เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากบนโลกโซเชียล เมื่อวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6 ได้รับเรื่องราวเหตุการณ์ร้องเรียนจากสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่ได้เล่าเหตุการณ์ที่ลูกชายของตัวเองซึ่งเป็น เด็กพิเศษถูกเพื่อนต่อย และทำร้ายร่างกายหลายแห่ง หลังครูประจำชั้นให้ไปตามเพื่อนที่เล่นบอลอยู่ในสนาม แต่ครูกลับบอกให้ผู้ปกครองทำใจ เพราะลูกชายไปท้าเพื่อนเอง
เด็กพิเศษถูกเพื่อนต่อย คู่กรณีจ่ายแค่ 1,000 บาท
โดยในโพสต์ได้ระบุข้อความว่า “สมาชิกส่งเรื่องราวมา… ไม่พอใจไปฟ้องศาลเอา… โดนขนาดนี้ ควรทำไง” ซึ่งสรุปใจความได้ว่า ครูประจำชั้นได้ให้เด็กพิเศษไปตามเพื่อนที่อยู่ในสนามบอล แล้วเด็กที่ไปตามก็ไปยืนขวางเพื่อนที่เล่นบอลอยู่ ทำให้เพื่อนไม่พอใจและบอกว่า “ถ้าไม่หลบจะชกให้แว่นแตก” ซึ่งน้องเด็กพิเศษก็ได้ตอบไปว่า “ก็ชกสิ”
ทำให้เพื่อนอีกฝ่ายชกเข้าไปที่หน้า ปากแตก จนล้มลงกับพื้น และเพื่อนคนดังกล่าวยังเหยียบแขนซ้ำ พร้อมนั่งคร่อมแล้วใช้เล็บข่วน ขณะที่เด็กพิเศษไม่สามารถตอบโต้กลับได้เลยขณะที่เพื่อนคนอื่นเข้ามาห้าม
หลังจากนั้น ครูประจำชั้นก็ได้โทรแจ้งตนที่เป็นผู้ปกครองของเด็กพิเศษ ว่าลูกได้ชกต่อยกับเพื่อน และมีแผลนิดหน่อย ครูก็ได้ถามถึงเรื่องการกินยาของลูกตนว่ายังกินยาอยู่ไหม เนื่องจากดูมีพฤติกรรมที่หงุดหงิด พร้อมกับแจ้งตนว่าไม่ให้ลูกชายไปเข้าค่ายเพราะกลัวว่าจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้
จากนั้นตนจึงได้ไปรับลูกให้กลับมาที่บ้าน แต่ครูบอกว่าให้เขาสงบอารมณ์ที่โรงเรียน มีแผลนิดเดียวที่หน้า ครูทำแผลให้แล้ว สักพักครูโทรมาแจ้งว่า ลูกชายจะกลับบ้าน พอตนได้เห็นสภาพลูกชายก็ถึงกับเข่าอ่อน ลูกมีแผลเต็มไปหมด ขณะที่ครูแจ้งให้ตนทำใจ เพราะบอกเหตุผลว่าลูกของตนไปท้าเขาชกเอง เลยโดนชก
ทั้งนี้ ทางผู้ปกครองของเด็กพิเศษได้ไปแจ้งความที่โรงพักแล้ว พร้อมบอกว่าจะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด ส่วนด้านคู่กรณียังยืนยันว่าจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ 1,000 บาท และบอกว่าถ้าไม่ยอม ก็ให้ไปฟ้องศาลเอาเอง
อย่างไรก็ตาม ทางด้านผู้ปกครองของเด็กพิเศษยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ลูกชายเป็นเด็กพิเศษ เมื่อครูขอให้ช่วยไปตามเพื่อน น้องก็ตามจนกว่าเพื่อนจะขึ้นห้อง และการที่เพื่อนบอกว่าจะชก แล้วน้องบอกชกเลย ก็เป็นนิสัยของเด็กพิเศษทั่วไป ไม่ได้คิดว่าเพื่อนจะชกจริง” หลังโพสต์ได้เผยแพร่ไป ก็มีชาวเน็ตจำนวนมาก มาเสนอให้ผู้ปกครองดำเนินคดีตามกฎหมาย และส่งกำลังใจให้น้องเด็กพิเศษให้หายไว ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมรายชื่อ โรงเรียนเด็กพิเศษ ทั่วประเทศ ! เด็กพิเศษเรียนที่ไหนได้บ้าง?
