น้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้เรียน คำพ้อง ในภาษาไทยกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าคำพ้องแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ทราบไหมคะ ว่าคำพ้องถือเป็นคำที่เรามักพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันไม่แพ้คำอื่น ๆ หากเราไม่รู้จักการออกเสียง หรือความหมาย ก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ วันนี้ theAsianparent จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปรู้จักคำพ้องกันให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
คำพ้อง คืออะไร
คำพ้อง คือ คำที่มีลักษณะคล้ายกัน เหมือนกัน หรือซ้ำกัน เช่น เขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน หรือเหมือนกันทั้งรูปทั้งเสียง แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน โดยจะพิจารณาจากเนื้อความของคำที่เกี่ยวข้องกับคำพ้อง หรือคำที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเดียวกันนั่นเอง โดยคำพ้องสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมาย
คำพ้องรูป
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องนั้น อาจดูข้อความอื่น ๆ ประกอบด้วยว่าคำพ้องรูปนั้นหมายถึงอะไร ผู้พูดจึงสามารถอ่านได้ถูกต้อง โดยตัวอย่างของคำพ้องรูป มีดังต่อไปนี้
|
ตัวอย่างคำพ้องรูป
|
คำศัพท์ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
เพลา |
เพลา |
เบาลง แกนสำหรับสอดในดุมรถ หรือดุมเกวียน |
เพ-ลา |
เวลา กาล คราว |
สมาธิ |
สะ-มา-ทิ |
การสำรวมใจให้มั่น |
สะ-หมาด |
ท่านั่งขัดสมาธิ |
พยาธิ |
พะยาด |
ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อาศัย และดูดกินเลือดของมนุษย์ และสัตว์ |
พะ-ยา-ทิ |
ความเจ็บไข้ |
ปักเป้า |
ปัก-เป้า |
ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง |
ปัก-กะ-เป้า |
ชื่อปลาชนิดหนึ่ง |
สระ |
สะ |
แอ่งน้ำขนาดใหญ่ |
สะ-หระ |
ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ |
พลี |
พลี |
การเสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ |
พะ-ลี |
การบูชา การบวงสรวง เครื่องบวงสรวง ส่วย |
กรี |
กรี |
ช้าง |
กะ-รี |
โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง |
แถลง |
ถะ-แหลง |
บอก อธิบาย |
แถ-ลง |
การร่อนลง |
เสลา |
สะ-เหลา |
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง |
เส-ลา |
ภูเขา หิน |
มน |
มน |
กลม โค้ง |
มะ-นะ |
ใจ |
ปรามาส |
ปรา-มาด |
ดูถูก |
ปะ-รา-มาด |
จับต้อง ลูบคลำ |
ผิว |
ผิว |
ลักษณะบาง ๆ ที่หุ้มอยู่ภายนอก |
ผิ-วะ |
แม้ว่า หากว่า |
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลักษณนาม แต่ละอย่างใช้อย่างไร มีคำไหนบ้างที่เราควรรู้!
คำพ้องเสียง
คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายที่ต่างกัน เช่น สร้างสรรค์ คัดสรร สีสัน สรรหา หน้าตา น่ารัก ผูกพัน สัมพันธ์ สายพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ พืชพรรณ เป็นต้น เรามาดูตัวอย่างคำพ้องเสียง พร้อมความหมายกันดีกว่า
1. กด กฎ
กด หมายถึง บังคับลง ใช้กำลังดันให้ลดลง
กฎ หมายถึง ข้อกำหนด จดไว้เป็นหลักฐาน
ตัวอย่างประโยค : เพชรกดสัญญาณไฟเขียวเพื่อปฏิบัติตามกฎในการข้ามทางม้าลาย
2. ลาบ ลาภ
ลาบ หมายถึง อาหารชนิดหนึ่ง
ลาภ หมายถึง สิ่งที่ได้มาโดยไม่ทันคาดคิด
ตัวอย่างประโยค : เบียร์ถูกหวยได้ลาภก้อนใหญ่จึงพาเพื่อนไปกินลาบ
3. ข้า ค่า ฆ่า
ข้า หมายถึง ข้าพเจ้า ฉัน คน
ค่า หมายถึง มูลค่า หรือราคาของสิ่งของใด ๆ
ฆ่า หมายถึง ทำให้เสียชีวิต
