ภาวะตายคลอด Still Birth หมายถึง การที่ทารกคลอดมาแล้วไม่มีชีพ ในประเทศอังกฤษใช้จุดตัดที่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์บริบูรณ์ กล่าวคือ หากเป็นการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ ให้นิยามเป็นการแท้งบุตร หากอายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์จึงเป็นภาวะตายคลอด ซึ่งประเทศอังกฤษพบความชุกประมาณ 1 ต่อ 200 ของการคลอดบุตร ส่วนองค์การอนามัยโลก ให้นิยามเช่นเดียวกันแต่กำหนดจุดตัดที่ตั้งครรภ์ครบ 28 สัปดาห์บริบูรณ์แทน
ภาว ะตายคลอด
โดยในปี ค.ศ. 2015 ทั่วโลกพบมีจำนวนตายคลอดประมาณ 2.6 ล้านคน หรือราว 7,000 รายต่อวัน คิดเป็น 18.4 ต่อการคลอดบุตรทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย เช่น อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น ประมาณร้อยละ 50 จะเกิดเหตุในขณะรอคลอด ซึ่งสะท้อนถึงการดูแลรักษาที่ยังต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลที่มีการคลอดบุตรเองที่บ้านเป็นหลัก สำหรับประเทศไทยใช้นิยามเดียวกับองค์การอนามัยโลก โดยใช้อายุครรภ์ 28 สัปดาห์บริบูรณ์ มีการเก็บสถิติโดยกองบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการตายคลอดอยู่ในช่วง 4.16 –
4.50 ต่อการคลอดบุตรทั้งหมด
ภาวะ ตายคลอด
ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ในบางประเทศ เช่น อังกฤษมีข้อบังคับให้ลงทะเบียนการตายคลอดทุกรายภายใน 42 ชั่วโมง เพื่อการเก็บสถิติที่ใกล้เคียงความจริงพร้อมทั้งได้สิทธิการลาคลอดบุตร
และเงินช่วยเหลือภายหลังการคลอดเหมือนกรณีคลอดปกติทั่วไป
สาเหตุ
ภาวะตายคล อด
โดยมากจะพบว่าทารกที่ตายคลอดดูลักษณะภายนอกปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิต แต่ที่พอจะหาสาเหตุได้ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร เช่น คลอดยาก ทารกท่าผิดปกติ การตกเลือดก่อนคลอดหรือขณะคลอด ครรภ์เป็นพิษ(ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์) ครรภ์เกินกำหนด
เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนของสายสะดือ เช่น สายสะดือยาวผิดปกติ ทำให้พันกันเอง หรือพันรอบคอทารก การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ทารกพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง นอกจากนี้ยังมีสภาวะที่เพิ่มโอกาสการตายคลอด เช่น ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด มารดาที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคลมชัก เป็นต้น
การป้องกัน
ภาวะต ายคลอด
เราไม่อาจป้องกันภาวะตายคลอดได้ทั้งหมด แต่มีบางสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น การไปฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การนับลูกดิ้นอย่างเคร่งครัด การป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อและเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ ให้สังเกตุอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดหรือมีอาการเจ็บครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เมื่อสงสัยต้องทำอย่างไร ภาวะตายคลอด
แพทย์จะทำการยืนยันภาวะตายคลอดด้วยการฟังเสียงหัวใจทารกหรือการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อดูการเต้นของหัวใจทารก พร้อมทั้งมองหาสาเหตุที่เป็นไปได้ เมื่อวินิจฉัยแล้ว ขั้นต่อไปคือ ขบวนการเร่งคลอดทางช่องคลอด และหาสาเหตุของการตายคลอดหลังจากที่ทารกคลอดแล้ว โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดเองทางช่องคลอด
ก่อนการเร่งคลอด
ควรมีการประเมินสุขภาพจิตใจของมารดา และมีสามีหรือญาติอยู่คอยให้กำลังใจ เมื่อคลอดทารกแล้วท่านสามารถร้องขอที่จะดูทารก อุ้มทารก ถ่ายภาพทารกไว้ได้ หลังจากนั้นจึงมีการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายของทารกต่อไป
การหาสาเหตุ ภาวะตายคลอด
ภาวะตายคลอด
มีความจำเป็น เพื่อการวางแผนดูแลในครรภ์ถัดไป โดยแพทย์จะตรวจเลือดของมารดา ตรวจหาเชื้อโรคจากช่องคลอดและปากมดลูก ตรวจรกและสายสะดือหาความผิดปกติต่างๆ และผ่าตรวจศพทารก ซึ่งมีความสำคัญมากแต่ต้องได้รับคำยินยอมจากมารดาเสียก่อน
เมื่อตรวจศพทารกแล้ว ท่านสามารถขอรับศพกลับเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป ในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการตรวจศพทารกกันมากนัก เนื่องจากผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองและบางรายก็ไม่อยากให้ผ่าศพทารก จึงไม่อาจสรุปสาเหตุการตายที่ชัดเจนได้
การหยุดน้ำนม
ท่านจะได้รับคำแนะนำเรื่องการดูแลเต้านม เพือไม่ให้มีน้ำนมไหลหลังคลอด และอาจจำเป็นต้องใช้ยาหยุดการสร้างน้ำนม
สรุป ภาวะตายคลอดเป็นเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มารดาส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงนี้
จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลากรทางการแพทย์ที่จะช่วยให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างทั่วถึงแก่ประชากรกลุ่มนี้ แล้วติดตามผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ต่อไป ภายในปี ค.ศ. 2030 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายไว้ ให้ลดอัตราการตายคลอดให้น้อยกว่า 12 ต่อ 1000 ของการคลอดบุตรทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการลดอัตราตายคลอด
ภาวะตายคลอดเป็นภาวะ ที่คนอาจจะไม่ค่อยได้ยินมากเท่าไหร่นัก เพราะคนไทยเมื่อเสียลูกไป อาจจะนึกถึงคำว่า แท้ง มากกว่าคำอื่น แต่จริงๆแล้วภาวะตายคลอด ก็เกิดขึ้นในไทยด้วยเช่นกัน ยิ่งคุณแม่ได้มีความรู้เรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณแม่ รู้จักดูแลตัวเอง และ ป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้
Source : who, nhs.uk
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
คุณพ่อก็เสียใจเป็น รับมือกับการแท้งอย่างไร การแท้งมีผลต่อผู้ชาย เท่าผู้หญิง?
อารมณ์ และ อาการหลังลูกหลุด หลังแท้งอารมณ์ของแม่จะเป็นยังไง?
สาเหตุของการตายคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!