X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีรับมือเมื่อ น้ำท่วม ทำยังไงให้ปลอดภัย พร้อมวิธีช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

บทความ 5 นาที
วิธีรับมือเมื่อ น้ำท่วม ทำยังไงให้ปลอดภัย พร้อมวิธีช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

เตรียมตัวรับมือเมื่อน้ำท่วม พร้อมวิธีช่วยเหลือเมื่อเด็กจมน้ำ

เตรียมความพร้อม รับมือเมื่อ น้ำท่วม ควรทำอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด หากลูกจมน้ำขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร ? วันนี้เรามีเคล็ดลับ การเอาตัวรอดเมื่อเกิดน้ำท่วม หรือน้ำป่าไหลหลากมาฝาก ไปดูกันเลย

 

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนน้ำมา

หากคุณทราบว่าพื้นที่ของคุณ หรือบริเวณใกล้เคียงของคุณ กำลังเกิดเหตุน้ำท่วม หรือมีรายงานว่า เริ่มมีน้ำท่วมเข้ามาบ้างแล้ว ให้คุณเตรียมตัวไว้ทันที ดังนี้

  • ตรวจสอบข้อมูลเรื่องน้ำท่วมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อม
  • วางแผน และตรวจสอบสถานที่ สำหรับการอพยพ
  • เตรียมอุปกรณ์สื่อสาร แบตเตอรี่สำรอง ไฟฉายพร้อมถ่าน
  • จัดหาวัสดุสำหรับการอุดปิด ป้องกันบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน ให้พร้อม
  • ขนย้าย หรือนำยานพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ ที่น้ำไม่สามารถท่วมถึงได้
  • ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงทันที หากเป็นของใช้ที่มีขนาดใหญ่ ควรหาอิฐ หรือไม้หนุนให้สูงจากพื้น
  • บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อฉุกเฉิน
  • เตรียมถุงยางชีพให้พร้อม บรรจุของใช้ที่จำเป็นพร้อมสะเบียงอาหาร ยาประจำตัว ควรเตรียมไปเผื่อไว้สำหรับ 3 วัน ในกรณีที่ต้องอพยพจากพื้นที่เดิม
  • เก็บของมีค่าในที่ที่ปลอดภัย ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • ให้คำแนะนำแก่คนในครอบครัว ลูกหลาน เช่น ไม่แตะเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากอาจทำให้เกิดการช็อต หรือไฟฟ้ารัดวงจรได้ และแจ้งสถานที่ที่ต้องการนัดพบ เมื่อเกิดการพลัดหลงกัน

 

น้ำท่วม

เตรียมตัวให้พร้อม

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อน้ำท่วม

หากอยู่ในบ้าน

  • ติดตามข่าวสาร คำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช็คข่าวสาร
  • ทำร่างกายให้อุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองเจ็บป่วย
  • ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท ตัดระบบไฟฟ้าทุกอย่าง ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้านทันที และห้ามสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้
  • ระวังเชื้อโรคที่มากับน้ำ สัตว์มีพิษ ไม่ควรลงไปเล่นน้ำเมื่อน้ำท่วม เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคที่มากับน้ำได้ และยังมีสัตว์ดุร้าย มีพิษอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น งู ตะขาบ แมงป่อง อย่างเปิดประตูหน้าต่าง เพราะสัตว์พวกนี้จะเข้ามา
  • เดินอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีเศษวัสดุที่ลอยมากับน้ำ
  • ห้ามกินทุกอย่างที่สัมผัสกับน้ำเด็ดขาด เพราะอาจติดเชื้อได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?

 

หากอยู่นอกบ้าน

  • ห้ามเดินทางไปเส้นทางที่มีน้ำท่วม หรือน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากกระแสน้ำแรง อาจพัดไปได้ หากจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ใช้ไม้จุ่ม เพื่อวัดระดับของน้ำก่อนทุกครั้ง
  • ห้ามขับรถไปในพื้นที่เกิดน้ำท่วม เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ที่จะจมน้ำ นอกจากทำให้รถเสียหายแล้ว อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า เนื่องจากตามจุดพวกนี้ อาจมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ทำให้เกิดไฟดูดได้

 

น้ำท่วม

น้ำท่วมน้ำป่าไหลหลาก

 

หากสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นควรทำอย่างไร ?

  • เดินสำรวจบริเวณตัวบ้าน และรอบบ้าน เช็กสายไฟฟ้า ถังแก๊ส หากเกิดการรั่วไหล ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  • ตรวจสอบความเสียหายของบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สร้างความอบอุ่น และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะครอบครัวเป็นยาที่ช่วยเยียวยารักษาได้ดี
  • พูดคุยเกี่ยวกับปัญหา เพื่อน ครอบครัว เพื่อเป็นที่ระบาย และช่วยผ่อนคลายได้ดี
  • ดูแลเด็ก ๆ ให้ดี และเอาใจใส่เด็ก เนื่องจากเด็กก็จะมีความกลัวไม่แพ้กัน อย่าดุด่า หรือต่อว่า หากเด็กทำพฤติกรรมแปลก ๆ หลังจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป่ง เกาะติดผู้ใหญ่ตลอดเวลา ดูดนิ้ว เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่หวาดกลัว และเด็กเพิ่งเคยเจอเหตุการณ์รุนแรงเป็นครั้งแรก
  • ระวังเรื่องสุขอนามัย และโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า แมลงสัตว์กัดต่อย หรือท้องร่วง

