X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

บทความ 3 นาที
หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก

ดร. จอห์น กอตต์แมน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ออกมาแนะนำให้พ่อแม่หยุดทำ 4 ข้อนี้ เพราะจะไปทำร้ายจิตใจลูกและสร้างความร้าวฉานในครอบครัว

นี่คือพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำ ตัวอย่างคำพูดที่ไม่ควรพูด พร้อมวิธีปรับปรุงแก้ไขค่ะ!

#1  วิจารณ์เชิงลบ

การวิจารณ์เชิงลบ คือ การเน้นขยายและตอกย้ำถึงข้อผิดพลาดของลูก คำวิจารณ์แย่ ๆ มีแต่จะทำให้ลูกรู้สึกเสียใจ น้อยใจ ที่โดนพ่อแม่ตำหนิ ไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากลุกมาทำตัวให้ดีขึ้นเลย

 ตัวอย่างการวิจารณ์ลูก :

  • “ซุ่มซ่ามตลอด”
  • “ทำไมไม่เคยจำได้เลยว่าต้องเก็บที่นอนด้วย สมองมีปัญหาหรือเปล่า”
  • “ห้องรกสุด ๆ แค่ลุกมาทำความสะอาดห้องยังขี้เกียจเลย”

ทางแก้ :

  • มองสิ่งดี ๆ ในตัวลูก และกล่าวชมเชยให้ลูกรู้สึกดีกับข้อดีของตัวเอง
  • หยุดคำพูดวิจารณ์ลูก แล้วพูดสิ่งที่ต้องการออกมาตรง ๆ เช่น

“น้ำหกแล้วลูก ไปหยิบผ้ามาเช็ดซะนะ”

“แม่อยากให้ลูกเก็บที่นอนด้วยนะจ๊ะ”

“แม่อยากให้ลูกเก็บห้องให้เรียบร้อยก่อนไปเล่นบ้านเพื่อน”

#2  ดูถูก สบประสาท

การพูดดูถูกเหยียดหยามเป็นการวิจารณ์โดยยกสถานะที่สูงกว่าเข้าข่ม อาจแสดงออกโดยการเรียกชื่อแบบเหยียด ๆ กรอกตา ยิ้มเยาะ พูดเหน็บแนม ถากถาง หรือล้อเลียน การดูถูกถือเป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำร้ายจิตใจคนฟังอย่างแรง และประสานรอยร้าวได้ยาก

ตัวอย่างการพูดดูถูกลูก :

  • “เด็กโง่เอ๊ยย!”
  • “โง่จริงหรือแกล้งโง่เนี่ย ทำลงไปได้ไง”
  • “ไม่เคยคิดหยิบเสื้อผ้าขึ้นจากพื้นเลยใช่ไหม”

ทางแก้ :

  • เพิ่มความเคารพในตัวลูก
  • ปฏิบัติต่อลูกเหมือนกับที่อยากให้ลูกปฏิบัติต่อเรา

 

อ่านต่อ พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ข้อ 3 และ 4 หน้าถัดไป

#3  ปกป้องตัวเองมากไป

การปกป้องตัวเอง คือ การโต้ตอบกลับคนอื่นที่พูดโจมตีตัวเอง พ่อแม่มักปกป้องตัวเองเมื่อรู้ว่าตัวเองทำผิดจริง ๆ หรือโดนลูกจี้แทงใจดำ พ่อแม่จึงกลบเกลื่อนโดยโยนความผิดไปให้ลูกแทน

ตัวอย่างการพูดปกป้องตัวเอง :

  • “ปัญหาไม่ได้อยู่ที่แม่ แต่อยู่ที่ลูกนั่นแหละ”
  • “ที่แม่ต้องตะโกนเพราะลูกไม่ทำตามที่แม่บอก”
  • “แม่ไม่อยากด่าลูกว่าโง่หรอกนะ แต่ลูกมายั่วให้แม่โกรธก่อน”

ทางแก้ :

  • รับฟังความรู้สึกของลูกโดยพยายามทำความเข้าใจจากมุมมองของลูก
  • ถ้าพ่อแม่ทำผิดก็ยอมรับผิดแต่โดยดี และพูดขอโทษลูกจากใจจริง เช่น

“แม่ไม่ควรด่าลูกว่าโง่ แม่ขอโทษ”

“แม่ขอโทษที่ตะโกนเสียงดัง เมื่อกี้แม่น็อตหลุดไปหน่อย”

#4  พูดบ่ายเบี่ยง ตัดบท

การพูดตัดบท คือ พูดจบบทสนทนาก่อนที่ทุกคนจะรู้สึกว่าคุยตกลงกันได้แล้ว ห้ามไม่ให้ลูกมีปากเสียง รวมถึงการนิ่งเงียบ เมินเฉย ไม่สนใจไยดี เหมือนลูกไม่มีตัวตน

ตัวอย่างการพูดตัดบท :

  • “เราจะไม่คุยเรื่องนี้กันอีก”
  • “ไม่ว่าลูกจะคิดอย่างไร แม่ต่างหากที่เป็นคนตัดสินใจ”
  • “หยุด! แม่ไม่อยากฟัง”

ทางแก้ :

  • หายใจเข้าลึก ๆ หรือขอเวลา 20 นาทีไปสงบสติอารมณ์ก่อนกลับมาคุยใหม่
  • อย่าบังคับลูกมากเกินไป เปิดโอกาสให้เด็กเลือกดูหนังที่เค้าชอบบ้างก็ได้

 

สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้ว่า ความเคารพซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกด้วยความรักและความเข้าใจ อย่าทำร้ายจิตใจลูกเลยนะคะ

คุณคิดอย่างไรกับบทความนี้ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ และถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมช่วยกดแชร์ให้คุณแม่คนอื่น ๆ ได้อ่านกันด้วยนะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

ที่มา : creativechild.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ลูก MQ ดีเริ่มที่คำพูดของพ่อแม่

5 เรื่องผิดมหันต์ ที่พ่อแม่มักทำกับลูก

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • หยุด! 4 พฤติกรรมพ่อแม่ใจร้าย ทำร้ายจิตใจลูก
แชร์ :
  • 5 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยาก ทำร้ายจิตใจลูก

    5 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยาก ทำร้ายจิตใจลูก

  • อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!

    อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!

  • 5 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยาก ทำร้ายจิตใจลูก

    5 สิ่งไม่ควรทำ ถ้าไม่อยาก ทำร้ายจิตใจลูก

  • อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!

    อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