กินน้ำตาลได้แค่ไหนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
สิ่งที่เป็นกังวลมาก ๆ ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทั้งหลายคงหนีไม่พ้นเรื่อง ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์ เพราะความหวานนั้นส่งผลต่าง ๆ ให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะส่งผลให้คุณเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรืออาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมายอีกด้วย วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำบทความดี ๆ มาแบ่งปันให้เหล่าคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ความรู้เกี่ยวกับน้ำตาลและการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นค่ะ
คนท้องกินหวานได้ไหมปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
ถ้าจะให้คนที่เคยชอบกินอะไรหวาน ๆ มาก่อนหน้านี้ไม่กินหวานเลยคงทำใจได้ยาก แต่การทานหวานไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมากเกินไป จะเกิดการสะสมอยู่ในร่างกาย อาจทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดโรคที่มีโอกาสเป็นได้อย่างภาวะเบาหวานแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอายุครรภ์ตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาสสองขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีโรคอ้วน และปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน
หวานแค่ไหนที่ไม่เสี่ยงเบาหวาน? น้ำตาลต่อวัน
ทางสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำไว้ว่า “การบริโภคน้ำตาลแต่น้อย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ การบริโภคน้ำตาลในแต่ละวันจึงไม่ควรเกิน 6-8 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ได้รับประจำวัน” นอกจากการลดปริมาณความหวานที่เคยกินลงไปแล้ว วิธีที่จะช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถควบคุมการกินน้ำตาลหรือของหวานได้มีดังต่อไปนี้
- ดื่มผลไม้คั้นสดเองหรือน้ำผลไม้กล่องแบบ 100% แทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน
- ลดน้ำตาลที่ใส่ตามความเคยชินลงในอาหารให้น้อย เช่น จากใส่น้ำตาลหนึ่งช้อนลดลงมาเหลือครึ่งช้อน หรือไม่ใส่เลย
- รับประทานผักผลไม้ สลัด หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่พอเหมาะแล้ว ยังได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า และช่วยให้ระบบขับถ่ายของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย
- เลี่ยงการกินอาหารสำเร็จรูป เพราะแป้งที่เข้าไปสะสมในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล
- หลังรับประทานควรบ้วนปากหรือแปรงฟัน เพื่อทำความสะอาดเศษอาหารที่อาจตกค้างตามร่องฟัน
- ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนน้ำตาลทรายขาว
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
- มีน้ำหนักตัวเกินขนาด
- เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- มีพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน
- มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
- เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS))
เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ที่เกิดจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมา มีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ซึ่งปกติแล้วตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมา แต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็เช่น ญาติพี่น้องมีประวัติเป็นเบาหวาน แม่ท้องมีอายุ 30 ปี รูปร่างอ้วน หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนคุณแม่ที่เคยมีลูกแล้ว ก็ให้สังเกตว่า เคยมีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์, เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 4 กิโลกรัมขึ้นไป, เคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเคยมีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์
ลักษณะอาการของคนเป็นเบาหวาน เวลาที่คนท้องเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะแทบไม่แสดงอาการออกมาเลย เพราะบางครั้งก็มีอาการคล้ายกับคนท้องปกติ เช่น กินอาหารเก่ง หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นประจำอยู่แล้วหากคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์ตามปกติ
โดยมีงานวิจัยออกมาเปิดเผยว่า คุณเเม่ที่กินอาหารโดยยึดหลักที่ว่ากินสำหรับสองคนนั้น จะทำให้คุณเเม่มีปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากมีสถิติว่าคุณเเม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการบริโภคน้ำตาลมากขึ้นหรือกินอาหารที่มีรสหวานมากขึ้น ซึ่งทำให้ทั้งคุณเเม่เเละลูกที่อยู่ในครรภ์เสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจเเละโรคเบาหวานได้ในอนาคต
ทั้งนี้มีหลักฐานในเรื่องของภาวะเเทรกซ้อนในงานวิจัย (โดยงานวิจัยนี้ใช้หนูเป็นกลุ่มทดลอง) เชื่อว่าคุณเเม่ชาวอังกฤษเเละสหรัฐอเมริกานั้นคือกลุ่มเสี่ยงค่ะ โดยปริมาณน้ำตาลเเละไขมันส่วนเกินที่คุณเเม่กินเข้าไปนั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนเเปลงของกระบวนการทำงานของร่างกาย
ผลกระทบเกี่ยวกับ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
นักวิจัยได้กล่าวว่า คุณเเม่ที่บริโภคน้ำตาลเเละไขมันในปริมาณที่สูง จะทำให้เด็กทารกในครรภ์นั้นเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เเละโรคเบาหวาน เเม้ยังไม่ทราบเเน่ชัดเเต่มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบการเผาผลาญของเด็กทารกค่ะ
ส่วนผลกระทบของคุณเเม่เอง นอกจากน้ำหนักจะขึ้นเเล้ว ยังทำให้เสี่ยงต่อการเเท้งลูก ความดันโลหิตสูง เเละมีภาวะเเทรกซ้อนระหว่างการคลอดลูกได้
ปริมาณ น้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนมากจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อายุ 24-28 สัปดาห์ โดยมีวิธีการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น ดังนี้
- ให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม
- ตรวจเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคสไป 1 ชั่วโมง
โดยค่าระดับน้ำตาลปกติ คือ คุณแม่จะต้องมีค่าน้ำตาลอยู่ที่ต่ำกว่า 140 mg/dl หากผลการตรวจออกมาแล้วคุณแม่ได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 140-199 mg/dl คุณหมออาจนัดมาตรวจวินิจฉัยเบาหวานอีกครั้ง แต่ถ้าผลออกมาแล้วได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 200 mg/dl คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เลย
วิธีควบคุมอาหารและ ปริมาณน้ำตาลของแม่ขณะตั้งครรภ์
- รับประทานอาหารหลัก 3 มื้อและอาหารว่าง 3 มื้อ
- รับประทานในแต่ละมื้อให้มีปริมาณใกล้เคียงกัน
- รับประทานอาหารเป็นเวลา ไม่รับประทานจุกจิก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- สามารถใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนสลับไปมาในแต่ละหมวดของอาหารเพื่อป้องกันการจำเจ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Source : mahidol
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เคล็ดลับสุดปัง ตั้งครรภ์ง่ายสั่งได้ดั่งใจ วิธีทำให้ท้องง่าย เสกได้ดั่งใจ!
มีใครอยากรู้บ้างว่า คนท้องดูดวงได้ไหม การตั้งครรภ์กับความเชื่อ สายมูเตลูต้องรู้
ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย