เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมเด็กชอบ คาย หรือ พ่นอาหาร ? จริง ๆ แล้วพฤติกรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ก็อาจจะมีคุณแม่หลาย ๆ คนที่กำลังทุกข์ใจ ว่าจะทำยังไงให้ลูกหยุดพ่นและคายอาหารดี วันนี้เราได้รวบรวมวิธีรับมือกับปัญหานี้มาให้คุณแม่แล้ว อยากรู้ว่ามีวิธีไหนบ้าง ติดตามอ่านได้จากที่นี่เลยค่ะ

 

ทำไมเด็กชอบคายอาหาร

สาเหตุที่เด็กชอบคายอาหาร อาจมาจากหลาย ๆ ปัจจัย เด็กบางคนคายอาหารเพราะยังไม่ชินกับลักษณะหรือรสชาติอาหารที่กำลังรับประทาน ในขณะที่เด็กบางคน ก็อาจคายอาหารออกมาเพราะอาหารมีชิ้นใหญ่เกินไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เด็ก ๆ จะเริ่มคายอาหาร แค่ในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานธรรมดา ซึ่งหลังจากผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ เด็ก ๆ ก็จะเริ่มปรับตัวได้ แต่หากผ่านไปหลายสัปดาห์แล้ว เด็กยังคายหรือพ่นอาหารอยู่ ให้คุณแม่เข้าพบคุณหมอ เพื่อขอรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการป้อนอาหารเด็ก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

 

จะรับมือกับเด็กคายอาหารอย่างไร

เมื่อลูก ๆ เริ่มคายหรือพ่นอาหาร คุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ ไปใช้ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. อย่าแสดงท่าทีตกใจ

หากลูก ๆ ของเราคายอาหารออกจากปาก คุณแม่ไม่ควรตกอกตกใจใหญ่โต เพราะเด็กทารกบางคน ชอบคายอาหารเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หากเรานิ่งเสีย และทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็ก ๆ ก็จะรับรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ได้ และเขาก็จะเลิกทำในที่สุด

 

2. ใจเย็นเอาไว้

การที่เด็ก ๆ คายอาหารบ่อย ๆ อาจทำให้คุณแม่รู้สึกโกรธหรือรำคาญ แต่ก็ให้ข่มใจเอาไว้ก่อน เพราะการโมโหเด็กไม่ช่วยอะไร เพราะเด็กทารก ยังไม่สามารถเข้าใจอารมณ์ของผู้ใหญ่ได้มากนัก การที่คุณแม่ตะคอกหรือขึ้นเสียงใส่เด็ก อาจทำให้เด็ก ๆ ชอบใจมากกว่าเดิม เพราะเขาอาจจะคิดว่าเรากำลังเล่นกับเขา และเขาก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม ที่จะคายหรือพ่นอาหารออกมาแบบนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

3. ค่อย ๆ บอกเขาอย่างใจเย็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากเด็ก ๆ โตพอที่จะเข้าใจในสิ่งที่คุณแม่พูดได้แล้ว ให้ค่อย ๆ อธิบายให้เด็กฟัง ว่าการพ่นหรือคายอาหารไม่เหมาะสมอย่างไรบ้าง แต่หากเด็ก ๆ ยังเล็กอยู่เกินกว่าจะเข้าใจ ให้อาศัยการออกท่าทางเพื่อให้เด็กเข้าใจ หรือพยายามใช้คำศัพท์ง่าย ๆ เพื่ออธิบายเด็ก โดยในช่วงแรก ๆ เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณแม่ต้องการบอก แต่ก็ให้ลองบอกซ้ำ ๆ บอกบ่อย ๆ จนกว่าเด็กจะเข้าใจ

 

4. ให้เด็ก ๆ ทำความสะอาดบริเวณที่คายอาหารออกมา

หากเด็ก ๆ อยู่ในวัยที่สามารถหยิบจับของเองได้ ให้สอนเขาทำความสะอาดบริเวณที่เขาทำสกปรก เพราะหากเด็กรับรู้ว่าการพ่นและคายอาหาร ทำให้เขาต้องมานั่งทำความสะอาดเอง เขาก็คงจะไม่กล้าพ่นและคายอาหารออกมาอีก

 

5. ใช้ของเล่นล่อใจ

การใช้ของเล่นล่อเด็ก เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะทำกัน หากทารกน้อยไม่ยอมกลืนข้าว แถมยังชอบพ่นคายข้าวออกมา ให้ลองหลอกล่อเด็ก ๆ ด้วยของเล่นที่เขาชอบตอนที่ป้อนอาหารเขาอยู่ก็ได้ วิธีนี้จะช่วยดึงความสนใจเด็ก และทำให้คุณแม่ป้อนอาหารเด็กได้ง่ายขึ้น

 

6. ให้เด็กลองกินอาหารด้วยตัวเอง

หากเด็กหยิบจับอะไรได้เองเเล้ว คุณแม่ควรให้เด็กใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากเอง เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ และคิดว่าการตักอาหารเข้าปากนั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายและดูน่าทำสำหรับเขา จนลืมเรื่องคายอาหารไปสักพักใหญ่ ๆ เลย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูก คาย อาหาร อาจเพราะรู้สึกเครียด และอึดอัด ที่แม่นั่งจ้องหน้ามากเกินไป (รูปจาก shutterstock.com)

 

7. เปลี่ยนเมนูอาหาร

หากเด็ก ๆ พ่นคายอาหารติดต่อกันไม่ยอมหยุด ก็อาจเป็นไปได้ว่าเขาไม่ชอบรสชาติของอาหาร หรือรูปร่างของอาหารอาจจะยังไม่ดึงดูดใจเขามากพอ ดังนั้น คุณแม่ควรหาเมนูใหม่ ๆ ให้เด็กลองทาน หรืออาจจะลองตกแต่งจานอาหารสวย ๆ ใส่ผักที่มีหลาย ๆ สีลงไปในจาน เพื่อดึงดูดใจเด็ก ๆ ให้เขารู้สึกอยากทานอาหารมากยิ่งขึ้น

 

8. อาหารชิ้นใหญ่เกินไป

บางทีอาหารที่อยู่ในจานอาจจะมีชิ้นใหญ่เกินไป จนเด็กไม่สามารถเคี้ยวเองได้ เด็ก ๆ ก็เลยคายอาหารออกมา ซึ่งคุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าในจานอาหารของเด็ก มีอาหารอะไรที่ดูชิ้นใหญ่ไปบ้าง หากเด็กยังฟันขึ้นไม่ครบ ให้ทำเมนูที่ทานง่าย ๆ อย่างโจ๊ก ซุป หรือผักบดให้เด็กทานแทนจะดีกว่า

 

9. ยกจานอาหารไปไว้ที่อื่น

หากเด็กยังไม่เลิกคายอาหาร ให้คุณแม่ยกจานอาหารไปไว้ที่อื่นสักครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กรู้สึกหิว แล้วจึงเอากลับมาวางที่เดิม ทีนี้ ถ้าเด็กรู้สึกหิว โอกาสที่เด็กจะพ่นคายหรือเล่นกับอาหารก็คงจะมีน้อยลงแล้ว

 

10. ให้รางวัลเมื่อเด็กทำดี

ลองหาช่วงจังหวะที่เขาไม่พ่นอาหาร เพื่อให้คำชมหรือให้รางวัลกับเขา เพื่อให้เขารู้ว่า หากเขาตั้งใจรับประทานอาหารและไม่คายอาหารออกมา เขาก็จะได้รับคำชม และได้รับความสนใจจากคุณแม่ หากไม่มีรางวัลหรือขนมก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะแค่กอดหรือหอมเขา ก็ถือว่าเป็นรางวัลที่ดีที่สุดแล้ว

 

ลูก ๆ คาย อาหาร ไม่ใช่เรื่องอันตราย อาจเป็นเพราะอาหารชิ้นใหญ่ไป หรืออาหารไม่ถูกปาก (รูปจาก shutterstock.com)

 

11. เปลี่ยนสถานที่รับประทานอาหาร

บางทีเด็กก็อาจจะรู้สึกเบื่อบรรยากาศเดิม ๆ ในบ้าน ก็เลยไม่อยากกินอะไร หากบ้านมีระเบียง ให้ลองพาเด็ก ๆ มานั่งกินอาหารชมธรรมชาติที่ระเบียงบ้านได้ เพราะบรรยากาศนอกบ้าน จะช่วยดึงดูดความสนใจ และทำให้เด็กละสายตาจากอาหาร จนลืมที่จะคายหรือพ่นอาหารออกมา ซึ่งนี่ จะทำให้คุณแม่ป้อนอาหารเด็กได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

12. ทำให้การทานอาหารเป็นเรื่องสนุก

ก็เป็นไปได้ที่เด็ก ๆ จะรู้สึกอึดอัดหรือเครียด ที่คุณแม่ต้องมานั่งจ้องหน้าตอนกินข้าว หากรู้สึกว่าเด็ก ๆ กำลังเครียด ให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ ชวนเด็กเล่นของเล่น หรือจะให้เด็กเล่นเกมเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอนทานอาหารไปด้วยก็ได้ เพื่อให้เขาผ่อนคลายมากขึ้นจนยอมกินข้าว

 

13. กินอาหารไปพร้อม ๆ กับลูก

ว่ากันว่าพ่อแม่เป็นยังไง เด็กก็เป็นอย่างนั้น ถ้าลูกพ่นอาหารไม่ยอมกินข้าว ให้คุณแม่กินข้าวไปกับน้อง ๆ ทำให้เขาเห็นว่าเมื่อกินข้าว ควรทำตัวยังไง เพื่อที่เขาจะได้ซึมซับพฤติกรรมและเลียนแบบในทางที่ดี

 

นอกจากคุณแม่จะต้องจัดการกับนิสัยชอบคายหรือพ่นอาหารของลูก ๆ แล้ว ในอนาคต ก็อาจจะต้องเจอกับหลาย ๆ พฤติกรรมแสนซนลูกอีกมากมาย แต่ก็อย่าเพิ่งเหนื่อยหรือท้อไปนะคะ เมื่อเกิดปัญหา ให้ค่อย ๆ พูดและอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังอย่างใจเย็นจะดีกว่า เพื่อที่เขาจะได้เติบโตมาเป็นเด็กที่ไม่มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือจิตใจ และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง
ลูกไม่ยอมกินข้าว ทำไงดี กินยากเหลือเกิน?
ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

ที่มา : moms-den , news observer

บทความโดย

Kanokwan Suparat