เรื่องการใช้ยาหรือกินยาในขณะในนมลูกนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อน จนสร้างความกังวลใจให้คุณแม่ให้นมอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ โดยเฉพาะยาที่เราอาจจะรู้สึกว่าสามารถเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ต่อร่างกายได้แม้ในคนปกติทั่วไปอย่าง “ยาแก้อักเสบ” ซึ่งบ่อยครั้งที่คุณแม่ให้นมบางคนมีอาการป่วยและจำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้ในการรักษา จึงเกิดเป็นคำถามว่า ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม ลูกจะได้รับผลกระทบอะไรผ่านทางน้ำนมหรือเปล่า เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันค่ะ
ปรับความคิด ลบความเข้าใจผิดเรื่อง “ยาแก้อักเสบ”
หนึ่งในความเข้าใจผิดของคุณแม่รวมถึงบุคคลทั่วไปคือเรื่องของ “ยาแก้อักเสบ” และ “ยาปฏิชีวนะ” หรือยาฆ่าเชื้อ (ในรูปแบบแคปซูลสีฟ้า-เขียว ซึ่งเราน่าจะคุ้นเคยกันดี) โดยยาทั้งสองนี้ “ไม่ใช่ยาตัวเดียวกัน” ซึ่งเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดนั้นไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจาก…
- การเรียกชื่อยาผิดแบบปากต่อปากแล้ว
- ผู้ป่วยไม่ได้ทราบว่าอาการที่เป็นอยู่เกิดจากสาเหตุอะไรแน่ เมื่อใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ จึงเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ซึ่งหากอาการป่วยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การกินยาฆ่าเชื้อเข้าไปก็จะช่วยรักษาให้หายได้ แต่ถ้าคิดว่าอาการที่เป็นคือ อักเสบทั่วไป เมื่อเภสัชกรจ่ายยาฆ่าเชื้อให้แล้วอาการดีขึ้น ก็เข้าใจผิดว่ายาที่กินเข้าไปคือ ยาแก้อักเสบ นั่นเอง
เห็นไหมคะว่า การใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนมากจริง ๆ เอาเป็นว่า มาดูความแตกต่างกันอย่างง่าย ๆ ตามตารางค่ะ
|
ความแตกต่างของ ยาแก้อักเสบ vs ยาปฏิชีวนะ
|
ยาแก้อักเสบ |
ยาปฏิชีวนะ |
- มีฤทธิ์ลดการอักเสบ บรรเทาปวด หรือลดบวม รวมถึงลดไข้ได้ด้วย เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคฟรีแนค
|
- ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน ลีโวฟลอกซาซิน
|
- ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือฆ่าเชื้อโรคอื่น ๆ
|
|
- ใช้สำหรับกรณีที่เกิดอาการข้างต้นเพราะบาดเจ็บจากการทำงาน เล่นกีฬา หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นการติดเชื้อ
|
- ต้องกินให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพราะการหยุดยาก่อนกำหนด อาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำ หรือเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อที่ยังรักษาไม่หายดี
|
- การกินยาแก้อักเสบ ให้กินและหยุดตามอาการ ถ้าอาการดีขึ้นแล้วสามารถหยุดกินได้ ไม่ควรกินต่อเนื่องในระยะยาว
|
- โรคหวัด อุจจาระร่วงเฉียบพลัน แผลสด ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
|
ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม อาการแบบไหนทำให้แม่ต้องกินยา
หากคุณแม่ให้นมมีอาการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ ท้องเสีย ปัสสาวะแสบขัด แผลอักเสบ ยาที่ได้รับจะเป็นยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียค่ะ ส่วนกรณีที่คุณแม่ต้องใช้ยาแก้อักเสบที่ให้ผลต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ไม่ใช่การติดเชื้อ มีดังนี้ค่ะ
- กล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบจากการยกของ เคล็ดขัดยอกจากการออกกำลังกาย
- มีไข้ หรือมีอาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
- ปวดประจำเดือน และปวดหลังการผ่าตัด
- การอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี
- เพื่อลดการอักเสบโดยตรง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม ส่งผลต่อน้ำนมและลูกน้อยหรือเปล่า
เนื่องจากลูกน้อยควรกินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และกินควบคู่กับอาหารหลักตามวัยไปจนถึง 2 ขวบ ดังนั้น ในช่วงระหว่างนี้ หากคุณแม่มีอาการป่วยและต้องกินยาแก้อักเสบ ก็เป็นธรรมดาที่จะกังวลว่ายาที่กินเข้าไปจะส่งผลต่อน้ำนมไหม ลูกจะได้รับผลกระทบจากการกินยาหรือเปล่า ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม
ต้องบอกว่า “กินได้ค่ะ” หากคุณแม่เพียงแค่เคล็ดขัดยอก มีไข้ ปวดศีรษะ หรืออาการที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยในกรณีที่คุณแม่ให้นมจำต้องใช้ยา ซึ่งส่วนใหญ่ถูกขับออกทางน้ำนมได้ แต่มักมีปริมาณต่ำและไม่เป็นอันตรายต่อทารกที่ดื่มกินแม่ คือน้อยกว่า 1% และน้อยกว่าระดับยาที่ใช้รักษาสำหรับทารก การใช้ยาในแม่จึงผลน้อยต่อทารก และมียาเพียงไม่กี่ชนิดที่ห้ามใช้ในช่วงที่ให้นม คุณแม่จึงไม่ควรเป็นกังวลมากเกินไปจนกินยาแล้วหยุดให้นมลูก หรือไม่ยอมกินยาเลย เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ หรือยาแก้อักเสบ (ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs)
|
ยารักษาตามอาการที่ปลอดภัยสำหรับแม่ให้นม
|
บรรเทาอาการปวดลดไข้ |
Paracetamol, Ibuprofen |
บรรเทาอาการหวัด ลดน้ำมูก |
Cetirizine, Loratadine |
บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก |
Pseudoephedrine |
บรรเทาอาการไอ |
Dextromethorphan |
บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน |
Domperidone |
ยาปฏิชีวนะ กับ แม่ให้นม
เมื่อตอบคำถามได้แล้วว่า ให้นมลูกกินยาแก้อักเสบได้ไหม คราวนี้เรามาดูกรณีแม่ให้นมกับยาปฏิชีวนะที่มักเข้าใจคลาดเคลื่อนกับยาแก้อักเสบกันบ้างค่ะว่ามีอะไรต้องใส่ใจหรือเป็นกังวลไหม ซึ่งในกรณีคุณแม่ให้นมมีอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียต่อไปนี้ เช่น
- แผลพุพองตามผิวหนัง
- ภาวะคออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโทค็อคคัส (Streptococcus)
- ภาวะหูชั้นกลางอักเสบ
- โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยกำจัดแบคทีเรียและป้องกันการติดเชื้อซ้ำในร่างกายค่ะ อย่างไรก็ตาม แพทย์และเภสัชกรจะเป็นผู้จ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณแม่ใช้ตามความเหมาะสม และในปริมาณที่ปลอดภัย โดยแพทย์จะต้องประเมินแล้วว่าการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นวิธีการรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุดแม้คุณแม่จะอยู่ในช่วงของการให้นมลูกน้อยก็ตาม
|
ยาปฏิชีวนะที่แม่ให้นมมักจำเป็นต้องกินเมื่อป่วย
|
กลุ่มเพนิซิลลิน
(Penicillin) |
รักษาการติดเชื้อ อาทิ
- การติดเชื้อในหู
- ติดเชื้อบนผิวหนัง
- ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- โรคไข้รูมาติก (Rheumatic Fever)
- โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคหนองใน
|
- ตัวยาชนิดนี้จะปนเข้าไปในน้ำนมแม่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แสบกลางอก ผิวช้ำง่าย มึนงง นอนไม่หลับ ท้องเสียติดต่อกันหลายวัน คัน หรือมีอาการลมพิษ
