X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เศร้า! หนูน้อยวัยเตาะแตะ สำลักชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมากับขนม จนเสียชีวิต

บทความ 5 นาที
เศร้า! หนูน้อยวัยเตาะแตะ สำลักชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมากับขนม จนเสียชีวิตเศร้า! หนูน้อยวัยเตาะแตะ สำลักชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมากับขนม จนเสียชีวิต

เหตุสลด เมื่อเด็กน้อยกลืนชิ้นส่วนของเล่นที่เป็นของแถมมากับขนม จนสำลักขั้นโคม่าและเสียชีวิต นอกจากต้องระมัดระวังดูแลลูกอย่างใกล้ชิด การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและเบอร์ฉุกเฉินคือสิ่งที่พ่อแม่ควรเตรียมตัวให้ดี

ขนมที่มีของแถมเป็นของเล่น เป็นที่นิยมและชื่นชอบของเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ทั้งในปัจจุบันและในอดีต สมัยที่คุณพ่อคุณแม่ยังเป็นเด็ก ก็คงจะตื่นเต้นและชื่นชอบกับเจ้าของเล่นที่ว่านี้อยู่ไม่น้อย จริง ๆ แล้วของเล่นชิ้นนี้ ถือเป็นของเล่นที่ธรรมดามาก เป็นเพียงไข่พลาสติกที่สามารถเปิดออกได้และภายในมีของเล่นชิ้นเล็ก ๆ บรรจุอยู่ แต่น่าเศร้าเมื่อมีรายงานจากสำนักข่าวของประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ผลิตของเล่นชิ้นนี้ คือ กลุ่ม Ferrero Group กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เนื่องจากมีเด็กหญิงอายุ 3 ขวบ ได้เสียชีวิตลง และมีสาเหตุการตายจากมีของเล่นชนิดนี้หลุดลงไปติดคอเด็กหญิงจนสำลัก ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

เชื่อว่าเด็กหญิงรายนี้นำของเล่นใส่ปากและเกิดร่วงหลุดลงคอไป ลักษณะของแข็งคล้ายล้อรถไปขวางทางเดินหายใจของหนูน้อย ถึงแม้ว่าคุณปู่ของหนูน้อยรายนี้จะสามารถนำชิ้นส่วนออกมาได้ แต่อาการของหนูน้อยเข้าขั้นโคม่า ซึ่งแพทย์กล่าวว่า หนูน้อยเสียชีวิต เนื่องจากการสำลักและขาดอากาศหายใจอย่างเฉียบพลัน

ถึงแม้ว่าจะมีฉลากติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ของของเล่นชิ้นนี้ ว่าไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พ่อแม่และผู้ปกครองยังคงขาดความระมัดระวัง ปล่อยให้ลูกได้เล่นของเล่นชิ้นนี้อยู่ ซึ่งความจริงแล้วของเล่นประเภทนี้ยังผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีข้อบังคับห้ามผลิตหรือจำหน่ายลูกอมพร้อมของเล่นของแถมเช่นนี้ด้วย

ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของเด็กเล็กแล้วนั้น เราควรเตือนตัวเองตลอดเวลาเกี่ยวกับการเลือกของเล่นให้ลูกว่ามีความปลอดภัยกับลูก ๆ ดีหรือไม่ ไม่ควรมองข้ามกับเรื่อง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ และต้อยคอยดูแลและระมัดระวังให้ดีเพื่อไม่ให้ลูกนำของเข้าปากและกลืนกินลงท้องไป

 

ทั้งนี้ เรามีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวหากเด็กมีอาการสำลัก เนื่องจากกลืนกินสิ่งแปลกปลอมลงไปจนขวางทางเดินหายใจ ดังนี้

ผู้ใหญ่และเด็กโต ให้ใช้ "วิธีรัดท้องอัดยอดอก" หรือ "รัดอัดท้อง" 

1.ผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วย ใช้แขน 2 ข้างโอบรอบเอวผู้ป่วย

2.ผู้ช่วยเหลือกำหมัดข้างหนึ่งวางบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อยใต้ต่อกระดูกอ่อน "ลิ้นปี่"

3.ผู้ช่วยเหลือใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ ทำการอัดเข้าท้องแรงๆ เร็วๆ ขึ้นไปข้างบน (ทำคล้ายกับจะพยายามยกผู้ป่วยขึ้น)

4.อัดหมัดเข้าท้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ

หมายเหตุ: สำหรับคนอ้วนลงพุง (ท้องโต) หรือหญิงตั้งครรภ์ ให้ใช้วิธี “อัดอก” โดยกำหมัดวางไว้กลางอกบริเวณราวนม แล้วใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ แล้วอัดอกแรงๆ เพื่อกระแทกมือที่กำหมัดไว้ให้กดกระดูกกลางอก เข้าไปในทรวงอกตรงๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนสิ่งแปลกปลอมหลุดหรือผู้ป่วยหมดสติ

สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ทำการช่วยเหลือดังนี้

1.จับทารกนอนคว่ำบนแขน ให้ศีรษะต่ำลงเล็กน้อย

2.ใช้ฝ่ามือตบลงตรงกลางหลังของทารก ระหว่างกลางของสะบัก 2 ข้าง เร็วๆ 5 ครั้ง

3.ถ้าไม่ได้ผล จับทารกนอนหงายบนแขนให้ศีรษะต่ำ แล้วใช้นิ้วชี้กับ นิ้วกลางวางบนกระดูกหน้าอกเหนือกระดูกลิ้นปี่ แล้วกดอกลง (สักครึ่งถึง 1 นิ้ว) เร็ว ๆ 5 ครั้ง

4.ถ้าไม่ได้ผล ให้ทำการ "ตบหลัง" 5 ครั้ง สลับกับ "กดหน้าอก" 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดหรือทารกหมดสติ

ขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน

ระหว่างที่ทำการปฐมพยาบาล อย่าลืมเรียกโทร.ตามหน่วยกู้ภัย หน่วยฉุกเฉินโรงพยาบาล หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือด้วยนะคะ

 

ดู เบอร์สายด่วนสำหรับเหตุฉุกเฉินกรณีต่าง ๆ หน้าถัดไปเลยค่ะ

และที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง ควรมีเบอร์สายด่วนสำหรับเหตุฉุกเฉินติดตัวและติดบ้านไว้อยู่เสมอ เพราะทันทีที่เราต้องการขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จะได้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างทันท่วงที อย่าลืมเซฟเก็บไว้เลยนะคะ!

สายด่วนสำหรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย

  • แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้ายทุกชนิด โทร. 191
  • แจ้งอัคคีภัย สัตว์เข้าบ้าน โทร. 199
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
  • สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
  • ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทร. 1192
  •  กองปราบปราม โทร. 1195
  • อุบัติเหตุทางน้ำ กองบัญชาการตำรวจ โทร. 1196
  • สายด่วนกรมเจ้าท่า, เหตุด่วนทางน้ำ โทร. 1199
  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  โทร. 02-241-2051
  • กรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
  • ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี โทร. 02-298-2387, 086-130-2386
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 1784

สายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉิน/กู้ชีพ/กู้ภัย

  • ศูนย์ประชาบดี แจ้งคนหาย โทร. 1300
  • ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
  • หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554
  • ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555
  • ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
  • ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทร. 192

สายด่วนสำหรับแจ้งเหตุหรือสอบถามเรื่องอื่น ๆ

  • สอบถามเวลามาตรฐานประเทศไทย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โทร. 02-577-5100
  • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โทร. 1545
  • สถานีวิทยุ จส.100 โทร. *1808 (ฟรี) หรือ 1137 (มีค่าบริการ)
  • สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร. 1644
  • สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
  • สมาคมเสริมสร้างครอบครัว โทร. 1761
  • ศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชนและสตรี โทร. 1192
  • ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร. 1359

ขอบคุณข้อมูลจาก เว๊ปไซต์กระปุก

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อมูลเพิ่มเติม คำแนะนำ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน

 

ที่มาจาก ph.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็กรอดพ้นอันตราย

ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เศร้า! หนูน้อยวัยเตาะแตะ สำลักชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมากับขนม จนเสียชีวิต
แชร์ :
  • ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
    บทความจากพันธมิตร

    ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด

  • พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

    พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

  • เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

    เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

app info
get app banner
  • ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
    บทความจากพันธมิตร

    ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด

  • พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

    พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

  • เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

    เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