X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากมีลูกแฝดแบบแม่ชม แม่โอป หมอบอกเลยว่า ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

บทความ 3 นาที
อยากมีลูกแฝดแบบแม่ชม แม่โอป หมอบอกเลยว่า ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

ใคร ๆ ก็อยากมีลูกแฝด น่ารักแพ็คคู่ คลอดทีเดียวได้ 2 คน (ขึ้นไป) แต่รู้กันหรือเปล่าว่า ตั้งครรภ์แฝด เป็นเรื่องยาก ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนตั้งครรภ์ ไปจนคลอด

ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

โดยทั่วไปการตั้งครรภ์ในมนุษย์จะมีเด็กทารกเพียงคนเดียวในครรภ์ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติกำหนดให้มีไข่ตกเพียงฟองเดียวในแต่ละรอบเดือน เมื่อสตรีตั้งครรภ์จึงมีโอกาสเป็นการตั้งครรภ์เดี่ยวมากที่สุด อย่างไรก็ตาม พบว่าส่วนน้อยประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีตั้งครรภ์ที่จะมีโอกาส ตั้งครรภ์แฝด

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรนั้น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่มีบุตรยาก ซึ่งรักษาด้วยการกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้วหรือฉีดน้ำเชื้อผสมเทียม จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้นชัดเจนกว่าคนทั่วไป

  • โดยภาพรวมการตั้งครรภ์เดี่ยวถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่า
  • ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
  • เด็กทารกมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า
  • มารดามีน้ำนมพอเพียงในการเลี้ยงบุตร
  • ทารกที่เกิดจากการตั้งครรภ์แฝดมักจะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ตัวเล็ก ขึ้นกับอายุครรภ์ที่คลอด และการเจริญเติบโตในครรภ์ของทารกด้วย

 

ฝาแฝดยิ่งมีมาก น้ำหนักทารกในครรภ์ (แต่ละคน) ยิ่งน้อย

ในกรณีตั้งครรภ์เดี่ยวน้ำหนักแรกคลอดของทารกอยู่ราวประมาณ 2800-3200 กรัม หากเป็นแฝดสอง ทารกแต่ละคนอาจมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 2000-2500 กรัม ยิ่งเป็นแฝดสาม แฝดสี่ หรือ แฝดห้า ยิ่งมีน้ำหนักตัวที่น้อย (น้ำหนักทารก 1500, 1000-1200, 600-1000 กรัม ตามลำดับ) และมีโอกาสปอดทำงานผิดปกติสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้  

การตั้งครรภ์แฝดจัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ สูติแพทย์ทั่วไปจึงต้องให้ความใส่ใจครรภ์แฝดเป็นพิเศษ และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ผมลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดนั้นเอง

 

การตั้งครรภ์แฝดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. แฝดเหมือน (จากไข่ใบเดียวกัน) เมื่อมีการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้วยังคงมีการแบ่งต่อเป็น 2 ตัวอ่อน ซึ่งจะมีหน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน แต่หากการแบ่งไม่สมบูรณ์จะเกิดเป็นแฝดติดกันได้
  2. แฝดไม่เหมือน (จากไข่คนละใบ) เกิดจากมีไข่ 2 ใบ ผสมกับอสุจิ 2 ตัว เสมือนพี่น้องท้องพร้อมกัน จึงมักเป็นแฝดที่มีหน้าตาคล้ายกัน อาจเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศก็ได้ ทางการแพทย์มีความจำเป็นต้องแยกชนิดแฝดให้ได้เพื่อการวางแผนดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

คุณแม่ท้องแฝดควรระวังสิ่งต่างๆ ดังนี้

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสแรก

  • มีโอกาสแท้งบุตรสูงกว่าปกติ ควรฝากครรภ์ให้เร็ว หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง คอยสังเกตหากมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือหน่วงท้องน้อยให้รีบมาพบแพทย์
  • มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าทั่วไป เนื่องจากฮอร์โมนตั้งครรภ์จะสูงขึ้นมากและรวดเร็ว ให้รับประทานอาหารอ่อน มื้อละน้อยแต่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุน เลี่ยงเครื่องดื่มน้ำอัดลม พักผ่อนให้เพียงพอ
  • มีความเสี่ยงของเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น ควรเน้นควบคุมอาหารให้ลดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรท เพิ่มโปรตีนที่ย่อยง่าย และผัก ควรจำกัดปริมาณอาหารให้พอดี ไม่มากจนเกินไป

 

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสที่สอง

  • จะมีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วและมากกว่าตั้งครรภ์เดี่ยว กล้ามเนื้อหลังและน่องจะแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดินนานๆ ควรนั่งพัก เปลี่ยนท่าหรืออริยะบทบ่อยๆ สามารถนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือประคบอุ่นได้ เพื่อลดอาการเมื่อยล้า
  • สังเกตลูกดิ้น เนื่องจากมีทารกหลายคน การนับจำนวนครั้งโดยรวมเหมือนทั่วไปจึงไม่สามารถบอกสุขภาพของเด็กทารกแต่ละคนได้ แต่ให้คุณแม่สังเกตให้ดี จะสามารถแยกแยะได้ว่าลูกคนไหนดิ้นโดยแบ่งเป็นส่วนของหน้าท้อง เช่น ด้านขวา ด้านซ้าย ด้านบน ด้านล่าง เป็นต้น

 

การดูแลครรภ์แฝด ไตรมาสที่สาม

  • ครรภ์แฝดมักจะพบเรื่องรกเกาะต่ำเพิ่มขึ้น อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้
  • ครรภ์แฝดจะพบครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าทั่วไป จึงต้องสังเกตเรื่องความดันโลหิตว่าสูงหรือไม่ ขาบวมมากขึ้นเยอะหรือไม่ ปวดศีรษะ จุกแน่นลิ้นปี่ ชายโครงบ่อยๆ หรือไม่

 

โดยรวมการตั้งครรภ์แฝดเป็นภาวะเสี่ยงทางสูติศาสตร์ที่สำคัญ แต่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน การดูแลเอาใจใส่จากมารดา และพบสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผ่านพ้นการตั้งครรภ์แฝดนี้ไปได้ และพร้อมที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่ต่อไป

 

ภาพจาก : www.facebook.com/OpalPanisaraOfficial/

และ https://www.facebook.com/Thunder-and-Storm-official-122879205031697/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“นมชมพู่” น้ำนมเหลืองหลังคลอด ของแม่ชมที่ป้อนให้สายฟ้า-พายุ อยากรู้มั้ย มีดียังไง

ถึงจะสีผิวต่างกัน แต่หนูก็เป็นฝาแฝดกันนะคะ

หมอโอ๊คให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา เป็นห่วงโอปอล์ ครรภ์เป็นพิษ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

 

บทความจากพันธมิตร
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อยากมีลูกแฝดแบบแม่ชม แม่โอป หมอบอกเลยว่า ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!
แชร์ :
  • ท้องแฝด เป็นแบบไหน ดูยังไง อาการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

    ท้องแฝด เป็นแบบไหน ดูยังไง อาการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

  • คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู

    คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ท้องแฝด เป็นแบบไหน ดูยังไง อาการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

    ท้องแฝด เป็นแบบไหน ดูยังไง อาการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

  • คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู

    คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว