น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำ เป็นของเหลวที่อยู่รอบตัวลูกน้อยของคุณในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย แล้วทำไมทารกถึงจะต้องอยู่ในถุงน้ำคร่ำ วันนี้เรามาหาคำตอบกันดีกว่าว่าความจริงแล้ว น้ำคร่ำ คืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

 

น้ำคร่ำ คืออะไร?

Amniotic fluid หรือน้ำคร่ำ คือถุงที่เกิดขึ้นในมดลูกของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยน้ำคร่ำนั้นจะมาเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโต และการพัฒนาการทางร่างกายต่าง ๆ ของทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ นอกจากนี้น้ำคร่ำยังทำให้พวกเขาสามารถหายใจ กลืน และพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกได้อีกด้วย ซึ่งน้ำคร่ำนั้นจะถูกห่อหุ้มด้วยถุงน้ำคร่ำ หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ โดยถุงน้ำคร่ำนั้นจะประกอบไปด้วยเยื่อสองชั้น แอมเนียน (amnion) และคอเรียน (chorion) มีจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

 

 

หน้าที่ของน้ำคร่ำคืออะไร?

ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ลูกน้อยของคุณก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำ ภายในมดลูกของคุณ โดยถุงน้ำคร่ำนั้นจะเริ่มก่อตัวในช่วงประมาณ 12 วันหลังจากที่คุณตั้งครรภ์ ซึ่งน้ำคร่ำมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ช่วยปกป้อง และห่อหุ้มทารกในครรภ์ โดยน้ำที่อยู่ภายในจะช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนเบาะ หรือโช้คอัพนั่นเอง
  • รักษาอุณหภูมิบริเวณรอบ ๆ ตัวทารกให้คงที่ และทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
  • ช่วยให้ปอดของทารกเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นจะหายใจผ่านของเหลว หรือน้ำคร่ำนั่นเอง
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของทารกพัฒนาการยิ่งขึ้น เพราะทารกจะกลืนของเหล่าเข้าไปขณะที่อยู่ในครรภ์
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกของพวกเขาพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายภายในน้ำคร่ำ
  • ป้องกันไม่ให้สายสะดือถูกบีบรัด เพราะถ้าหากมีการบีบรัดอาจส่งผลถึงการขนส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปยังทารก และทำให้เกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำส่วนใหญ่จะเป็นน้ำที่มาจากร่างกายของคุณแม่ และหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์แล้ว น้ำคร่ำที่ทารกอยู่นั้นจะมาจากการปัสสาวะของทารกเอง โดยในน้ำคร่ำนั้นจะประกอบไปด้วยสารอาหาร ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น และแอนติบอดีที่มีส่วนช่วยให้การป้องกันการติดเชื้อนั่นเอง เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำเดิน นั้นน้ำคร่ำที่บรรจุอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำจะไหลออกมาทางปากมดลูก และช่องคลอด ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของการใกล้คลอดนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ควรมีปริมาณน้ำคร่ำมากแค่ไหน?

ปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์ของคุณแม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงประมาณสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ โดยจะมีปริมาณอยู่ที่ 1 ควอร์ต หรือประมาณ 946.353 มิลลิลิตร และหลังจากนั้นน้ำคร่ำจะเริ่มน้อยลง หรือที่เรียกกันว่า ท้องลด นั่นเอง แต่ในบางครั้งคุณก็อาจมีน้ำคร่ำน้อยเกินไป หรือมากเกินไป โดยการมีน้ำคร่ำน้อยจะเรียกว่า oligohydramnios และมีน้ำคร่ำในจำนวนมากจะเรียกว่า polyhydramnios ซึ่งปัญหาของน้ำคร่ำทั้งสองที่กล่าวมานั้นอาจทำให้เกิดปัญหากับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

 

น้ำคร่ำ สีอะไร?

โดยปกติแล้วน้ำคร่ำนั้นจะเป็นสีเหลืองใส หรือสีใส แต่ในบางครั้งจะพบว่าภายในน้ำคร่ำนั้นจะถูกปนไปด้วยของเหลวที่มีลักษณะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาล ซึ่งนั่นคือการขับถ่ายครั้งแรกของทารกในครรภ์ที่มีการถ่ายของเสียออกมาครั้งแรก ที่เรียกว่า meconium แต่การทำงานของลำไส้ครั้งแรกของทารกจะเกิดขึ้นหลังจากการคลอดแล้ว หากทารกได้มีการขับถ่ายครั้งแรกภายในครรภ์แล้ว จะทำให้ทารกได้รับของเสียจากร่างกายของตนเองผ่านเข้าสู่ปอดโดยน้ำคร่ำอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจที่รุนแรง หรือที่เรียกว่า การสำลักเมโคเนียม โดยเฉพาะของเหลวที่มีความหนืดหรือมีความเข้มข้นมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การตรวจน้ำคร่ำ ทำให้ทราบถึงอะไรได้บ้าง?

การทดสอบที่เรียกว่า การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาโอกาสของการเกิดโรคทางพันธุกรรมของทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม (Edwards’ syndrome) และกลุ่มอาการพาทัว (Patau’s syndrome) เป็นต้น โดยการทดสอบนี้จะเป็นการนำเซลล์จากน้ำคร่ำมาทดสอบเพื่อหาอาการที่กล่าวมา แต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • การแท้งบุตร
  • การติดเชื้อ
  • ผลไม่ชัดเจน ต้องตรวจซ้ำอีกรอบ เพิ่มความเสี่ยงอีกรอบ

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อไปตรวจโรคต่าง ๆ นั้นจะดำเนินการหลังจากมีการตั้งครรภ์ไปแล้วไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ เนื่องจากอยู่ในระยะที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ของถุงน้ำคร่ำ

ถุงน้ำคร่ำนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เหมือนเป็นตัวกำหนดชีวิตของทารกในครรภ์เลยก็ว่าได้ ถ้าหากเกิดความผิดปกติที่ถุงน้ำคร่ำ หรือตัวน้ำคร่ำเองก็อาจส่งผลต่อทารกได้ โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นเกี่ยวกับน้ำคร่ำมีดังต่อไปนี้

  • ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่ไม่ต้องทำการรักษาหากอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่อาจจะต้องลดของเหลวในครรภ์ด้วยการเจาะน้ำคร่ำออก หรือให้ยาเพื่อลดปริมาณปัสสาวะที่ทารกผลิตออกมา
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกินไป (Oligohydramnios) สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสใดก็ได้ของการตั้งครรภ์ แต่ไตรมาสที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือช่วงของ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์นั้นจะพิการตั้งแต่กำเนิด สูญเสียทารกในครรภ์ หรือคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะเส้นเลือดอุดตันน้ำคร่ำ (Amniotic fluid embolism : AFE) เป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ สาเหตุของ AFE ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ปัจจุบันมีการประเมินว่า AFE เกิดขึ้นในหนึ่งกรณีสำหรับการตั้งครรภ์ทุก ๆ 8,000-30,000 ครั้ง
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) หรือการติดเชื้อภายในน้ำคร่ำ (IAI) มีอาการอักเสบเฉียบพลันของ amnion และ chorion ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อหุ้มของทารกในครรภ์ น้ำคร่ำ และรกที่ไหลจากช่องคลอดเข้าสู่มดลูก
  • น้ำคร่ำรั่ว (Leaking amniotic fluid) เป็นอาการที่พบได้ยาก คุณแม่จะต้องคอยสังเกตดี ๆ ว่าเป็นน้ำคร่ำหรือว่าปัสสาวะ เพราะโอกาสที่ท้องจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากน้ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอดนั้นไม่มีกลิ่น และไม่มีสี อาจเป็นอาการของน้ำคร่ำรั่วได้ ควรพบแพทย์ในทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

 

 

หากน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดทำอย่างไรดี?

ถ้าถุงน้ำคร่ำมีการแตกก่อนกำหนด หรือแตกก่อนที่อายุครรภ์จะครอบ 37 สัปดาห์ นั้นจะเรียกว่า Premature rupture of membranes (PROM) หรือ ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด อาจส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือนำสิ่งใดเข้าไปในช่องคลอดเด็ดขาด เพราะอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ หากคุณแม่ท่านใดมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของรั่วไหล หรือระดับของน้ำคร่ำในระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำความเข้าใจ และข้อปฏิบัติตัวต่าง ๆ หากเกิดขึ้นกับตนเอง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้ในเรื่องของน้ำคร่ำ เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และน่าทึ่งมากเลยใช่ไหมคะว่าจะมีประโยชน์ต่อทารกน้อยในครรภ์ของเรามากมายขนาดนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นกับน้ำคร่ำของเราได้อีก ยังไงก็ขอให้คุณแม่ระวังด้วยนะคะ ถ้าหากรู้สึกผิดปกติก็ขอให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำแตก แม่ท้องทำยังไงดี?

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับน้ำคร่ำ ได้ที่นี่!

น้ำคร่ำคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรเหรอคะ พอดีอยากรู้น่ะค่ะ

ที่มา : Medical News Today, marchofdimes, News Medical Life Sciences, Healthline

บทความโดย

Siriluck Chanakit