TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สติช่วยชีวิต! แม่ใช้ทักษะพยาบาลช่วยลูกน้อยจาก ลูกอมติดคอ

7 Mar, 2024
สติช่วยชีวิต! แม่ใช้ทักษะพยาบาลช่วยลูกน้อยจาก ลูกอมติดคอ

เมื่อลูกอมหวาน เกือบกลายเป็นโศกนาฏกรรม! ลูกอมหวาน ๆ หลากสีสัน หลากรสชาติ นับว่าเป็นของโปรดของเด็ก ๆ หลายคน แต่รู้หรือไม่ว่า ของหวานชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้แฝงไปด้วยอันตรายมากมาย เหมือนกับเหตุการณ์นี้ เด็กชายวัย 3 ขวบ เกือบเสียชีวิตหลังจาก ลูกอมติดคอ หายใจไม่สะดวก โชคดีแม่ของเด็กเป็นพยาบาล รีบเข้าช่วยเหลือปฐมพยาบาลได้ทัน

เหตุการณ์ระทึกขวัญนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 เด็กชายวัย 3 ขวบ น้องรถบัส กำลังกินลูกอมอย่างเพลิดเพลิน แต่แล้วลูกอมเกิดติดคอ เด็กชายหายใจไม่สะดวก พยายามเอามือล้วงคอแต่ก็ไม่ได้ผล โชคดีคนในบ้านสังเกตเห็นทัน โดยผู้เป็นแม่ น.ส.ณัฐคฤตา ได้โพสต์คลิปวิดีโอเหตุการณ์ระทึกขวัญ ลงในเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า

“นาทีชีวิตของรถบัส พอเกิดเหตุกับลูกตัวเอง แม่แทบไม่มีสติเลย ขอบคุณป้าแม่บ้าน คุณยายหลวย สังเกตเห็นอาการผิดปกติได้เร็ว และคุณตาผู้มีสติมาก ๆ เหตุเกิดจากลูกอม ตะโกนแล้วหลุดลงคอ”

 

ลูกอมติดคอ ลูกอมติดคอ

 

ซึ่งจากในคลิปเหตุการณ์เราจะเห็นเด็กกำลังนั่งเล่นอยู่บนเก้าอี้ โดยมีคุณตานั่งอยู่ด้วยใกล้ ๆ ต่อมาป้าแม่บ้านได้เดินเข้ามาพูดคุยเล่นกับน้องรถบัส คุณตาจึงเดินเข้าบ้านไป จู่ ๆ น้องก็มีอาการผิดปกติเหมือนหายใจไม่ออก ป้าแม่บ้านจึงถามว่าเป็นอะไร ด้วยท่าทางที่ตื่นตระหนก คุณตาได้ยินจึงรีบวิ่งเข้าไปดูน้องรถบัส

สักพักคุณแม่ก็รีบวิ่งตามออกมาจากบ้าน พร้อมกับตะโกนว่า ลูกอมติดคอ หรือเปล่า และไม่รอช้า รีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยมีคุณตาคอยช่วยอยู่ข้าง ๆ จนกระทั่งลูกอมหลุดออกมา ทำให้น้องรอดมาได้อย่างฉิวเฉียด ซึ่งหลังจากคลิปเหตุการณ์นี้ได้เผยแพร่ออกไป ก็ได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนมากแสดงความเป็นห่วงเป็นใย และชื่นชมคุณตากับคุณแม่ที่มีสติและได้ช่วยเหลือเด็กจนปลอดภัย

ซึ่งล่าสุด คุณแม่ ก็ได้ออกมาเผยอีกว่า ตนเป็นพยาบาลวิชาชีพ จึงได้นำหลักการแพทย์ที่ตนเรียนรู้มา มาช่วยชีวิตลูกด้วยการกระทุ้ง ลูกอมออกจากคอลูก ทำให้น้องรถบัสปลอดภัย นอกจากนี้ทางคุณแม่ และครอบครัวของน้องอยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ทุกคนที่มีลูกหลานเป็นเด็กเล็ก ให้เหตุการณ์ ลูกอมติดคอ นี้เป็นอุทาหรณ์ เวลาจะให้ลูกรับประทานอะไรควรระมัดระวัง สังเกตอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหา การติดคอนี้เป็นภัยใกล้ตัวมาก ถ้าช่วยเหลือไม่ทันภายใน 3-4 นาที อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ และถ้าหากเกิดเหตุแบบนี้ขึ้น สิ่งแรกที่ผู้ปกครองควรจะทำคือตั้งสติ และรีบหาทางช่วยเหลือลูกน้อยอย่างถูกวิธีโดยเร็ว

สามารถรับชม คลิปวิดีโอเหตุการณ์ได้ที่นี่ค่ะ

ที่มา : khaosod.com

Facebook: NOng SAii

 