ตัวอย่างประโยค : ข้าเป็นคนไทย ต้องรักษาคุณค่าความเป็นไทย และไม่ฆ่ากัน
4. จัน จันทร์ จันทน์
จัน หมายถึง ชื่อต้นไม้ขนาดกลาง มีผลสุกสีเหลือง
จันทร์ หมายถึง ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์
จันทน์ หมายถึง ชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ให้ดอก และผลที่มีกลิ่นหอม มักนำมาใช้ทำยา
ตัวอย่างประโยค : ฉันกินลูกจันเมื่อวันจันทร์แล้วไปนั่งทำดอกไม้จันทน์
5. พาน พาล
พาน หมายถึง พบปะ ภาชนะประเภทหนึ่ง
พาล หมายถึง เกเร เขลา ชั่วร้าย
ตัวอย่างประโยค : คบคนพาลพานพาไปหาผิด
บทความที่เกี่ยวข้อง : พยัญชนะไทย มีกี่รูป กี่เสียง ความรู้พื้นฐานภาษาไทย ที่เราควรรู้
คำพ้องความหมาย
คำพ้องความหมาย คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือซ้ำกัน โดยคำศัพท์หนึ่งคำสามารถมีได้หลายความหมาย แต่ต่างกันที่การเขียน และการออกเสียง เนื่องจากภาษาไทยมีการบังคับใช้คำ และมีการใช้ตามลำดับชั้นไม่เหมือนกัน เช่น คำราชาศัพท์ และคำศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุย่อมมีความแตกต่างกัน เป็นต้น นอกจากนี้ คำศัพท์ไทยยังรับเอาคำภาษาต่างประเทศมาใช้ ทำให้สามารถแตกออกไปได้หลากหลายคำตามความเหมาะสม และกาลเทศะ เรามาดูตัวอย่างของคำพ้องความหมายด้วยกันดีกว่า
|
ตัวอย่างคำพ้องความหมาย
|
คำศัพท์ |
คำที่มีความหมายเหมือนกัน |
พระพุทธเจ้า |
พระพุทธองค์ พุทธองค์ บรมครู พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไตรรัตน์ ตถาคต ชิน อรหัง ตรีโลกนาถ |
พ่อ |
บิดา ชนก บิดร ปิตุรงค์ |
แม่ |
มารดา มารดร ชนนี มาตุ มาตา |
นักปราชญ์ |
ธีระ เธียร บัณฑิต ปราชญ์ เมธี |
นางฟ้า |
อัจฉรา เทวี อัปสร รัมภา เทพธิดา |
เทวดา |
เทวา อมร สุรารักษ์ เทวา เทวัญ แมน |
ผู้หญิง |
กัลยา นารี สตรี บังอร ศรี กัญญา กานดา ดวงสมร |
สวรรค์ |
สรวง สุราลัย สุขาวดี ไตรทิพย์ |
พระจันทร์ |
จันทรา ศศิธร ดวงจันทร์ รัชนีกร แถง บุหลัน เดือน ศศิ โสม นิศากร |
แผ่นดิน |
พสุธา พิภพ ปฐพี หล้า ธาตรี ธรา ไผท ธรณี ภูมิ |
แม่น้ำ/น้ำ |
คงคา วาริน ชลธี ชลธาร ธารา วารี ชล สินธุ์ อุทก ชล ชลาลัย นที สาคร สมุทร |
ภูเขา |
บรรพต คีรี สิงขร ภูผา ภู |
ป่า |
ไพร พนา พงพี ป่าดงพงพี พง ดง |
ท้องฟ้า |
เวหา อัมพร นภาลัย นภา ทิฆัมพร |
ดอกไม้ |
มาลี ผกา บุปผา มาลา ผกา |
นก |
ปักษา ปักษี สกุณา สกุณี วิหค |
ปลา |
มัจฉา มัจฉะ |
ช้าง |
คชสาร คชาชาติ กุญชร มาตงค์ |
เสือ |
พยัคฆ์ พยัคฆา พยัคฆิน พยัคฆี วยาฆร์ |
ไฟ |
อัคคี เพลิง อัคคิ อัคนิ อัคนี อนล |
พระอาทิตย์ |
ระพี ระวี ทินกร สุริยา สุริยง สริยะ ตะวัน ภาสกร |
กษัตริย์ |
บดินทร์ บพิตร ราชา ภูธเรศ ภูเบศ ภูบาล ภูบดี ภูบดินทร์ |
ตาย |
วายชนม์ มรณ มรณภาพ สวรรคต สวรรคาลัย ทิวงคต |
เกิด |
กำเนิด ชาตะ ชาติ ประสูติ คลอด |
คำพ้องที่เราได้เรียนรู้กันไปวันนี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้อง ๆ ทุกคน ให้สามารถแยกประเภทของคำพ้องได้ อีกทั้งการรู้ศัพท์คำพ้องยังช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ความหมาย และการเลือกใช้คำตามสถานการณ์ และกาลเทศะอีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าลืมไปศึกษาเรื่องนี้กันให้มากขึ้นนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รู้จัก “คำสุภาพ” ในภาษาไทย ใช้อย่างไร และมีคำไหนที่เด็ก ๆ ควรรู้
รวม Phrasal verb คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มักเจอบ่อย ในข้อสอบ GAT
รวม 52 คำทับศัพท์ภาษาไทย ใช้กันเยอะ ใช้กันบ่อย เขียนถูกหรือเปล่า?
ที่มา : dltv, dltv, dltv
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!