ความรุนแรงภายในโรงเรียน นับว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าหากเกิดการเพิกเฉยขึ้น อาจจะกลายเป็นว่า โรงเรียนไม่ใช่เซฟโซน ดังเช่นกรณีของครอบครัวเหยื่อชาวจีนรายนี้ก็ได้ค่ะ
มีคุณพ่อท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความลงบน Weibo โดยทำการตั้งโพสต์เป็นสาธารณะ เล่าเรื่องราวความทุกข์ใจของครอบครัวไว้ โดยได้อ้างว่า ลูกสาววัย 16 ปี ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ถูกรังแกมาเป็นเวลานาน โดยนักเรียนหญิงรุ่นเดียวกันถึง 3 คน
คุณพ่อได้ระบุว่าลูกสาวของเขาถูกบังคับให้คุกเข่าตบตัวเอง แก้ผ้า เตะหน้าอก และทำร้ายด้วยวิธีการโหดร้ายอย่าง “เอาตะเกียบแทงอวัยวะเพศ”
พ่อของเหยื่อเล่าอย่างขมขื่นว่า “ผมไม่รู้ว่าความเกลียดชังมากมายขนาดไหน ที่ทำให้นักเรียนหญิงอายุ 17 ที่เรียนอยู่แค่ ม.ปลายปี 3 คน ทำสิ่งที่โหดร้ายและเลวทรามเช่นนี้กับลูกสาวของผม หรือความล้มเหลวเป็นความล้มเหลวในสถาบันครอบครัวและสถานศึกษา”
นอกจากนี้ คุณพ่อยังบอกอีกว่า ลูกสาวถูกคุกคามห้ามไม่ให้บอกครอบครัวและครู หากมีคนรู้เรื่องเพิ่มขึ้นจะถูกทำร้ายกว่าเดิม จนกระทั่งพ่อแม่มาจับได้เอง ทำให้คุณแม่ถึงกับล้มทั้งยืน และเมื่อทราบเรื่องพร้อมแจ้งไปยังครูประจำชั้น กลับไม่มีมาตรการในการลงโทษใด ๆ ทำให้ครอบครัวตัดสินใจแจ้งตำรวจเพื่อเอาผิด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
หลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไป 1 อาทิตย์ โรงเรียนยังคงปัดความรับผิดชอบ และไม่มีการลงโทษคนผิดแต่อย่างใด ผู้กระทำผิดทั้งสามยังสามารถไปเรียนได้ตามปกติ แม้ว่าแม่ของเหยื่อจะคุกเข่าหน้าโรงเรียน ร้องไห้ด้วยความแค้นใจมากเพียงใด โรงเรียนก็ยังเมินเฉยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว คุณพ่อผู้เล่าเรื่องราวจึงหวังว่า กระแสสังคมจะให้ความสนใจในเรื่องนี้มาก ๆ เพื่อให้คนที่ทำผิดได้รับโทษตามสมควร
ทั้งนี้หลังจากที่มีการเผยแพร่โพสต์ดังกล่าว ตำรวจและโรงเรียนได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว กำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเจ้าหน้าที่ได้เปิดเผยว่า “เนื่องจากทั้งสองฝ่ายในเหตุการณ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายละเอียดของเหตุการณ์ดังกล่าวจึงไม่สามารถเปิดเผยได้ เพื่อปกป้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”
โรงเรียนไม่ใช่เซฟโซน เพราะอะไร ?
นักจิตวิทยาด้านเด็กให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เรื่องของการถูกกลั่นแกล้งภายในโรงเรียน มักมาจากความแตกต่างทางลักษณะภายนอก เช่น สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ เด็กที่มีพัฒนาการช้า เด็กที่ขี้อาย หรือเด็กที่มีความรู้สึกไม่ตรงกับเพศสภาพ และการถูกกลั่นแกล้งหรือบูลลี่นั้น มักจะมาจากเด็กที่มองว่าเรื่องของการใช้ความรุนแรงในทุกด้าน ไม่ใช่เรื่องที่ผิด จึงเกิดเป็นการกลั่นแกล้งให้เห็นตามพื้นที่สื่อ
ต้องพึงเข้าใจก่อนว่า พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กแต่ละคน อาจได้รับต้นกำเนิดมาจากครอบครัว เพราะได้รับการซึมซับมาตั้งแต่ต้น และยังไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่าเป็นเรื่องสมควรหรือไม่ จึงเกิดเป็นความเชื่อและพฤติกรรมผิด ๆ โดยที่เหยื่อที่ถูกกระทำ ก็ไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือจากใครได้ เนื่องจากการถูกข่มขู่หรือคุกคาม อีกทั้งเมื่อพูดกับอาจารย์หรือขอคำปรึกษา กลับได้การเยียวยาที่มองเห็นเพียงเป็นการเล่นกันในกลุ่มเด็ก
จึงเกิดเป็นวัฏจักรที่ว่าเข้าใจผิดจนไม่สามารถแยกแยะสิ่งถูกผิดได้ โดยความผิดพลาดของสังคมไทยที่มักให้คำนิยามแก่บุคคลที่มักทำสิ่งไม่ดี แต่เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าเป็นเน็ตไอดอล อาจทำให้เด็กที่ยังขาดวุฒิภาวะเข้าใจผิดได้ว่า การกระทำเช่นนี้แม้จะเป็นสิ่งที่ผิดในสายตาผู้ใหญ่ แต่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นไอดอล
สาเหตุของความรุนแรงในโรงเรียน
1. ความรุนแรงที่เด็กกระทำต่อเด็ก
เกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกต้อง เช่น เติบโตในครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก จนเด็กเกิดการจำและลอกเลียนแบบพฤติกรรม จนนำความรุนแรงมาใช้กับสังคม หรือเด็กที่มาจากครอบครัวที่แตกแยก เด็กถูกทอดทิ้งให้อยู่กับญาติที่ไม่ได้ให้ความรัก และการเอาใจใส่เท่าที่ควร เด็กจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย จนเด็กมีความเครียดสะสม กลายเป็นคนก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในที่สุด
