วิธีห้ามทัพ พี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่ควรจัดการด้วยวิธีนี้
เชื่อว่า ทุกครอบครัวที่มีลูก 2 คนขึ้นไป จะต้องมีการทะเลาะกันระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อย่าว่าแต่แค่พี่น้องกันเองเลย บางครั้งพ่อแม่ยังมีทะเลาะกันให้เห็นอยู่บ่อย ๆ จึงไม่แปลกที่พี่น้องจะมีทะเลาะกันบ้าง แล้วถ้าลูกของคุณเกิดทะเลาะกันเองขึ้นมา คนเป็นพ่อแม่ก็คงเครียดไม่ใช่น้อย แต่ละครอบครัว ก็มีวิธีห้าม พี่น้องทะเลาะกัน แตกต่างกันออกไป บางครอบครัวยังคิดว่า บ้านคงสงบอีกทีก็ตอนลูกโตแน่เลย เห็นได้ว่า พี่น้องแม้จะมีบางมุมที่รักกันมาก แต่ก็ตีกันบ่อยมากเช่นกัน ที่จริงแล้ว การที่พี่น้องทะเลาะกันล้วนมีสาเหตุทั้งนั้น แล้วจะจัดการกับปัญหานี้ตั้งแต่แรกอย่างไรดี คุณพ่อคุณแม่เพียงแค่เข้าใจถึงสาเหตุ ก็ช่วยลดเหตุการณ์การทะเลาะกันนี้ได้ ลองมาดูวิธีห้ามทัพ ที่ทางเราเอามาฝากคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกันค่ะ
1. แม้จะเป็นพี่น้อง แต่ก็ไม่เหมือนกัน
คำแนะนำจากหนังสือ The Birth Order Book : Why You Are the Way You Are บอกไว้ว่า การเลี้ยงลูกให้เหมือนกันทุกอย่าง เน้นความเท่าเทียมกันนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดค่ะ เนื่องจากพี่น้องแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากลำดับการเกิดด้วยเช่นกัน
ดังนั้นเด็ก ๆ แต่ละคน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องมีวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันไป ให้เหมาะสมต่อเด็กแต่ละคนเช่นกัน แม้ว่าเด็กบางคนอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องนี้ได้เหมือนกัน เช่น พี่ชอบดูการ์ตูนผู้ชาย น้องชอบดูการ์ตูนผู้หญิง แต่ในสายตาพ่อแม่มันคือ การ์ตูนเหมือนกัน ถ้าเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะมีอีกฝ่ายที่คิดว่าพ่อแม่ลำเอียงแน่นอนค่ะ ดังนั้น ให้ในสิ่งที่แต่ละคนต้องการ แม้จะมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความแตกต่างของนิสัย ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้พี่น้องทะเลาะกันได้ง่าย
2. ยุติธรรมต่อทุก ๆ คน
แม้คุณพ่อคุณแม่จะคิดว่า การตัดสินใจบางครั้งดูยุติธรรมที่สุดแล้ว แต่มันจะต้องมีบางเรื่อง ที่ลูกแต่ละคนรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ยุติธรรมเลย เช่น การให้ความสนใจ ระเบียบวินัย หรือ ปฏิกิริยาของพ่อแม่ต่อเด็ก ๆ
เตรียมพร้อมได้เลยค่ะ ที่จะอธิบายกับลูก ๆ และ เพิ่มความมั่นใจให้เขาว่า พ่อแม่ทำดีที่สุดแล้ว เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน โดยเฉพาะบ้านที่มีน้องเล็ก ๆ แม้ว่าจะดูเหมือนน้องเล็กจะได้รับความสนใจกับพ่อแม่เยอะที่สุด แต่การให้ลูกดูรูปถ่ายเก่า ๆ หรือ คลิปเก่า ๆ สามารถอธิบายเขาได้ว่า ตอนที่เขายังเล็กเท่าน้อง ก็ได้ความสนใจไปเพียบเหมือนกัน
แต่อย่าลืมให้เวลากับลูกแต่ละคนทุกวันอย่างสม่ำเสมอค่ะ แม้จะเพียงวันละ 10-15 นาที ก็สร้างความแตกต่างได้เยอะมากมายแล้ว
3. ให้ลูกร่วมมือกัน ไม่ใช่แข่งขันกัน
การมีพี่น้องคือเรื่องปกติ แต่การทำให้ลูกรู้สึกว่า ต้องแข่งขันกับพี่หรือน้องอยู่ตลอดเวลานั้น ไม่ใช่เรื่องปกตินะคะ การสร้างสถานการณ์หรือกิจกรรมให้ลูกๆ ร่วมมือกันจะดีต่อทุกฝ่ายมากกว่า พี่น้องจะรักกันมากขึ้น มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้นค่ะ
4. พื้นที่ของแต่ละคน
เด็ก ๆ ต้องมีพื้นที่ของตัวเองค่ะ แม้ว่าจะอยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม และควรสอนลูกให้เรียนรู้ถึงการเคารพพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นด้วยเช่นกัน แม้จะมีพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็ควรมีจะมีเวลาที่เล่นด้วยกันบ้าง
เด็กแต่ละคน ต่างก็มีการจำกัดพื้นที่ของตัวเอง ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เช่นกัน
5. พ่อแม่ต้องใจเย็น เพื่อให้ลูกสงบลง
ในบางครั้งที่เกิดความขัดแย้งขึ้นไม่ ไม่ว่าจะแย่งของเล่นกัน หรือทำของเล่นพัง ฟังเวลาลูกเล่าเรื่องให้ดีก่อน และ ให้ทั้งสองหรือสามฝ่ายเล่า แล้วค่อยคิดหาวิธีแก้ไขร่วมกัน นอกจากนี้ ใช้เวลาตามลำพังกับลูกแต่ละคน เพื่อถามลูกถึงประเด็นอย่าง ชอบพี่ตรงไหน ชอบน้องตรงไหน และไม่ชอบตรงไหนบ้าง หากมีเรื่องที่พ่อแม่ไม่สบายใจเมื่อได้ฟัง พ่อแม่เองก็ต้องใจเย็น ไม่ไปดุด่าว่ากล่าวลูกทันทีค่ะ ที่สำคัญคืออย่าเป็นชนวนสร้างความขัดแย้งระหว่างลูก ๆ เสียเอง
6. อย่าให้ลูกหิว
ข้อนี้อาจจะดูเหมือนตลก แต่จริง ๆ แล้ว พี่น้องจะเริ่มทะเลาะกันเมื่อรู้สึกหิว (อย่าไปสนใจเลยว่ามันคือเรื่องอะไร) ความหิวเป็นตัวการร้ายแรงที่สุด ที่ทำให้เด็ก ๆ ทะเลาะกัน เมื่อเด็ก ๆ เริ่มมีอาการจะทะเลาะกันแล้ว ลองรีบเรียกไปกินข้าวดู ใครจะรู้ว่ามันอาจจะกลายเป็นการแก้ปัญหาทั้งหมดไปเลยก็ได้นะคะ
การที่ลูกรักกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ทะเลาะกัน ก็คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพ่อแม่
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
source หรือ บทความอ้างอิง :
huffingtonpost
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
11 เคล็ดลับสอนให้พี่น้องรักกัน (ไม่ใช่เรื่องยาก)
ลูกนอนกรนเพราะภูมิแพ้ แก้ง่ายๆ ถ้ารู้สาเหตุว่าลูกแพ้อะไร
ลูกชอบแย่งของเล่นกัน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!