Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
To Do List คุณแม่ท้องแต่ละช่วง แต่ละไตรมาส เป็นอย่างไร ตั้งแต่แรกเริ่มที่รู้ว่าท้อง สิ่งที่แม่ท้องต้องจดเอาไว้ ต้องให้ความสำคัญเรื่องไหน อย่าลืมว่าต้องทำอะไร และเตรียมตัวอย่างไรเมื่อรู้ว่าท้อง
คุณแม่ท้องแต่ละช่วง ก็มี To Do List ที่ต่างกันไป เรามาเริ่มดูตั้งแต่คุณเริ่มรู้สึกถึงสัญญาณว่า เจ้าตัวเล็กได้มานอนอยู่ในท้องคุณแล้ว ต้องทำอย่างไร ?
เตรียมตัวอย่างไรเมื่อรู้ว่าท้อง
สัปดาห์ที่ 1-8
- ทดสอบการตั้งครรภ์ โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ ตรวจปัสสาวะ หากขึ้น 2 ขีด แม้จะจางมากๆ นั่นแสดงว่าคุณตั้งครรภ์แล้ว
- บอกข่าวดีกับสามีของคุณ เรามีไอเดียประกาศข่าวดีเมื่อตั้งครรภ์น่ารักๆ มากมาย คลิกที่นี่
- ตรวจสอบสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิฝากครรภ์ฟรี สิทธิข้าราชการ สวัสดิการพนักงาน และอื่นๆ
- เลือกสถานพยาบาลที่ต้องการฝากครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอดูแลครรภ์ของคุณแต่เนิ่นๆ
- ตรวจสุขภาพแม่ท้อง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อทารกหรือไม่
- คำนวณสภาพคล่อง ว่าการลาคลอดจะส่งผลต่อการเงินของคุณหรือไม่ เพราะในการลาคลอดนั้นบริษัทจะจ่ายค่าจ้างให้คุณเพียง 45 วัน และประกันสังคมจะจ่ายให้คุณในอัตราเหมาจ่ายเท่านั้น
- ประเมินค่าใช้จ่ายในการตรวจครรภ์แต่ละเดือนไปจนคลอด แพ็กเกจคลอดบุตร ค่าของใช้เจ้าตัวน้อย อย่าลืมเผื่อค่าใช้จ่ายในกรณีแม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือลูกต้องเข้าตู้อบด้วย
- นอกจากค่าใช้จ่ายแล้ว ต้องมีเงินเหลือเก็บด้วย ควรประเมินความสามารถในการออมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในอนาคตของเจ้าตัวน้อย และเริ่มต้นเก็บออมอย่างจริงจัง
วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ
สัปดาห์ที่ 8-12
- เตรียมตัวซื้อชุดคลุมท้อง ถ้าคุณรู้สึกว่าชุดที่มีอยู่เริ่มอึดอัด ควรเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าสำหรับแม่ท้อง และเพื่อความประหยัด อาจเลือกเป็นชุดที่สามารถให้นมได้สะดวกทีเดียวเลย
- พบแพทย์ตามนัดหมาย
- เก็บชิ้นเนื้อรกส่งตรวจ หรือที่เรียกว่า Chorionic Villus Sampling (CVS) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม แทนการตรวจน้ำคร่ำ สามารถตรวจได้เร็วกว่าการตรวจน้ำคร่ำแต่ไม่สามารถบอกโรคความพิการทางสมองได้
- หรืออาจ ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Nuchal translucency screening (NT scan)
To Do List คุณแม่ท้อง ไตรมาสสอง
แม่ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2
สัปดาห์ที่ 12-16
- บอกเจ้านายว่าคุณตั้งครรภ์
- วางแผนเคลียร์งาน และการส่งไม้ต่อให้เพื่อนร่วมงาน ในระหว่างที่คุณลาคลอด
- พบแพทย์ตามนัดหมาย
- แจ้งข่าวดีแก่เพื่อน และญาติๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละครอบครัว ว่าต้องการเก็บเป็นความลับก่อนหรือไม่
วิธีดูแลตัวเองตอนตั้งครรภ์ ไตรมาสสอง
สัปดาห์ที่ 16-20
- วางแผนการเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยเมื่อคุณต้องกลับไปทำงานหลังลาคลอด ให้คุณตาคุณยายเลี้ยง หรือจ้างพี่เลี้ยง หรือมองหาเนอสเซอรี่ที่ไว้ใจได้ ทั้งนี้ เนอสเซอรี่ชื่อดังหลายแห่งต้องจองล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ
- พบแพทย์ตามนัดหมาย
- อัลตร้าซาวนด์ เพื่อดูเพศทารก
- เจาะน้ำคร่ำ หรือตรวจ triple screen เพื่อคัดกรองดาวน์ซินโดรม
- คุยกับลูกในท้อง เปิดเพลงสบายๆ อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เมื่อทารกเริ่มพัฒนาการได้ยินประมาณสัปดาห์ที่ 18
สัปดาห์ที่ 20-28
- ตรวจปัสสาวะทุกครั้งที่ไปตรวจครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป เพื่อตรวจหาปริมาณน้ำตาล โปรตีน และแบคทีเรียในปัสสาวะ
- ฉีดวัคซีน Tdap เพื่อสร้างภูมิต้านทาน คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ไปสู่ลูก
- เตรียมคิดตั้งชื่อลูก
- เตรียมหาข้อมูลของใช้เด็กแรกเกิด
- พบแพทย์ตามนัดหมาย
To Do List คุณแม่ท้อง ไตรมาสสาม
ไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 28-32
- นับลูกดิ้นทุกวัน
- เข้าคลาสอบรมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีจัดอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง
- พบแพทย์ตามนัดหมาย คุณหมอจะนัดถี่ขึ้น เป็นสองครั้งต่อเดือน
สัปดาห์ที่ 32-36
- เริ่มซื้อของใช้เตรียมต้อนรับเจ้าตัวน้อย
- เตรียมตัดผมสั้น เพื่อง่ายต่อการดูแล เนื่องจากคุณแม่หลังคลอดจะทุ่มเวลาไปกับการดูแลลูกน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง และมักประสบปัญหาผมร่วงหลังคลอด จึงมักตัดผมก่อนคลอด
- จัดกระเป๋าเตรียมไปคลอด
- พบแพทย์ตามนัดหมาย สองครั้งต่อเดือน
- ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ Group B streptococcus ในช่วงสัปดาห์ที่ 35-37
สัปดาห์ที่ 36 – วันคลอด
- พบแพทย์ตามนัดหมาย ทุกสัปดาห์
- เตรียมซักเสื้อผ้า ผ้าอ้อม ทำความสะอาดของใช้ต่างๆ ให้เจ้าตัวน้อย
- สังเกตสัญญาณคลอด ได้แก่ มีมูกเลือดแสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว หากมีอาการน้ำเดินแสดงว่าถุงน้ำคร่ำแตก มดลูกหดรัดตัวถี่ทุก 5 นาที รีบคว้ากระเป๋าแล้วไปโรงพยาบาลได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้แสดงว่า คุณใกล้จะได้พบหน้าลูกน้อยแล้วล่ะค่ะ ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่คนใหม่ และขอให้การคลอดผ่านไปด้วยดี สุขภาพแข็งแรงทั้งคุณแม่และคุณลูกนะคะ
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
แหล่งอ้างอิง : https://www.healthline.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
แต่งตัวไปคลอด แบบไหนใช่ แบบไหนไม่ควร
เมนูปลาหลังคลอด เมนูปลาอะไรกินได้หลังคลอด กินแล้วดี