X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

บทความ 3 นาที
วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

วิธีสังเกตอาการลูกสำลักนม อะไรทำให้ลูกสำลักนม ถ้าลูกสำลักนมทำอย่างไร และจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมได้อย่างไร

ลูกสำลักนม อันตราย

ลูกสำลักนม เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้ โดยที่คุณแม่ไม่ทันระวัง ซึ่งการที่ลูกสำลักนมนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงต้องคอยระวังเป็นพิเศษ

วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม

วิธีสังเกตอาการลูกสำลักนม มีดังนี้

  1. ในระหว่างที่ลูกดูดนมจากขวดนั้น แรก ๆ ลูกจะมีอาการไอ เหมือนกับจะขย้อนนมออกมา หากสำลักไม่มาก อาจจะไอเพียงเล็กน้อย 2 – 3 ครั้งก็จะหายเอง คุณแม่ควรลูกนั่งเอามือประคองหน้าลูกไว้ ค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ อีกครั้งเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น
  2. กรณีที่ลูกมีอาการสำลักนมมาก เด็กจะมีอาการไอแรง จนหน้าแดง หรือมีเสียงหายใจที่ผิดปกติ มีเสียงครืดคราดขณะหายใจ หากมีอาการเช่นนี้ คุณแม่ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
  3. กรณีที่ลูกกินอาหาร เช่น ขนม หรือผลไม้ ไปก่อนที่จะกินนม เมื่อเกิดอาการสำลัก จะมีอาการตัวเขียว หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา เช่น ไอไม่หยุด หายใจผิดปกติ มีเสียงหายใจครืดคราด หากลูกมีอาการเช่นนี้ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนม

สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมนั้น เกิดจากทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ดังนี้

ปัจจัยภายใน ที่ทำให้ลูกสำลักนม ได้แก่

  • เด็กแรกเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืน เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งจะทำให้ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหาร กับระบบทางเดินหายใจมีปัญหา หรือ ภาวะหูรูดทางเดินอาหารยังปิดไม่สมบูรณ์
  • ทารกที่มีปัญหา เรื่องปอดและหัวใจ ทำให้เด็กหายใจเร็วขึ้นในขณะที่ดูดนม จึงมีโอกาสที่จะสำลักนมมากกว่าปกติ
  • เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการที่ล่าช้า หรือเคยมีประวัติว่าเคยชัก ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะสำลักนมได้ง่าย

ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้ลูกสำลักนม ได้แก่

  • วิธีการให้นม หากทารกดูดนมแม่ ลูกก็จะไม่ค่อยสำลักนม หรือมีโอกาสสำลักนมน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมาได้ตลอด
  • คุณแม่อุ้มลูกให้นมไม่ถูกท่า ไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมลูกในขณะที่ลูกกำลังนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้หรือการให้ลูกนอนกินนม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมได้
  • เกิดจากความเข้าใจผิดของคุณแม่เช่น เวลาที่ลูกร้อง ก็จะป้อนนมทุกครั้ง ซึ่งคุณแม่อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าลูกหิว ซึ่งอาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหารเกินความต้องการ ส่งผลให้ลูกสำลักนมออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วหากว่าลูกร้องไห้ คุณแม่ควรหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกร้องไห้เสียก่อน เช่น ร้องไห้เพราะอยากให้อุ้ม ร้องไห้เพราะไม่สบายตัว หรือร้องไห้เพราะอึ หรือฉี่  เป็นต้น
  • ใช้จุกนมขวดที่ผิดขนาดและไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ทำให้น้ำนมไหลออกมามากกว่าปกติ จนเด็กสำลักนมได้
ลูกสำลักนม

ลูกสำลักนม

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกสำลักนม

  1. ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้นมแม่อย่างเดียว หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือ 6 เดือนเป็นต้นไป เพราะในช่วงนี้อวัยวะการดูดกลืนจะทำงานได้ดีกว่าในช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ทำให้โอกาสในการสำลักมีน้อยลง
  2. จับลูกเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ถึง 2 เดือน ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกเรอโดยอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ
  3. สำหรับเด็กทารกที่คอแข็งดีแล้ว ให้จับลูกเรอโดยสามารถใช้วิธีอุ้มพาดบ่าได้ แล้วใช้มือประคอง และลูบหลังขึ้นเบา ๆ

ทำอย่างไร ถ้าลูกสำลักนม

  • หากลูกสำลักนม ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นทันทีที่เกิดการสำลัก
  • จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นม หรืออาหารที่ติดค้างในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

Overfeeding อันตราย!!! จับตา 5 อาการ เมื่อลูกกินนมเยอะเกินไป

ช็อค! ทารกวัยเพียง 4 วัน ดับคาอกแม่ หลังแม่กินยาแล้วให้นม

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม
แชร์ :
  • ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี

    ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 37 ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 37 ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?

  • ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี

    ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 37 ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 37 ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