เมื่อลูกมี “อาหารติดคอ” สังเกตอาการอย่างไร

ปัญหา หลอดอาหารถูกอุดกั้น หรือ อาการติดคอ จากสิ่งแปลกปลอม (choking) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่เราจะรู้ได้อย่างไร มีวิธีสังเกตอาการอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  • ลูกน้อยมีอาการสำลัก หรือไออย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
  • เริ่มมีอาการหายใจเสียงดังเหมือนคนเป็นโรคหอบหืด
  • พูดหรือเปล่งเสียงได้ลำบาก ไม่มีเสียงออกมา
  • จู่ ๆ ก็เกิดอาการหายใจเร็วผิดปกติ

 

วิธีช่วยเด็กเวลามีอะไรติดคอ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติ การทำความเข้าใจปัญหา อาการติดคอ ด้วยความรู้และความเข้าใจในการรับมือและป้องกันเบื้องต้น ก็จะช่วยให้เด็กมีความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น หรือหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เด็กก็จะได้รับการดูแลและช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี

ลูกอมติดคอ

 

1) ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

วิธีนี้จะต้องจับเด็กนอนคว่ำและตบแรง ๆ บริเวณทรวงอกด้านหลังระหว่างกระดูกสะบัก จนอาหารกระเด็นหลุดออกมา ที่สำคัญห้ามใช้นิ้วมือล้วงช่องปาก หรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลังเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เศษอาหารล่วงตกลงมามาอุดที่ช่องกล่องเสียงจนทำให้ลูกขาดอากาศหายใจได้

 

2) วิธีช่วยเหลือแบบ Heimlich

ในกรณีที่ลูกสำลักแล้วหายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียว ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน อาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาไม่กี่นาที การช่วยเหลือแบบวิธี Heimlich จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกค่ะ โดยให้ลูกนั่งหรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ใหญ่ยืนจากทางด้านหลังแล้วใช้แขนสอดสองข้างโอบลำตัว และกำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ หลังจากนั้นให้ดันมือลงมาตรงตำแหน่งลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้องดันให้อาหารหลุดออกมา

 

หัวใจสำคัญในการช่วยลูกจากภาวะฉุกเฉินนั่นก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดี และรีบช่วยเหลือลูกโดยเร็วที่สุดและถูกวิธี เพราะถ้าหากสมองของลูกขาดออกซิเจนไปเพียง 4 นาที อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราตลอดไปได้ค่ะ

 

วิธีป้องกันปัญหา ลูกอมติดคอ

เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกต้องมาเจอกับเหตุการณ์ ลูกอมติดคอ แน่นอน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มจากวิธีป้องกันปัญหาเหล่านี้ ดังนี้ค่ะ

 

1) เก็บอาหารชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นจากมือเด็ก

อาหารชิ้นเล็ก เช่น ลูกอม เมล็ดถั่ว องุ่น ขนมเยลลี่ ฯลฯ ให้พ้นมือลูก หลีกเลี่ยงการที่ลูกอาจจะหยิบกินโดยที่ไม่ได้อยู่ในสายตาและความดูแลของพ่อแม่

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

 

2) สอนให้ลูกเคี้ยวอาหารช้า ๆ

ควรสอนให้ลูกเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน และไม่ควรกินอาหารในขณะที่นอนราบอยู่ หรือวิ่งเล่นขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก

 

3) ไม่ควรให้ลูกทานอาหารที่มีลักษณะ เป็นเส้น ขนาดกลม ลื่นและแข็ง

เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมไปถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีเม็ดขนาดเล็กด้วยตนเองก่อน ควรเอาเม็ดออกพร้อมตัดแบ่งเป็นคำเล็กพอที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้ เพราะอาจมีโอกาสลื่นหลุดเข้าหลอดลมได้ง่ายค่ะ

 

จากเหตุการณ์ เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่เกือบเสียชีวิตเพราะลูกอมติดคอ นับว่าเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้ผู้ปกครองควรระวังเรื่องการให้เด็กเล็กกินลูกอม หรืออาหารที่มีขนาดเล็ก กลม และแข็ง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่ายค่ะ และที่สำคัญผู้ปกครองควรตั้งสติให้ดี เตรียมความพร้อมให้กับตนเองหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและทันท่วงทีสามารถช่วยชีวิตลูกน้อยได้ค่ะ

ที่มา : Paolo Hospital

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

สลด! แม่ชาวโอไฮโอ ทิ้งลูกไว้บ้านคนเดียว 10 วัน

แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

แม่โพสต์เตือน ลูกเป็นหวัดบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

samita

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • สติช่วยชีวิต! แม่ใช้ทักษะพยาบาลช่วยลูกน้อยจาก ลูกอมติดคอ
แชร์ :
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว