ผอ.โรงเรียนดัง ในจ.กำแพงเพชร ได้ขึ้นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ ไว้ที่หน้าโรงเรียนมีข้อความว่า “ไม่รับเด็กฝาก” หลังพบผู้ปกครองบางส่วนนำบุตรหลานมาฝาก ด้วยช่องทางผิด ๆ อ้างผู้ใหญ่ จึงต้องทำป้ายเตือน ระบุข้อความชัดเจน “โรงเรียนวัชวิทยา ไม่รับฝากเด็กนักเรียนเข้าเรียน หากพบว่ามีผู้แอบอ้างว่าสามารถฝากหรือเรียกร้องเงินเพื่อแลกเปลี่ยนการฝากนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนวัชวิทยาได้จะขอให้แจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายได้ทันที”
ได้กลายเป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างเป็นวงกว้าง ในกรณีที่โรงเรียนวัชรวิทยา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ขึ้นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ ติดไว้ที่ด้านหน้าของโรงเรียน โดยระบุข้อความชัดเจนถึงการ ไม่รับฝากเด็กนักเรียนเข้าเรียน
ทางด้านนายพัฒนา ทรงประดิษฐ์ ผอ.โรงเรียนวัชรวิทยา กล่าวว่า โรงเรียนแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนใน จ.กำแพงเพชร ที่มีผู้ปกครองสนใจต้องการส่งบุตรหลาน เข้ามาเรียนเป็นจำนวนมากในแต่ละเทอม ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นเรื่องดี และเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ แต่ปรากฏว่า เมื่อมีนักเรียนที่สอบแข่งขันไม่ผ่าน และไม่ได้ติดตัวสำรอง กลับได้มีผู้ปกครองบางส่วน พยายามนำบุตรหลานมาฝากด้วยช่องทางที่ผิด ๆ ซึ่งบางครั้งได้ไปขอความช่วยเหลือให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่รู้จักติดต่อขอฝากเข้าเรียน ซึ่งตนเองก็ได้ปฏิเสธไป ท้ายที่สุดจึงเป็นที่มา ที่ต้องออกมาตรการและขึ้นป้ายเตือนให้ชัดเจนเช่นแบบนี้
ท่านผู้อำนวยการ เผยว่า เรามีความจำเป็นที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับเด็กที่มีความสามารถ จึงต้องขึ้นป้ายให้เป็นที่เข้าใจเป็นที่รู้กัน เพราะมีการพูดด้วยวาจา ก็จะไม่เห็น จึงต้องบอกด้วยลายลักษณ์อักษรติดไว้ ขอขอบคุณทุกส่วนที่ให้ความสนใจ ทางโรงเรียนจะทำหน้าที่สอบการคัดเลือก เพื่อทำให้ผู้ปกครองได้มั่นใจในโรงเรียน
ท่านผู้อำนวยการ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ตนเองเข้าใจในเจตนาของผู้ปกครอง แต่ในการเข้าเรียน มีข้อจำกัดในการสอบแข่งขัน จำเป็นที่จะต้องให้ความเป็นธรรมกับนักเรียนที่สอบเข้าแข่งขันจริง ๆ ถ้ามาฝาก แล้วทำให้ต้องไปเบียดคนที่สอบได้ ส่วนตัว ผอ.มองว่า มันเป็นบาป ที่สำคัญคือผิดกฎหมาย ผิดระเบียบอีกด้วย”
ในขณะที่ น.ส.ตรีนฺช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ได้กำชับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ให้ดูแลการรับนักเรียนปีการศึกษา 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยต้องไม่มีการใช้เงินแลกที่นั่งเรียน หากมีการร้องเรียนเข้ามา ศธ.ก็จะตรวจสอบ หากพบใครทำผิดก็จะดำเนินการตามระเบียบขั้นสูงสุดทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง : โซเชียลแฉ “น้องวีน” สอบติดหมอ แต่ยากจนไม่มีเงินเรียน
6 เทคนิคทำข้อสอบให้ทันเวลา !
1. อย่าลืมนาฬิกาเช็กเวลาสอบ
เด็กวัยเรียนเข้าห้องสอบควรมีนาฬิกาข้อมือ หรือหากมีข้อกำหนดห้ามใส่นาฬิกาเข้าห้องสอบ ให้ดูนาฬิกาของห้องสอบ เนื่องจากต้องคำนวณเวลาสอบเสียก่อน เมื่อได้กระดาษข้อสอบมาแล้วให้ตรวจดูจำนวนของข้อสอบ และหารกับเวลาเพื่อดูว่า ในแต่ละข้อจะใช้เวลาสูงสุดได้นานเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ใช้เวลาอยู่กับข้อใดนานเกินไป วิธีนี้จะสามารถช่วยให้บริหารเวลาในการทำข้อสอบได้มากขึ้น ทำให้ลดโอกาสทำข้อสอบไม่ทันเวลาได้ค่ะ
2. เจอข้อยากข้ามไปก่อน
โจทย์บางข้อมีความยากมากกว่าปกติ ถ้าพิจารณาแล้วรู้ว่าคิดนานแน่นอน โดยเฉพาะวิชาสายคำนวณอย่างคณิตศาสตร์ หากเจอข้อที่ยากให้ข้ามไปก่อนเลยทันที ไปทำข้ออื่นที่คิดว่าทำได้ง่ายกว่า และทำได้แน่นอน เพื่อเอาคะแนนในส่วนอื่น ๆ เพราะข้อง่ายใช้เวลาน้อยกว่าปกติอยู่แล้ว จากนั้นเวลาที่เหลือทั้งหมด จึงค่อยมาแก้โจทย์ข้อยากที่เหลืออยู่ให้เสร็จ กลับกันหากทำข้อยากก่อน แล้วกินเวลามากเกินไป จะทำให้ทำข้อสอบข้ออื่น ๆ ที่เหลือไม่ทันเลยก็ได้ ทำให้เสียโอกาสที่จะได้คะแนนในข้อที่ง่ายกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 เทคนิคในห้องสอบ สำหรับวัยเรียน ทำข้อสอบยากให้ทันเวลา !
3. หาใจความสำคัญของโจทย์
หากเป็นข้อสอบประเภทเนื้อหา ให้สรุปหาใจความสำคัญเป็นหลัก เพื่อมองให้ออกว่าเนื้อหากล่าวถึงอะไร ต้องการอะไร สามารถใช้วิธีอ่านโจทย์ก่อนเนื้อหาว่าโจทย์สำหรับเนื้อหานี้ มีอะไรบ้าง ถามเรื่องอะไร จากนั้นก็ค่อยอ่านเนื้อหา เมื่อมีโจทย์ที่รู้ในใจแล้ว ก็สามารถหาใจความสำคัญของเนื้อหานั้น ๆ เพื่อนำมาตอบคำถามได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
4. ระวังโจทย์หลอก
ข้อสอบที่มีจำนวนข้อไม่มากมักจะมีความยากของโจทย์กว่าเสมอ ข้อสอบที่มีจำนวนข้อมาก ๆ มักจะไม่ยาก แต่เน้นการอ่านที่รวดเร็ว และตอบอย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบไหน โจทย์อาจถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจผิดได้ง่าย ๆ เช่น โจทย์อาจให้หา “ข้อที่ถูก หรือไม่ถูก” จะต้องอ่านดี ๆ หากอ่านไว ๆ แค่กวาดสายตา อาจพลาดคำเล็ก ๆ เพียงคำเดียว แล้วทำให้คำตอบผิดพลาดไปได้เลย
5. ตัดตัวเลือกออกเสมอ
หากเจอข้อสอบประเภทช้อย แต่มีความยากทำให้หาคำตอบได้ลำบาก และดูสับสน โดยปกติแล้วจะมีช้อยมา 4 ช้อย น้อง ๆ อาจค่อย ๆ ตัดคำตอบออกเพื่อเพิ่มความชัดเจนมากขึ้น โดยคำตอบที่ตัดต้องเป็นช้อยที่มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด เพื่อให้เห็นข้อที่เหลือว่าคำตอบควรอยู่ในเนื้อหาประมาณไหน หรือมีตัวเลขเท่าไหน และไม่ต้องมานั่งอ่านข้อที่ไม่น่าจะใช่คำตอบซ้ำไปซ้ำมาจนทำข้อสอบไม่ทัน
6. ต้องทำให้ครบทุกข้อ
ถึงแม้ว่าจะมีข้อสอบที่มองว่ายาก จนเวลาจะใกล้หมดแล้ว ยังมีข้อที่ไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้ หากเป็นข้อสอบประเภทช้อย ไม่ควรเหลือเอาไว้เลยแม้แต่ข้อเดียว หากมั่นใจว่าตัวเองทำไม่ทันแน่นอน ให้สุ่มตอบไปเลยในข้อที่เหลือไว้ เพราะถ้าทิ้งไว้ โอกาสที่จะได้คะแนนจะไม่มีเลย โดยปกติแล้วเทคนิคที่ใช้กรณีทำข้อสอบไม่ทัน คือ “การทิ้งดิ่ง” โดยให้กาคำตอบในช้อยที่ตัวเองกาน้อยที่สุด เช่น ในกระดาษคำตอบไม่ค่อยกา “ง.” ก็ให้กา “ง.” ทั้งหมดในข้อที่ไม่ได้ทำ แต่ต้องจำไว้ว่าวิธีนี้เป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ควรทำ
เวลาก็เป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดในการสอบ ดังนั้นหากต้องการทำข้อสอบที่แสนยาก ให้ทันเวลาอย่าลืมที่จะเช็กเวลาและจำนวนข้อสอบเพื่อบริหารเวลาในการทำข้อสอบในแต่ละข้อ หากเจอข้อที่ยากนั้นควรจะข้ามไปทำข้ออื่น ๆ ก่อน และควรหาใจความสำคัญของโจทย์ให้เจอ ควรระวังโจทย์หลอก ที่ทำให้เลือกคำตอบผิดพลาด ตัดคำตอบออกเพื่อเพิ่มความชัดเจน ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ และที่สำคัญก่อนที่จะส่งกระดาษคำตอบ ควรเช็กซ้ำอีกครั้งว่าทำครบแล้ว เขียนข้อมูลครบถ้วนไหม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ เลขที่ และข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แนะนำ 10 หนังสือคณิตศาสตร์ ป.6 สรุปเข้ม มั่นใจเต็มร้อย พร้อมติวสอบเข้า ม.1
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
4 เทคนิค แบ่งเวลาอ่านหนังสือ สำหรับวัยรุ่นวัยสอบ จำง่าย ถึงเวลาพิชิตคะแนน
ที่มา :
สวพ.FM91
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!