ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้เท่าไหร่ ต้องจ่ายเพิ่มมั้ย เช็กเลย!

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าฝากครรภ์จากประกันสังคมได้นะคะ เบิกได้เท่าไหร่ ต้องจ่ายเพิ่มมั้ย เช็กเงื่อนไขที่นี่พร้อมกันเลย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“การฝากครรภ์” เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์นะคะ แต่แม่ท้องคนหลายอาจมีคำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่สามารถใช้สิทธิต่างๆ ของรัฐได้อย่าง “สิทธิประกันสังคม” เพราะแม้จะเบิกค่าฝากครรภ์ได้ แต่ก็ต้องอยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้ ทำให้คุณแม่บางคนยังคงมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างอยู่เอง วันนี้ theAsianparent จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม 2568 มาอัพเดทค่ะ

ทำไม? แม่ท้องต้องฝากครรภ์

ความสำคัญของ “การฝากครรภ์” (Antenatal care) คือ การที่คุณแม่ได้ดูแลสุขภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด ซึ่งการฝากครรภ์ควรเริ่มทำทันทีเมื่อรู้ตัวว่า “ท้อง” โดยการนัดตรวจสุขภาพกับสูตินรีแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์และเริ่มฝากครรภ์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อย ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจในการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย มีคุณภาพ คุณแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทารกมีพัฒนาการร่างกายที่สมบูรณ์ ปลอดจากภาวะแทรกซ้อนตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

 

1 ท้อง ต้องฝากครรภ์กี่ครั้ง?

โดยปกติแล้ว จำนวนครั้งของการนัดหมายฝากครรภ์จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เริ่มต้นฝากครรภ์ สุขภาพของคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์ รวมถึงระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ด้วยค่ะ ซึ่งแนวทางการฝากครรภ์ในการตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั้งหมด 5 ครั้ง หรือที่เรียกกันว่า “การฝากครรภ์คุณภาพ” เป็นการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 8 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 น้อยกว่า 20 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 6 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 น้อยกว่า 26 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งถัดไปอีก 6 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 น้อยกว่า 32 สัปดาห์ (นัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปอีก 6 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ (ในกรณีที่ยังไม่คลอด นัดตรวจครั้งต่อไปทุก 1 สัปดาห์)

ฝากครรภ์ครั้งแรก ตรวจอะไรบ้าง?

ในการฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติคุณแม่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจร่างกายโดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

  • ซักประวัติ สูตินรีแพทย์ทำการซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด คือ วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โรคประจำตัว การแพ้ยา ประวัติการตั้งครรภ์ การผ่าตัด ประวัติคนในครอบครัวที่มีโรคทางกรรมพันธุ์ เช่น เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ประวัติการสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติดของคุณแม่ตั้งครรภ์และคนในครอบครัว
  • ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความสูงของยอดมดลูก ตรวจเต้านมและหัวนม เป็นต้น
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะ (UPT) ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine analysis: UA) ตรวจเลือดเพื่อดูภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อเอชไอวี (HIV) เชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี ตรวจความเข้มข้นของเลือดเพื่อคัดกรองธาลัสซีเมีย และตรวจหาหมู่เลือด Rh
  • ประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์ ตามแบบประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ (Classifying form)
  • ฉีดวัคซีนบาดทะยัก (Td vaccine) ในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบ
  • ให้ยาบำรุงครรภ์ และประเมินความเครียด พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ
  • รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อให้แม่จดบันทึกอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น และนัดฝากครรภ์ครั้งต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบางแห่งอาจมีการตรวจอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องด้วยเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ตรวจครรภ์แฝด ตรวจดูถุงตั้งครรภ์ ตำแหน่งของรก เพศของทารก ความสมบูรณ์ของทารก โครงสร้างอวัยวะ หัวใจ จำนวนนิ้วมือนิ้วเท้า ตรวจโครงสร้างกะโหลกศีรษะ สมอง ใบหน้า ตรวจท่าทางของทารก ตรวจหาโครงสร้างที่ผิดปกติ ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ เป็นต้น

สิทธิประโยชน์ ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตน (หรือคุณพ่อเป็นผู้ประกันตน) สำนักงานประกันสังคม กำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์ โดยสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ตามเงื่อนไข ดังนี้

  • วงเงินรวมที่เบิกได้: 1,500 บาท
  • จำนวนครั้ง: 5 ครั้ง ตามช่วงอายุครรภ์ดังต่อไปนี้
  1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
  2. อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  3. อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  4. อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
  5. อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

 

ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม รพ.รัฐ

ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม ของโรงพยาบาลรัฐจะแตกต่างกันไปตามระบบการจัดการ บางแห่งอาจรวมทุกค่าใช้จ่ายเป็นราคาเดียว บางโรงพยาบาลจะแยกค่ายา ค่าหัตถการ ค่าแพทย์ ออกจากกัน ซึ่งคุณแม่สามารถสอบถามกับทางโรงพยาบาลได้โดยตรง เพื่อคำนวณส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่มจากที่เบิกจากสิทธิประกันสังคมได้ ทั้งนี้ ตัวอย่าง** ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม รพ.รัฐ แบบคร่าวๆ มีดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ค่าฝากครรภ์ รวมตลอดการฝากครรภ์ราคาประมาณ 5,000 บาท (ไม่รวมการตรวจพิเศษอื่นๆ)
  • ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละ 100 บาท โดยตรวจประมาณ 8-10 ครั้ง
  • ค่ายาและวัคซีน โดยเป็นค่ายาบำรุงตลอดการตั้งครรภ์ และวัคซีนที่จำเป็น ประมาณ 1,800 บาท
  • ค่าอัลตราซาวนด์ ครั้งละ 500 บาท ทำเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 19-22 สัปดาห์ หรือตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ค่าตรวจเลือด:
  • ครั้งที่ 1 เมื่อลงทะเบียนฝากครรภ์ ประมาณ 1,500 บาท
  • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 28-30 สัปดาห์ ประมาณ 1,000 บาท

**หมายเหตุ: ข้อมูลจาก โรงพยาบาลรามาธิบดี

ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม รพ.เอกชน

หากคุณแม่เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลและฝากครรภ์ในโรงพยาบาลเอกชนตามสิทธิประกันสังคม ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นตามเงื่อนไขที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด ซึ่ง แพ็กเกจฝากครรภ์โรงพยาบาลเอกชนยอดนิยม 2568 นั้นมีตั้งแต่ราคา 9,900 – 68,000 บาทขึ้นไป อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถสอบถามค่าใช้จ่ายฝากครรภ์กับทางโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมได้เลยค่ะ

 

เงื่อนไขการรับสิทธิฝากครรภ์ ประกันสังคม

ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด และมีขั้นตอนการเบิกค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ประกันสังคม ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. เตรียมเอกสาร 

  • แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
  • สมุดฝากครรภ์ หรือใบรับรองแพทย์ ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง
  • ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

2. ยื่นเอกสาร

ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือยื่นเรื่องขอเบิกออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

  

ที่มา : hdmall.co.th , www.medparkhospital.com , www.rama.mahidol.ac.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แม่ตั้งครรภ์ยุคใหม่ เลือกโรงพยาบาลฝากครรภ์ ยังไงให้ถูกใจ : ผลสำรวจจาก theAsianparent Insights

อาการคนท้อง ฉี่สีอะไร บ่งบอกสุขภาพแม่ท้องได้ไหม

คำถามที่แม่ท้องควรรู้! ตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ไหม ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี