการแพ้ อากาศแห้ง หรือการระคายเคืองจากฝุ่นและมลภาวะ เช่น PM 2.5 นอกจากนี้ อาการกรดไหลย้อน ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอและสายเสียง ทำให้เกิดอาการเสียงแหบ ไอแห้ง และหายใจครืดคราดโดยไม่มีน้ำมูกได้

สิ่งที่พ่อแม่ควรระวังเมื่อ ลูกหายใจครืดคราด แต่ไม่มีน้ำมูก คือ เมื่ออาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน อาจเป็นเพราะสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษอาหาร หรือของเล่นชิ้นเล็กๆ ติดอยู่ในจมูกหรือหลอดลม ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเกิดเสียงผิดปกติ หากลูกหายใจครืดคราดต่อเนื่องโดยไม่มีน้ำมูก หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น หายใจลำบาก ไอเสียงหวีด หรือเสียงครืดคราดดังขึ้นเรื่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง

  • ลูกหายใจครืดคราด มีเสมหะ

กรณีที่ลูกหายใจครืดคราด และมีเสมหะร่วมด้วย ทั้งยังร้องงอแง เสียงแหบ อาจมาจากปัญหาในทางเดินหายใจของลูก เช่น สำลักนม ติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีโครงสร้างของทางเดินหายใจที่ผิดปกติบางอย่าง รวมถึงการที่เด็กมีอาการท้องอืด ยังไม่ได้เรอออกมามากพอหลังกินนมก็อาจทำให้เกิดอาการในลักษณะนี้ได้

นอกจากนี้ ไวรัสหวัดก็อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีเสมหะและหายใจครืดคราด โดยมักมีอาการน้ำมูก ไอ และคัดจมูกร่วมด้วย เสมหะอาจเหนียวข้นขึ้น หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากลูกมีอาการติดต่อกันหลายวัน งอแง กินนม กินอาหารน้อยลง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง  

  • ลูกนอนห้องแอร์ หายใจครืดคราด

สำหรับเด็กๆ ที่นอนในห้องแอร์ ก็อาจหายใจครืดคราดได้ โดยมีทั้งหายใจครืดคราดแบบมีน้ำมูก และไม่มีน้ำมูก กรณีที่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะสภาพแวดล้อมในห้องแอร์ที่อากาศแห้งมาก จะทำให้เยื่อบุจมูกและคอแห้ง เกิดการระคายเคืองและมีเสียงผิดปกติขณะหายใจ กรณีที่มีน้ำมูกและเสมหะข้น จากการอยู่ในห้องแอร์ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งหากอาการหายใจครืดคราดไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือมีไข้สูง ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

 

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน


ช่วยลูกหายใจสะดวก ไม่ครืดคราดเวลานอน

หากลูกมีอาการหายใจครืดคราด พ่อแม่สามารถดูแลช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้นได้ ดังนี้

  • ปรับท่านอน – ให้ลูกนอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น
  • เพิ่มความชื้นในห้อง – ใช้เครื่องเพิ่มความชื้น หรือวางถ้วยน้ำในห้องนอน เพื่อลดอากาศแห้งที่อาจทำให้จมูกอุดตัน
  • ดูแลจมูกให้โล่ง – หากมีเสมหะหรือน้ำมูก ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก และให้ลูกดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นเพื่อช่วยละลายเสมหะ
  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ – รักษาความสะอาดรอบตัวลูก ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ กำจัดฝุ่น และหลีกเลี่ยงพรมในห้องนอน ห่างไกลจากควันบุหรี่ กลิ่นฉุน และสารเคมีที่อาจระคายเคืองทางเดินหายใจ

นอกจากนี้ ควรดูแลป้องกันอาการหายใจครืดคราดไม่ให้กำเริบ ด้วยการ รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดและเหมาะสม ทำความสะอาดห้องนอน ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ รักษาความชื้นให้เหมาะสม และหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ให้กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และนอนหลับอย่างเหมาะสม

 

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน

ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน แบบไหนควรไปหาหมอ

การหาสาเหตุของอาการหายใจครืดคราดในเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเสียงที่เกิดขึ้นอาจมาจาก เสียงหวีด (wheezing), เสียงหวีดดังมาก เมื่อหายใจเข้า (stridor) หรือ เสียงกรน (stertor) ซึ่งพ่อแม่และแพทย์ทั่วไปอาจแยกแยะความแตกต่างได้ยากจากการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว การวินิจฉัยที่แม่นยำมักต้องอาศัยการตรวจระบบทางเดินหายใจและปอดอย่างละเอียด

โดยส่วนใหญ่ อาการหายใจครืดคราดไม่ใช่เรื่องอันตราย และมักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงอยู่แม้ลูกหายป่วยแล้ว หรือหายไปแล้วกลับมาเป็นอีก รวมทั้งลูกงอแงผิดปกติ ไม่กิน ไม่นอน หรือมีอาการพร้อมกับมีไข้สูง ควรพาลูกไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม จะช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกได้อย่างมั่นใจและสบายใจมากขึ้น

ที่มา: Newport Children Hospital , Pobpad

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทารกง่วงแต่ไม่ยอมนอน ทำไงดี? แนะวิธีแก้ ก่อนกระทบพัฒนาการลูกน้อย!

อันตรายจากการหอมแก้มเด็ก แม่โพสต์เตือน อย่าให้ใครหอมลูก ไม่งั้นจะเป็นเหมือนบ้านนี้

10 หมอภูมิแพ้เด็ก 2568 ที่ชาวเน็ตแนะนำ ลูกเป็นภูมิแพ้ หาหมอที่ไหนดี

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกหายใจครืดคราดเวลานอน อาการธรรมดาหรือสัญญาณอันตราย?
แชร์ :
  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว