เมื่อมีชีวิตน้อย ๆ อยู่ในครรภ์ ความสุขก็มาเยือนว่าที่คุณแม่ และ ทุกคนในครอบครัว และ สิ่งที่มักจะทำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคนมีความกังวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เรื่องการคลอด โดยเฉพาะวิธีการคลอด ว่าจะ “คลอดเองตามธรรมชาติ” หรือจะ “ผ่าตัดคลอด” หรือ จะเกิดอะไรขึ้นหากจำเป็นต้องผ่าคลอด คืออะไรและทำไมต้องใช้วิธีนี้ คลายความกังวลของคุณแม่มือใหม่
การผ่าตัดคลอดคืออะไรและทำไมต้องใช้วิธีนี้
ยาที่คนท้องห้ามกิน
เมื่อแพทย์ มีความเห็นว่าการคลอดด้วยวิธีการปกติจะทำให้คุณแม่หรือลูกน้อยมีความเสี่ยงมากเกินไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอด ซึ่งมีข้อบ่งชี้ ดังนี้
- ภาวะรกเกาะต่ำ เมื่อรกเกาะต่ำหรือขวางทางออกของลูกน้อย
- คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
- ลูกน้อยตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดผ่านช่องคลอด
- คุณแม่มีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงหรือมีความเจ็บป่วยอื่น เช่นครรภ์เป็นพิษ
- สุขภาพของลูกน้อยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องนำเด็กออกจากครรภ์โดยเร็ว
- ลูกน้อยเอาก้นลง
- มีภาวะสายสะดือย้อย คือเมื่อสายสะดือพลัดต่ำ ทำให้ไม่สามารถคลอดลูกน้อยออกมาได้โดยง่าย
- คุณแม่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่านการคลอดทางช่องคลอด
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดคลอด
คนท้องหิวบ่อยเพราะอะไร
ขั้นตอนในการผ่าตัดคลอด จะเริ่มจากพูดคุยกับวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะซักประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมทั้งตอบคำถามต่างๆ ที่คุณแม่สงสัย แพทย์จะเจาะตัวอย่างเลือดและให้คุณลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม แพทย์จะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางและต่อสายน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อที่แพทย์จะสามารถสังเกตระดับสารน้ำในร่างกาย และ ให้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมได้ถ้าคุณแม่ต้องการ
ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าคลอด
ถึงแม้การผ่าตัดคลอดอาจจะดูเหมือนเป็นทางเลือกที่อาจจะตอบโจทย์ของคุณแม่บางส่วนได้ แต่การผ่าตัดคลอดนั้น สามารถส่งผลเสียต่างๆ ต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้มากกว่าที่หลายคนคิดอย่างมากมายดังนี้
– ผลเสียในระยะสั้น เช่น การเสียเลือด หรือ การติดเชื้อจากการผ่าตัด ลูกอาจมีปัญหาด้านการหายใจ มีการพัฒนาภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีเท่าที่ควร เริ่มกินนมแม่ได้ช้า เป็นต้น
– ผลเสียในระยะยาว เช่น การเกิดพังผืดในช่องท้อง ปัญหารกเกาะลึกผิดปกติในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนลูกนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น ทุกคนควรตระหนักว่าการผ่าตัดคลอดนั้น ควรทำในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น เช่น ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ การเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ หรือ แม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม เป็นกรณีไป
การเตรียมการสำหรับการผ่าตัดคลอด
หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหรือการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง) และใส่สายสวนไว้ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะ (ซึ่งจะทิ้งไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด) อาจต้องโกนขนบริเวณหัวหน่าวเพื่อเตรียมรับการผ่าตัด
pregnant belly
การผ่าตัดคลอดทำอย่างไร
บทสวดมนต์ คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูก ปลอด ภัยตอน คลอด
เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดด้วยการผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อให้สามารถมองเห็นลูกน้อยที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และนำลูกน้อยออกจากถุงน้ำคร่ำสู่อ้อมอกของคุณแม่ การผ่าตัดจะเสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็วโดยที่คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากลูกน้อยลืมตาดูโลก
บทสวดมนต์ คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูก ปลอด ภัย ตอน คลอด
แพทย์ จะนำทารกไปไว้ใน “ตู้อบ” ซึ่งเป็นเตียงที่อบอุ่นขนาดเล็ก เพื่อให้กุมารแพทย์ทำการตรวจร่างกายลูก เมื่อกุมารแพทย์พบว่าลูกของคุณแม่มีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะห่อตัวลูกด้วยผ้าห่มและส่งให้คุณแม่หรือคุณพ่ออุ้ม เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงดี และคุณแม่จะมีโอกาสได้อุ้มลูกสักพักหลังจากที่ลูกลืมตาดูโลก
เมื่อนำรกออกจากครรภ์จนหมดแล้ว ศัลยแพทย์จะเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่ด้วยรอยเย็บที่ปราณีต ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาคุณแม่กลับไปยังห้องพักเพื่อให้คุณแม่ได้พักฟื้นหลังผ่าตัด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเชื่อและความเข้าใจผิดต่าง ๆ ควรต้องได้รับการแก้ไข ควรมีการให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสม โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
และอยากให้ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่าเพิ่งวิตกกับวิธีการคลอดไปก่อนล่วงหน้า สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำ คือ
– ฝากท้องกับสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
– ไปพบแพทย์ตามนัดทุดครั้งเพื่อติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
– และในกรณีที่พบความผิดปกติหรือข้อบ่งชี้ใด ๆ ทางการแพทย์ จะได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที
– ส่วนเรื่องการคลอดนั้น แพทย์จะเป็นผู้ประเมินและพูดคุย ตัดสินใจร่วมกันกับท่านว่าวิธีคลอดแบบใดจึงจะปลอดภัยที่สุดทั้งกับตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ที่จะลืมตาดูโลก
การฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด
คนท้องหิวบ่อยเพราะอะไร
หลังผ่าตัดคลอดคุณแม่จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 5 วัน แต่รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ในการสมานและหายดี ดังนั้น ในช่วงหลังผ่าคลอดลูกใหม่ๆ คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่
โดยส่วนใหญ่ หากใช้วิธีผ่าคลอดลูกท้องแรกแล้ว ท้องสองก็ควรจะใช้วิธีผ่าคลอดเช่นเดิม แต่หากในครั้งต่อไปถ้าคุณแม่ต้องการคลอดลูกเองด้วยวิธีธรรมชาติก็สามารถทำได้ ในกรณีที่คุณแม่พร้อมและมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ติดปัญหาเรื่องสุขภาพ และอยู่ในดุลยพินิจของสูตินรีแพทย์
การผ่าตัดคลอดเป็นวิธีที่เรียบง่ายและใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยที่เราคอยมาเกือบสิบเดือน คุณแม่ไม่ต้องวิตกกังวลและสบายใจได้ค่ะ หากมีข้อสอบถามเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญ นิวทรีเซีย ไฮคิว คิดส์ แคร์ไลน์ 0-2740-3333 และโทรฟรี (โทรศัพท์บ้าน) ที่ 1-800-291900 ได้ตลอด 24 ชม. หรือทางห้องสนทนาสดที่ https://www.hiqkidsclub.com/our_careline/live_chat
ที่มา : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คนท้องกับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผลต่อร่างกายแม่และลูก!
บทสวดมนต์คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูกปลอดภัยตอนคลอด
https://www.si.mahidol.ac.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!