ฝนถล่มสงขลาอ่วม เด็กแห่เล่นน้ำ ท่วมขัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา ณ จังหวัดสงขลา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพอากาศในพื้นที่ จ.สงขลา มีฝนตกสะสมต่อเนื่องมาหลายวัน จนถึงขณะนี้ยังไม่หยุดตก ทำให้เกิดน้ำทะลัก เข้าท่วมหลายเส้นทางในหลายอำเภอของ จ.สงขลา เช่น ที่บ้านหนองจูด หมู่ 13 ต.ท่าช้าง  อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ทำให้มี เด็กแห่เล่นน้ำ ที่ท่วมขัง

 

 

มีบ้านหลายหลังน้ำได้ทะลัก เข้าไปในบ้าน ความสูงประมาณ 20-50 ซม และบนถนนมีน้ำท่วมขังหลายจุด ในบ้านบางหลังได้มีการขนของเอาไว้ที่สูง บางหลังที่มีผู้สูงอายุได้พาย้ายขึ้นไปชั้น 2 ของบ้าน บางหลังก็ขนของได้เท่าที่จำเป็น

 

จากการสอบถามชาวบ้าน ทราบว่า ด้านหลังของบ้านหลายหลังเป็นป่าสวนยาง และเป็นพื้นที่ต่ำกว่าพื้นถนน ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำจากป่าสวนยางจำนวนมากไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และน้ำในท่อระบายน้ำไม่ทัน ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านชาวบ้าน และมีเด็ก ๆ  ในพื้นที่ แห่ออกมาเล่นน้ำที่ท่วมขังภายในซอย ตลาดนัดบ้านหนองจูดกันอย่างสนุกสนาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่รายงานว่าเกิดน้ำท่วมไปแล้วกว่า 7 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง หาดใหญ่ รัตภูมิ ควนเนียง นาหม่อม จะนะ รวมถึง อ.บางกล่ำ ที่กล่าวไปข้างต้น และยังมีแนวโน้มขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง ไม่มีท่าทางว่าจะหยุดโดยง่าย โดยได้มีการแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมซ้ำซาก และน้ำป่าไหลหลาก เฝ้าระวังภัยอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ จากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องมา 2 วัน ทำให้น้ำได้กัดเซาะและดินสไลด์ในเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหาดใหญ่ เสียหายแล้วไม่ต่ำกว่า 2 จุด ทั้งเส้นทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีรับมือเมื่อ น้ำท่วม ทำยังไงให้ปลอดภัย พร้อมวิธีช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

 

น้ำท่วมบ้าน ทำยังไงดี? วิธีรับมือไม่ให้น้ำท่วมบ้าน

1. สำรวจระบบไฟฟ้า

เมื่อไหร่ที่น้ำเริ่มไหลเข้ามาในบ้าน สิ่งที่เราเริ่มเช็กประการแรกเลยคือเรื่องของไฟฟ้า น้ำประปา และน้ำดื่ม โดยเราจะต้องตรวจดูว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถใช้งานได้หรือไม่ เพราะเมื่อไหร่ที่เราละเลยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไป ก็ทำให้ส่งผลไม่ดีและเป็นอันตรายเป็นอย่างมากต่อคนในบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำท่วมบ้าน ทำยังไงดี? วิธีรับมือ และป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เคลื่อนย้ายสิ่งของ

ขั้นตอนต่อมา คือเราจะต้องทำการเคลื่อนย้ายสิ่งของจากที่ต่ำนำขึ้นไปไว้ที่สูง หรือสิ่งของบางอย่าง ที่อาจจะเก็บในภาชนะที่สามารถป้องกันน้ำได้ โดยเราอาจจะสังเกตด้วยว่าสภาพอากาศแต่ละวันเป็นอย่างไร ดูว่าบ้านของเราอยู่ในจุดเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมหรือไม่ เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ทำการสังเกตและไม่ได้เตรียมพร้อม สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรารู้ตัวช้าไป ทำให้เคลื่อนย้ายสิ่งของภายในบ้านได้ไม่ทัน

 

3. ติดตามข่าวเป็นประจำ

สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ หากเราติดตามข่าวสารอยู่บ่อย ๆ เราก็จะได้รู้วิธีการรับมือและทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ฟังข่าวสาร หรือไม่เหตุการณ์อะไรเลย สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบตามมา หรือบางครั้งเราก็อาจจะย้ายของไม่ทันได้เลย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ติดต่อเจ้าหน้าที่

นอกจากสิ่งต่าง ๆ แล้ว เราอาจจะต้องทำการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างที่รู้กันดีว่า ช่วงเวลาน้ำท่วมนั้น การเดินทางหรือทำอะไรก็ค่อนข้างที่เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะฉะนั้นเราต้องทำการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้ามาช่วยเหลือและช่วยหาสถานที่หลบภัยให้เราได้ค่ะ

 

5. เตรียมจัดหาน้ำและอาหารให้เพียงพอ

อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือเรื่องของอาหารการกิน หากได้น้ำท่วมบ้านเรามาแล้ว การเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ก็จะทำได้ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ และอย่างที่รู้กันดีว่าเรื่องของอาหารและน้ำก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นเราต้องมีความพร้อมในการจัดหาน้ำและอาหารให้เพียงพอต่อคนภายในครอบครัว หรือใครที่ขาดแคลนเรื่องนี้ก็อาจจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือได้ค่ะ

 

6. เก็บอาหารที่ไม่เน่าเสีย

สิ่งสำคัญอีกอย่างเลยคือเก็บอาหารที่สามารถเก็บได้นาน อาทิเช่น มาม่า ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง หรือนม เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้ค่อนข้างที่จะเก็บไว้ได้นาน และไม่เสียง่าย ดังนั้นหากใครที่เสี่ยงกำลังจะประสบปัญหาน้ำท่วมบ้าน เราอาจจะต้องซื้ออาหารเหล่านี้กักตุนไว้ด้วยนะคะ

 

 

โรคที่มากับน้ำ มีอะไรบ้างและเราจะป้องกันลูกน้อยได้อย่างไรมาดูกัน!!

1. โรค ไข้เลือดออก

เมื่อที่ฝนตกหนัก ย่อมเกิดการที่มีน้ำท่วมขังกลายเป็นที่เพาะพันธุ์ของพวกยุงร้าย และโรคที่มากับเจ้ายุงนั้นก็คือ โรคเลือดออกนั้นเอง

  • สาเหตุของการเกิดโรค : การที่มีแหล่งน้ำท่วมขังจึงทำให้มียุงนั้นมาเพาะพันธุ์ทิ้งไว้ หรือลูกน้อยของเรานั้นได้รับเชื้อมาจากเจ้ายุงลายกัดนั้นเอง
  • อาการของโรค : โรคไข้เลือดออกจะมีอาการดังนี้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย บางรายมีไข้สูงเฉียบพลัน จาม ไอ มีน้ำมูกไหล เลือดออกตามผิวหนัง หรือตามไรฟัน เลือดกำเดาไหลเป็นต้น
  • วิธีการรักษา และป้องกัน :  ไม่ปล่อยให้มีน้ำท่วมขังอยู่บริเวณรอบ ๆ ตัวบ้าน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงให้หมดสิ้นภายในบ้าน หากว่าลูกน้อยของเราได้รับเชื้อแล้วให้รีบนำตัวไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรงก็ตาม แต่เราก็สามารถที่จะรักษาโรคนี้ตามอาการได้ และเราต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพียงเท่านี้โรคไข้เลือดออกก็สามารถที่จะหายเองได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 โรคที่มากับฝน สังเกตลูกมีอาการแบบนี้ไหม พร้อมวิธีป้องกันโรคติดต่อฤดูฝน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. โรคไข้หวัดใหญ่

ในความเป็นจริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่ได้มีเฉพาะในหน้าฝนเพียงอย่างเดียว โรคนี้ใคร ๆ ก็เป็นได้ หากว่ามีร่างกายที่อ่อนแอ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่สามารถที่จะวิวัฒนาการตัวมันเองเป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาได้เรื่อย ๆ

  • สาเหตุของการเกิดโรค : ไข้หวัดใหญ่หรือที่เรียกว่า (Influenza) สามารถที่จะเข้าสู่ร่างกายของเราโดยการดื่ม หรือ กินอาหารที่มีสารปนเปื้อนของเชื้อไวรัสนี้ นอกจากนี้แล้วการรับเชื้อจากละอองของน้ำมูก การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่เป็นอยู่แล้ว ก็สามารถติดเชื้อได้เหมือนกัน
  • อาการของโรค : โรคไข้หวัดใหญ่ อาการของไข้หวัดใหญ่ ช่วงแรกจะคล้ายกับโรคไข้หวัดธรรมดาแหละ แต่จะมีไข้สูงกว่าเท่านั้น ในบางรายที่มีไข้สูงมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการช็อก และเสียชีวิตได้เลย
  • วิธีรักษา และการป้องกัน : การป้องกันจากโรคไข้หวัดใหญ่นั้น สามารถทำได้ด้วยการล้างมืออยู่บ่อย ๆ ระมัดระวังการสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะนำเชื้อเข้าร่างกายของเราได้ หากว่าได้รับเชื้อแล้ว ควรเฝ้าระวังไข้ที่สูงผิดปกติ และควรพาบุตรหลานของท่านพบแพทย์โดยด่วน เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ อีกด้วย