|
กลุ่มเซฟาโลสปอริน
(Cephalosporins) |
- รักษาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง หู ลำคอ ไต กระดูก
- ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
- โรคปอดอักเสบ
|
- ผลข้างเคียงในระหว่างการใช้ยา เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือรู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย ติดเชื้อราในปากหรือในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย
|
ยาอิริโทรมัยซิน
(Erythromycin) |
- ใช้รักษาการติดเชื้อในหู ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ และระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
- รักษาโรคคอตีบ
- โรคไข้รูมาติก
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- หลอดลมอักเสบ
- โรคลีเจียนแนร์ (Legionellosis)
- โรคไอกรน หรือโรคปอดอักเสบ
|
- ผลข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร อาเจียน อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสีย ปวดท้องหรือเกิดตะคริวที่ท้อง
|
ยาฟลูโคนาโซล
(Fluconazole) |
- รักษาการติดเชื้อราในช่องปากหรือลำคอ
- เชื้อราในช่องคลอด
- โรคหลอดอาหารติดเชื้อรา
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา (Fungal Meningitis)
|
- อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผื่น ผมร่วง เวียนหัว ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
|
หลักการเลือกใช้ยาที่แม่ให้นมต้องรู้
- ใช้ยาเมื่อจำเป็น
- เลือกยาที่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
- เลือกใช้ยาขนาดต่ำที่สุด และใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด
- เลือกยาใช้ภายนอก หรือสูดพ่น แทนการใช้ยาแบบกินหรือยาฉีด เพื่อไม่ทำให้ระดับยาในเลือดคุณแม่สูงเกินไป
- เลือกใช้ยาที่มีตัวยาสำคัญเพียงตัวเดียว
- หากจำเป็นต้องใช้ยาหลายครั้ง หรือใช้ยาที่ผ่านออกทางน้ำนมบ้าง เพื่อให้มีผลต่อลูกน้อยที่สุด มีข้อแนะนำการใช้ดังนี้ค่ะ
- ลดปริมาณยาที่ลูกอาจได้รับผ่านนมแม่ลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยให้แม่รับยานั้นทันทีหลังจากให้นมเสร็จ หรือในช่วงเวลา 3-4 ชั่วโมงก่อนให้นมลูกมื้อต่อไป
- กรณีต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์ยาว ควรกินยานั้นก่อนเวลาที่ลูกจะหลับยาว
- สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดกับลูกหลังจากคุณแม่กินยาแล้วให้นม เช่น ปัญหาด้านการดูดนม การหลับ ร้องกวน หรือมีผื่นผิวหนังหรือไม่ หากผิดปกติควรรีบพบแพทย์
แม้คุณแม่ให้นมลูกจะสามารถกินยาแก้อักเสบ รวมถึงยาปฏิชีวนะบางชนิดได้ แต่คุณแม่ก็ยังควรต้องระมัดระวัง และที่สำคัญคือ ไม่ควรซื้อยามากินเอง ต้องปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์โดยแจ้งว่าอยู่ในช่วงกำลังให้นมลูกน้อยก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่เองและตัวลูกน้อยอันเป็นที่รักด้วยค่ะ
ที่มา : www.pobpad.com , thaibf.com , www.fascino.co.th , www.exta.co.th , tmc.or.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ให้นมลูกกินหน่อไม้ได้ไหม ส่งผลอะไรต่อน้ำนมบ้าง ลูกกินนมได้หรือเปล่า
ให้นมลูกน้ำหนักไม่ลด ทำไงดี ลดน้ำหนักแม่หลังคลอดอย่างปลอดภัย
คุณแม่อัพไซส์ เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม น้ำนมจะน้อยหรือเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!