X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคนิ่ว คืออะไร? เป็นนิ่วเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีการป้องกัน

บทความ 5 นาที
โรคนิ่ว คืออะไร? เป็นนิ่วเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีการป้องกันโรคนิ่ว คืออะไร? เป็นนิ่วเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีการป้องกัน

โรคนิ่ว ก้อนนิ่ว คืออะไร? นิ่วสามารถเป็นที่บริเวณไหนได้บ้าง มีอาการอย่างไร เกิดจากอะไร และสามารถป้องกันได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบสำหรับผู้ที่สงสัย และอยากรู้เรื่องราวของ “โรคนิ่ว” ไปติดตามกัน

 

โรคนิ่ว คืออะไร?

นิ่ว เกิดจากการตกตะกอนของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เกิดการรวมตัวกันเป็นก้อน ซึ่งจะมีขนาดแต่งต่างออกไป โดยนิ่วส่วนใหญ่ มักจะเกิดที่บริเวณไต และทางเดินปัสสาวะ เช่น ถุงน้ำดี โดยนิ่วสามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นได้ หากมีขนาดที่ใหญ่ จนทำให้เกิดการอุดตันและอักเสบบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอาการจะแสดงออกแต่งต่างกันไป ตามแต่ละบุคคล และบริเวณที่เกิดนิ่ว

โรคนิ่ว

สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันของนิ่วแต่ละบริเวณ

นิ่วในไต

สาเหตุ

  1. มีปริมาณเกลือ แร่ธาตุ และสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และ กรดยูริกในปัสสาวะ มีมากเกินกว่าของเหลวจะทำละลายได้
  2. การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เกลือ น้ำตาล อาหารโปรตีนสูง
  3. การดื่มน้ำไม่มากพอในแต่ละวัน
  4. ปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในระบบกระเพาะปัสสาวะ โรคเมตาบอลิก
  5. การใช้ยารักษาโรค
  6. อาหารเสริมบางชนิด

 

อาการ

นิ่วในไต เป็นบริเวณที่พบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก และสามารถหลุดลอกออกไปตามปัสสาวะได้ โดยไม่ส่งผลเสีย และไม่มีอาการใด ๆ แต่หากนิ่ว มีการเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ ไต หรือ ไปที่ท่อไต ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไต และกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ปวดบริเวณหลัง หรือ ปวดช่องท้องด้านล่างข้างใดข้างหนึ่ง
  • ปวดบริเวณขาหนีบ
  • ปวดบีบ ๆ เป็นระยะ ๆ
  • ปัสสาวะมีเลือดปน หรือ ปัสสาวะเป็นสีชมพู และน้ำตาล
  • มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะบ่อย
  • กรวยไตอักเสบ เช่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น มีไข้ เป็นต้น

 

การป้องกัน

นิ่วในไต สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และลดความเข้มข้นของปัสสาวะ และผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะเป็นนิ่ว ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีกรดออกซาลิกสูง เช่น นมถั่วเหลือง ช็อคโกแลต มันฝรั่งหวาน บีทรูท ชา หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วเปลือกแข็ง เบอร์รี่ กระเจี๊ยบเขียว และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ และควรระมัดระวังในการรับประทานแคลเซียมเสริม โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ หรือ แภสัชก่อนก่อนรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ เสมอ

 

อ่านเพิ่มเติม โรคนิ่วในไต สังเกตอย่างไร ป้องกันไว้ก่อนไตจะพัง อาการ และวิธีการป้องกัน

โรคนิ่ว

นิ่วในประเพาะปัสสาวะ

สาเหตุ

  1. เกิดจากมีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ และมีการตกตะกอน
  2. การติดเชื้อบางประเภท
  3. ภาวะที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบปัสสาวะ
  4. มีสิ่งแปลกปลอม อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

 

อาการ

นิ่วชนิดนี้จะแสดงอาการ เมื่อก้อนนิ่วทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะ เกิดการระคายเคือง หรือมีการปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • ปวดท้องส่วนล่าง
  • ปวดที่อวัยวะเพศ
  • เจ็บแสบ ขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะติดขัด
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น ปัสสาวะมีสีเข้มมากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด

