การคุกคามทางเพศ นับเป็นเรื่องสำคัญที่กลายเป็นปัญหาในสังคม เมื่อบางคนบางกลุ่ม ล้ำเส้นในสิทธิของผู้อื่น จากการบูลลี่โดยไม่คิด และตบท้ายด้วยคำว่าหยอก ๆ จนกลายมาเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งคำถาม ว่าเป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่รู้จัก หรือการลงรูปในพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะได้รับคอมเมนต์ที่ไม่เหมาะสม อย่างคำว่า “โหนกจังครับ” การคอมเมนต์ของผู้ชายต่อหญิงสาวรายหนึ่ง กลายเป็นเรื่องเดือดในทวิตเตอร์วันนี้
เรื่องราวนี้ได้รับการถ่ายทอดจากผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่ง โดยเจ้าตัวได้เปิดเผยว่า เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตนเอง หลังจากได้โพสต์รูปตัวเองสวมชุดว่ายน้ำวันพีช แล้วมีผู้ชายคนหนึ่งมาคอมเมนต์ว่า… “โหนกจังครับ” โดยที่เธอไม่ได้รู้จักกับคนคอมเมนต์มาก่อน จึงตอบคอมเมนต์นั้นไปว่า ไม่โอเค จากนั้นคนนั้นก็ลบคอมเมนต์ทิ้ง
ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เจ้าของเรื่องรู้สึกว่า การกระทำดังกล่าวนับเป็นการคุกคามทางเพศ หรือเป็น Sexual Harassment แบบหนึ่ง จึงได้ทำการตรวจสอบว่าคนนี้เป็นใคร จนทราบมาว่าคนนี้อยู่มหาวิทยาลัยเดียวกัน มีเพื่อนร่วมกันในเฟซบุ๊กจริง แต่เป็นคนที่ไม่รู้จักเท่าไร จึงได้ทักแชคส่วนตัวไปหา และพยายามอธิบายว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม
บทความที่น่าสนใจ : หยุด! คุกคามทางเพศ ผ่านสื่อออนไลน์ พบติดคุก 1 เดือน ปรับ 10,000 บาท
ตอนแรกผู้ชายคนนั้นเข้ามาอ่านแชต แต่ไม่ตอบ แล้วปิดเฟซหนีไป จากนั้นเข้ามาตอบในลักษณะกวนๆ อาทิเช่น
- sexual harassment คืออะไร แปลไม่ออก
- คนสวย อารมณ์รุนแรงจัง // ยิ้มบ้างก็ได้นะ
- กินกาแฟมั้ย ผมเลี้ยง
- ที่โน่นรถติดมั้ยครับ
- เพิ่งจะทุ่มครึ่งเอง ไปดื่มเบียร์เย็นๆ น่าจะดี ฯลฯ
ซึ่งจากการใช้ความใจเย็นเพื่อพูดคุยอย่างไร ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่มีท่าทีสำนึกผิด และยังคงต้อบคำถามในรูปแบบกวน ๆ ต่อไปอย่างไม่หยุด ผู้เสียหายจึงมีความคิดว่า คุยไปก็เสียเวลาเปล่า เปลี่ยนการกระทำที่ชวนหงุดหงิดนี้ เป็นการเขียนอีเมลหาฝ่ายบุคคลของบริษัทที่ผู้ชายทำงานอยู่ พร้อมกับเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเล่าถึงการกระทำในอีเมลฉบับดังกล่าว
ก่อนที่จะได้รับการติดต่อกลับจากทาง HR Manager หรือฝ่ายบุคคลของบริษัท ที่ได้ตอบอีเมลกลับมา โดยได้ระบุว่า “เสียใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และการคุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องที่จะยอมรับได้ บริษัทจะดำเนินการตามระเบียบ หากผู้เสียหายยังติดใจเอาความ พนักงานคนดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบเองเป็นการส่วนตัว พร้อมสั่งให้สอบสวนเรื่องราวอย่างเร็วที่สุดด้วย”
เจ้าของเรื่องจึงนำเรื่องราวนี้มาแชร์ในทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยที่ไม่ได้มีเจตนาต้องการให้ผู้กระทำโดนไล่ออกหรือเป็นคดีความ เพียงแต่อยากให้คนที่ใช้โซเชียลมีเดียได้รับรู้ว่า “เรื่องแบบนี้ หรือการกระทำแบบนี้ไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม พร้อมทั้งอยากให้คนที่โดนกระทำอยากเพิกเฉย และคิดว่าตัวเองสมควรโดน ไม่เช่นนั้นคนที่ทำยิ่งได้ใจ” อีกทั้งยังอยากให้เรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้คนคิดก่อนทำ
ซึ่งในการกระทำครั้งนี้ เข้าข่ายกับการ Cyber Sexual Harassment หรือ การลวนลามทางเพศบนโลกออนไลน์ คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันพฤติกรรมคุมคามทางเพศผ่านสังคมออนไลน์สามารถพบเห็นไปแทบทุกช่องทาง เนื่องจากโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในสังคม และไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ ทำให้การกระทำความผิดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เพราะผู้กระทำความผิดสามารถ ลบทำลายหลักฐานบนโซเชียลมีเดียได้ ทำให้ยากในการติดตาม และยังมีแนวคิดบางส่วนมองว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการพูดเล่น พูดติดตลก หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก “เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพราะเราต่างไม่รู้จัก” ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก
Sexual Harassment คืออะไร?