การเสพสื่อที่มีเนื้อหาใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์ เมื่อเนื้อหาที่รุนแรงถูกถ่ายทอดไปเรื่อย ๆ เด็กเสพสื่อจนเกิดความเคยชิน จนไม่รู้สึกผิดที่จะใช้ความรุนแรง และเกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบในที่สุด
2. ความรุนแรงที่ครูกระทำต่อเด็ก
- ครูมีความผิดปกติในด้านจิตใจและอารมณ์
เมื่อเกิดความเครียดก็มาระบายอารมณ์ลงที่เด็ก ด้วยการด่าว่า การตี และการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง หรือ การกระทำอื่น ๆ ที่มีพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่จะกระทำต่อเด็ก
- ครูขาดทักษะในการจัดการปัญหาเด็ก
โดยส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการลงโทษด้วยการตี เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลในการทำให้เด็กเชื่อฟัง ยิ่งไปกว่านั้นสังคมไทยยังยกย่องเชิดชูครูให้มีฐานะสูงกว่านักเรียน เพราะถือว่าเป็นผู้ให้ความรู้ ผู้ปกครองยังให้สิทธิครูในการช่วยอบรมสั่งสอน ด้วยแนวคิดนี้จึงนำมาซึ่ง อำนาจของครูในการตัดสินลงโทษเด็กได้ตามคตินิยมสมัยก่อนที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูก (ศิษย์) ให้ตี
ผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อเด็ก
1. บาดแผลทางอารมณ์
เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกทอดทิ้ง จะมีความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ภายในใจ เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า โทษตัวเองว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรง เด็กจะขาดความเชื่อใจคน จะรู้สึกสิ้นหวังและเต็มไปด้วยความเกลียดชัง มีแนวโน้มในการทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ
2. บาดแผลทางร่างกาย
เด็กที่ถูกทำร้ายจะมีบาดแผลและรอยฟกช้ำตามร่างกาย ในบางกรณีอาจมีการแตกหักของกระดูก เช่น แขนหรือขาหัก จนมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมา ในกรณีที่บาดเจ็บสาหัสก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
3. ผลกระทบในระยะยาว
จากการสำรวจพบว่า เด็กที่ถูกทำร้ายไม่ว่าจะทางใด มีแนวโน้มที่มีการศึกษาต่ำ เพราะอาจเลิกเรียนกลางคัน ในระยะยาวจะมีอาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า จากการสำรวจยังพบว่า ผู้ที่มีประวัติถูกทำร้ายและใช้ความรุนแรงในวัยเด็ก เมื่อโตขึ้นมีความเป็นไปได้ที่จะก่ออาชญากรรมร้ายแรง
4. ผลกระทบต่อครอบครัว
ครอบครัวที่มีสมาชิกตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง จะมีปัญหาในการรับมือกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเหยื่อ เช่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือ พฤติกรรมปิดกั้นตนเองจากสังคม เป็นต้น
เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว เพื่อน โรงเรียน ไม่ว่าจะจากสถานที่ไหน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นบาดแผลที่ไม่สามารถลบได้ บางรายอาจจะเป็นฝันร้ายจนถึงขั้นไม่สามารถเข้าสังคมได้ เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน ทุกคนต้องช่วยกันสอดส่องเพิ่มขึ้น หากเกิดความเปลี่ยนแปลงกับลูก ต้องถามและไม่มองข้ามว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
หากครอบครัวเลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาที่เด็กเจอ อาจจะต้องพบทางเลือกที่ไม่พึงต้องการได้ ถ้าหากโรงเรียนไม่มีแผนกจิตวิทยาเพื่อบำบัดจิตใจของเด็ก ครอบครัวควรพาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาจิตใจของเด็กที่ประสบปัญหา เพื่อการช่วยเหลือที่ทันท่วงที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
จิตแพทย์แนะนำ! วิธีป้องกันและช่วยเหลือ เด็กก่อความรุนแรง
ขำไม่ออก! หนุ่มตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด ปรึกษาชาวเน็ต เจอคำเตือนระวังมะเร็งอัณฑะ!
เด็ก 1 ขวบ วิ่งร้องไห้ตามหาพ่อข้างถนน พลเมืองดีเตือน อาจไม่โชคดีทุกครั้ง!
ที่มา : sanook, trueid
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!