 

3. RSV ในเด็ก

REV หรือชื่อทางการแพทย์คือ( Respiratory Syncytial Virus )ดูแล้วก็เหมือนไข้หวัดธรรมดานั้นแหละค่ะ แต่เราไม่สามารถปล่อยให้หายเองได้ เพราะปอดและหลอดลมจะติดเชื้อร้ายที่สามารถทำให้ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้เลย

  • สาเหตุของการเกิดโรค : โรค RSV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัส สารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่นน้ำมูก หรือแม้แต่การจาม ก็ทำให้ติดเชื้อได้แล้ว
  • อาการของโรค : อาการเริ่มแรกเลยคล้ายจะเป็นไข้หวัดธรรมดา มีน้ำมูก ไอ หรือ ไออย่างหนักจนทำให้อาเจียน จาม มีไข้ แต่ไข้อาจจะสูงถึง 39.5 องศา เลยทีเดียวหากปล่อยทิ้งไว้นาน หายใจลำบาก และมีเสียงหวีด ปาดซีดเขียวในบางราย
  • วิธีรักษา และการป้องกัน : ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค RSV หรือยาที่สามารถป้องกัน RSV ได้อย่าง 100% เราจึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคทุกคนในบ้านควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV แล้วยังสามารถลดเชื้ออื่น ๆ ที่ติดมากับมือ ของลูกและทุกคนในบ้านได้ทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัส และ แบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70 หลีกเลี่ยงให้เด็กไม่ว่าจะสบายดี หรือ ป่วย ไปในชุมชนที่อึดอัด หากมีลูกมีอาการป่วยควรจะคัดแยกเด็กป่วยกับเด็กปกติออกจากกัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

 

4. มือ เท้า ปาก

โรคนี้มาจากกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ผู้ป่วยที่พบมักจะอยู่ในช่วงวัยเรียนอนุบาล โดยเชื้อใช้ระยะเวลาในการแพร่ตัวอยู่ที่ประมาณ 3 – 7 วัน

  • สาเหตุของโรค : มือ เท้า ปาก สาเหตุหลัก คือ เชื้อไวรัสสามารถติดได้ทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น ละอองของน้ำลายจากการไอ จาม น้ำมูก และการสัมผัสแผล หรือ การดื่ม กิน อาหาร เครื่องดื่ม ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่นั้นเอง
  • อาการของโรค : อาการของ มือ เท้า ปาก คือ มีไข้ น้ำมูกไหล อาการคล้ายจะเป็นหวัด แต่จะมีแผลที่ปาก เบื่ออาหารไม่ทานอะไร และเมื่อทิ้งเชื้อไว้ 3-7 วัน จะเริ่มมีผื่น ตุ่มแดง ตามมือ ขา และเท้า
  • วิธี และการป้องกัน : โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่เราสามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคนี้ได้ก็คือ การให้เด็กรู้จักการล้างมืออย่างถูกวิธีและล้างมือบ่อย ๆ ทำความสะอาดร่างกายอยู่สม่ำเสมอ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมาจากการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้ หรือหากได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ต้องนำไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการเฝ้าระวังและรักษาตามอาการต่อไปนั้นเอง

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับวิธีการรับมือกับน้ำท่วม และโรคที่มากับน้ำ พร้อมวิธีการป้องกัน ที่เราได้นำมาฝากทุกคนในวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นวิธีการเตรียมรับมือกับน้ำท่วมบ้านได้ดีไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ และที่สำคัญใครที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม หรือบ้านเสี่ยงต่อน้ำท่วมน้ำ สามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปทำตามกันได้นะคะ เชื่อว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้พวกเรารับมือกับทั้งน้ำท่วมและโรคที่จะมากกับน้ำได้อย่างแน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก

5 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ต้องรู้จัก และการเอาตัวรอดฉบับหนูน้อย

ระวัง!!! โรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มาช่วงหน้าฝน รักษาผิดวิธีเสี่ยงเสียชีวิตสูง

ที่มา : www.dailynews.co.thwww.thairath.co.th

บทความโดย

Kanjana Thammachai