การกระทำที่มีเจตนาไม่ดีต่อเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกันเพื่อผลประโยชน์ในการร่วมรัก โดยการสัมผัสร่างกายผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับการยินยอม ถือว่าเป็นการคุกคามทางเพศที่เห็นได้ชัดที่สุด การสัมผัสร่างกายหมายถึง การจับ การลูบคล้ำอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น การโอบไหล่ โอบเอว แม้กระทั่งการจับเส้นผม หรือการตีเบา ๆ บริเวณร่างกายของผู้อื่น ก็ถือได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศเช่นกัน การกระทำดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบของหลายประการ ดังนี้
- มุกตลกเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือ การพูดล้อเลียนเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วสังคมไทยมักมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะคิดว่าเป็นเพียงการเล่นสนุกกับมุกตลกเท่านั้น ไม่ได้เป็นการสร้างความรุนแรงขนาดนั้น
- ข้อความแทะโลมบนอินเทอร์เน็ต การคุกคามทางเพศที่มาในรูปแบบการพิมพ์บนสื่อออนไลน์แบบใดก็ตาม จัดเป็นหนึ่งในการคุกคาม แม้เจ้าตัวจะลงด้วยความสมัครใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถคอมเมนต์อย่างไรก็ได้ตามใจชอบ
- คำพูดแทะโลมให้อับอาย คือหนึ่งในการคุกคามที่ใช้คำพูด หรือการพูดจาที่ส่อไปในเชิงชู้สาวต่อคนอื่น ทั้งหมดเป็นหนึ่งในการคุกคามที่ทำให้เหยื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- เปิดของลับให้คนอื่นดู หนึ่งในการคุกคามทางเพศอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะอวัยวะเพศนับเป็นของสงวนที่ไม่ควรเปิดเผยให้ผู้อื่นด้วยในพื้นที่สาธารณะ และไม่ควรตั้งใจหรือเจตนาที่จะเปิดให้ผู้อื่นดู
- แกล้งเปลื้องผ้าเหยื่อโดยไม่ยินยอม เป็นการคุกคามที่เหยื่อส่วนใหญ่โดนจะเป็นในพื้นที่โรงเรียน และมักเป็นคนที่อายุน้อยกว่าหรือดูไม่มีทางสู้ทั้งนั้นที่โดนกระทำใส่ การกลั่นแกล้งด้วยการถอดเครื่องสวมใส่ต่าง ๆ
รู้หรือไม่ว่า การคุกคามทางเพศ บนสื่อออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียอื่น รวมไปถึงการกระทำที่มีลักษณะเข้าข่ายล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้ผู้เสียหายได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของผู้ที่อยู่ในกลุ่มไลน์นี้ ก็จะมีความผิดในแง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนก็จะรีบดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทิ้งท้ายว่า “ขอฝากแนวทางการหลีกเลี่ยงป้องกันถ้อยคำที่ส่อไปถึงการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ว่าควรเก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์, เคารพสิทธิของผู้อื่นอยู่เสมอ มีสติทุกครั้งในการแสดงความคิดเห็น, ผู้ปกครองต้องคอยสอดส่องดูแลให้คำแนะนำในการใช้สื่อออนไลน์แก่บุตรหลาน และขอตักเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวให้หยุดการกระทำเสีย นอกจากนี้หากพบเห็นการกระทำดังกล่าว อย่าส่งต่อ อย่าแสดงความคิดเห็น อย่าไปยุ่งเกี่ยวไม่ว่าจะทางใด เพราะทุกคนต่างเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ บนสังคมออนไลน์ให้หมดไป”
บทความที่น่าสนใจ :
เด็กโดนทำร้ายร่างกาย สังเกตอย่างไร? ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าลูกโดนทำร้ายร่างกาย
Sexual Harassment เพราะการคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เรื่องตลก อย่าเพิกเฉย
เหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ คำสอนสำคัญที่ควรให้ลูกรู้จักตั้งแต่เด็ก
ที่มา : twitter.com, matichon.co.th, justicechannel.org
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!