5 วิธีดูแลเด็กพิเศษเบื้องต้น
เด็กพิเศษแต่ละคนมีบุคลิกและการแสดงออกที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ความต้องการพิเศษและความรุนแรงของภาวะนั้น ๆ เด็กบางคนไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ขณะที่บางคนสามารถจัดการได้ดี คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จักวิธีรับมือกับเด็กพิเศษเบื้องต้น ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจในตัวเด็กได้
1. เข้าใจลูก
ก่อนอื่นเลย คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับก่อนว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ ซึ่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ เมื่อยอมรับได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะเข้าใจตัวลูกมากขึ้น และเมื่อทุกคนในบ้านเข้าใจ ก็ต้องให้ความร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
2. ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
ปัจจุบันมีข้อมือเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลก็ง่ายกว่าเดิม โดยเฉพาะแหล่งข้อมูลออนไลน์ คุณพ่อคุณแม่สามารถหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงโรค ภาวะ และพฤติกรรมของลูก เพื่อจะได้รู้จักวิธีรับมืออย่างถูกต้อง
3. จัดตารางกิจกรรมให้ลูก
เด็กพิเศษต้องการการพัฒนาอยู่เสมอ คุณพ่อคุณแม่ควรจัดตารางกิจกรรมให้ลูกเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้เขาได้ทบทวนสิ่งเดิมและเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ๆ การทำกิจกรรมจะช่วยให้เราเห็นพัฒนาการของลูกได้อย่างชัดเจน โดยคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมทำตารางกิจกรรมและติดตามอย่างสม่ำเสมอนะคะ
4. ใช้วิธีการชมลูก
การให้คำชม หรือการแสดงท่าทีว่าเราพอใจจะช่วยให้ลูกมีกำลังใจและมีพฤติกรรมที่ดี เช่น เมื่อลูกต่อเลโก้เสร็จ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถชมเด็กได้ว่า “เก่งจังเลยลูก” พร้อมกับทำท่ายกนิ้วโป้งให้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าลูกทำได้ดี หรือคุณพ่อคุณแม่จะให้สิ่งของเป็นรางวัลให้แก่ลูกได้ โดยทำการตกลงกับลูกให้เรียบร้อย เมื่อลูกทำได้ตามที่ตกลง คุณพ่อคุณก็ควรให้รางวัลนั้นทันที ไม่ควรเปลี่ยนของรางวัลนะคะ เพราะจะทำให้ลูกไม่ให้ความร่วมมือให้ครั้งถัดไป
5. อย่าลืมให้กำลังใจ
เพราะกำลังใจ คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กพิเศษมีกำลังใจมองขึ้น คุณพ่อคุณแม่ห้ามท้อ และมองว่าลูกไม่ดีเท่าเด็กคนอื่นเด็ดขาด เพราะแม้แต่ตัวลูกก็ต้องการกำลังใจ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรหมดกำลังใจเด็ดขาด เพื่อที่จะได้ช่วยกันพัฒนาลูกให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
ครอบครัวคือเซฟโซนสำคัญของเด็กพิเศษ ที่จะช่วยให้ลูกมีกำลังใจและมีพัฒนาการที่ดีได้ ดังนั้น ไม่ว่าลูกจะเจอเรื่องเลวร้ายแบบไหน ขอเพียงแค่ครอบครัวต้องเข้าใจและร่วมกันให้กำลังใจให้ลูก เพื่อให้เขาสามารถฟันฝ่าเรื่องราวเหล่านั้นได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แบบฝึกอ่านภาษาไทย ป.1 ข้อสอบวิชาภาษาไทย ป.1 ติวลูกสอบเข้า
การศึกษาพิเศษ (SPED) คืออะไร เหมาะกับเด็กประเภทไหนมากที่สุด
โรงบาลเด็กลูกพูดช้า แก้ปัญหาด้านการพูด รวมคลินิกเด็กพูดช้าในกรุงเทพ
ที่มา : อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6, thethaiger.com, dailynews.co.th, starfishlabz.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!