 

การป้องกัน

การป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะนิ่วชนิดนี้มักมีสาเหตุมาจากอาการอื่น ๆ ก่อน เช่น ปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ มีการติดเชื้อ หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น แต่วิธีการช่วยลดโอกาสการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สามารถทำได้ด้วยการสังเกตความผิดปกติ หรือ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะต่าง ๆ และดื่มน้ำให้มากเพียงพอ เพื่อช่วยเจือจางแร่ธาตุหรือสารเข้มข้นในปัสสาวะได้

โรคนิ่ว

นิ่วในถุงน้ำดี

สาเหตุ 

สาเหตุของนิ่วในถุงน้ำดี ยังไม่แน่ชัด ซึ่งแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดจากการมีคลอเลสเตอรอล ในถุงน้ำดีมากเกินไป หรือ มีสารบิลิรูบิน ในน้ำดีมากเกินไป ทำให้เกิดการตกตะกอน และกลายเป็นก้อนนิ่ว หรือ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อในถุงน้ำดี มีสมรรถภาพในการบีบตัวไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถบีบคลอเลสเตอรอล ให้ออกไปจากถุงน้ำดีได้หมด ทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นมาก และทำให้เกิดนิ่วได้ในที่สุด

 

ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี อาจมาจาก ความอ้วน การใช้ยาคุมกำเนิด หรือ การใช้ฮอร์โมนทดแทน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาลดคอเลสเตอรอล พันธุกรรม เป็นต้น

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

 

อาการ

นิ่วในถุงน้ำดี มักมีอาการเมื่อก้อนนิ่วทำให้ผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการระคายเคือง หรือปิดกั้นที่ปากทางออกของถุงน้ำดี จนเกิดการอุดตัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงท้องส่วนบน หรือด้านขวา
  • ปวดร้าวไปถึงกระดูกสะบัก หรือ ไหล่ด้านขวา
  • ปวดกลางท้อง หรือ บริเวณกระดูกหน้าอกอย่างกะทันหัน และรุนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ เสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่

 

อ่านเพิ่มเติม อาการนิ่วในถุงน้ำดี ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดี

 

การป้องกัน

การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี สามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบทุก ๆ มื้อ ในทุก ๆ วัน ไม่ควรอดอาหาร สำหรับผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนัก ให้ค่อย ๆ ลดอย่างช้า ๆ เพราะหากน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว จะไปเพิ่มความเสี่ยง ให้เกิดนิ่วในท่อน้ำดีได้ และควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เสมอ

โรคนิ่ว

นิ่วในต่อมทอนซิล

สาเหตุ

  1. การรักษาความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ
  2. ต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่
  3. ปัญหาไซนัสเรื้อรัง
  4. ทอนซิลอักเสบหลายครั้ง
  5. การติดเชื้อในทอนซิล

 

อาการ

นิ่วในต่อมทอนซิล มักเกิดในผู้ที่มีปัญหาทอนซิลเรื้อรัง มักไม่แสดงอาการรุนแรง แต่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ดังนี้

  • มีกลิ่นปาก
  • เจ็บคอ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • มีก้อนสีขาวบริเวณช่องคอ
  • ทอนซิลบวม
  • เจ็บบริเวณหู เนื่องจากทางเดินประสาทระหว่างหู และต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ

 

วิธีการป้องกัน

นิ่วในต่อมทอนซิล สามารถป้องกันได้ด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกับผู้ที่มีอาการทอนซิลอักเสล และหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ ๆ อย่าลืมทำการแปรงลิ้นทุกครั้ง บ้วนปากเพื่อลดกลิ่นปาก รวมถึงดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทุกวัน

 

โรคนิ่ว ในบริเวณต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน เมื่อมีอาการต้องสงสัยว่าจะเกิดนิ่ว ควรพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจรักษา และวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ต่อไป

 

ที่มาข้อมูล 1

บทความที่น่าสนใจ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 69

โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

คำแนะนำจากคุณหมอ เรื่องการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหลังคลอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคนิ่ว คืออะไร? เป็นนิ่วเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีการป้องกัน
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