 

เบอร์โทรฉุกเฉินเมื่อน้ำท่วม

  • ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โทร 1784
  • ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หรือ 0-2591-9769
  • สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 0-2398-9830

 

น้ำท่วม

ช่วยเหลือเด็กจากน้ำท่วม

 

วิธีป้องกันลูกจมน้ำ จากเหตุการณ์น้ำท่วม

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบาย หรือบอกลูก ดังนี้

  1. ไม่ลงไปเล่นน้ำ บริเวณที่มีน้ำขัง หรือแม้แต่ในกะละมัง เนื่องจากจะมีเชื้อโรคทำให้ป่วยแล้ว อาจจมน้ำและเสียชีวิตได้
  2. ดูแลเด็ก ๆ อย่าใกล้ชิด เฝ้าระวังความพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ติดป้าย หรือสัญลักษณ์ให้ชัดเจน
  3. สำรวจและเฝ้าระวังพื้นที่บริเวณบ้านรอบบ้าน
  4. คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะไม่ได้สติ
  5. และหากผู้ปกครองคนไหนทำอาชีพทางน้ำ หากปลา ควรเตรียมความพร้อมของร่างกาย ดังนี้
    • ไม่เดินทางไปคนเดียว
    • ไม่ไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย
    • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
    • เตรียมอุปกรณ์ลอยน้ำได้ติดตัวไปด้วย
    • ตื่นตัวตลอดเวลา เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ
    • ไม่ควรลงเล่นน้ำที่เชี่ยว
    • หากพาเด็กไปด้วย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำ หรือปล่อยให้เด็กหาปลากันเองตามลำพัง
  6. พกยาจำเป็น หรือยาประจำตัวติดตัวไว้ด้วยเสมอ

 

หากเด็กจมน้ำควรทำอย่างไร ?

  • ตั้งสติ หลีกเลี่ยงการลงน้ำไปช่วย
  • หาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อยึดเหนี่ยวในการช่วยเหลือ และควรใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
  • หากไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ ควรคำนึงว่า สามารถลงไปช่วยเหลือได้ตัวเองหรือไม่ หากไม่ได้ต้องรีบร้องขอความช่วยเหลือ
  • หากต้องลงไปช่วย ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับการช่วยลงไปด้วย
  • เมื่อช่วยขึ้นมาได้แล้ว ห้ามจับคนจมน้ำพาดบ่าเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้
  • ตะโกนขอความช่วยเหลือ และวางคนที่จมน้ำนอนราบ ตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก ช่วยให้หายใจโดยวิธีการผายปอด เป่าลมเข้าทางปากติดต่อกันหลายครั้ง และถ้าหัวใจหยุดเต้นกดหน้าอกทันที
  • กดบริเวณหน้าอกประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว 100 ครั้ง/นาที กด 30 ครั้ง/รอบ สลับกับการเป่าปากให้ครบ 5 รอบ
  • แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรแจ้ง 1669 ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประสบการณ์ลูกจมน้ำ วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ แบบไหนที่ห้ามทำเด็ดขาด

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ  :

หน้าฝน น้ำท่วม น้ำขัง ต้องระวัง! 3 โรคร้ายทำร้ายลูก

ให้ลูก เรียนว่ายน้ำ ที่ไหนดี รวมโรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก ราคาไม่แพง

เด็กจมน้ำ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้จมน้ำ และขั้นตอนการช่วยเหลือ

 

ที่มา : 1 , 2

 

บทความจากพันธมิตร
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • วิธีรับมือเมื่อ น้ำท่วม ทำยังไงให้ปลอดภัย พร้อมวิธีช่วยเหลือเด็กจมน้ำ
แชร์ :
  • เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

    เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

  • ป้ายยา 10 หน้ากากอนามัย ลดสิว สวมใส่สบาย สิวไม่ขึ้น ไม่ระคายเคืองผิว

    ป้ายยา 10 หน้ากากอนามัย ลดสิว สวมใส่สบาย สิวไม่ขึ้น ไม่ระคายเคืองผิว

  • 10 Setting Spray ยี่ห้อไหนดี ล็อกเครื่องสำอางติดทน เมคอัพติดแน่น ไม่หลุด !

    10 Setting Spray ยี่ห้อไหนดี ล็อกเครื่องสำอางติดทน เมคอัพติดแน่น ไม่หลุด !

  • เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

    เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

  • ป้ายยา 10 หน้ากากอนามัย ลดสิว สวมใส่สบาย สิวไม่ขึ้น ไม่ระคายเคืองผิว

    ป้ายยา 10 หน้ากากอนามัย ลดสิว สวมใส่สบาย สิวไม่ขึ้น ไม่ระคายเคืองผิว

  • 10 Setting Spray ยี่ห้อไหนดี ล็อกเครื่องสำอางติดทน เมคอัพติดแน่น ไม่หลุด !

    10 Setting Spray ยี่ห้อไหนดี ล็อกเครื่องสำอางติดทน เมคอัพติดแน่น ไม่หลุด !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว