มารยาททางสังคม เพราะในสังคมที่มองว่าโลกเริ่มอยู่ยากขึ้นทุก ๆ ที ผู้คนร่ายล้อมรอบตัวเริ่มยิ้มให้กันน้อยลง มองดูเป็นมิตรกันน้อยลง การใช้ชีวิตในสังคม ก็ดูเหมือน ต่างคน ต่างไม่สนใจกันและกัน มีความเห็นแก่ตัวมากกว่าความเห็นใจกัน โรคแบบนี้น่าเป็นห่วง เพราะนาน ๆ ไปอาจกลายเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ ของสังคมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ ใช้ชีวิตของเรารวมถึงเด็ก ๆ ในอนาคตที่กำลังเติบโตขึ้นมาด้วย
“โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” เริ่มเกิดขึ้น และ ระบาดหนักขึ้นในสังคมไทย เห็นได้ชัดจากสังคมวัยทำงาน และ วัยรุ่น
มารยาททางสังคม
อาการของโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง
หลายคนอาจแสดงพฤติกรรมที่กลายเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว มีอาการอย่างไรมาดูกันค่ะ
คนที่เริ่มจะกลายเป็นโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง เห็นได้จากการตอบสนอง และ การมีปฏิสัมพันธ์จากคนรอบข้างน้อยลง เช่น การทักทาย การขอบคุณ คำขอโทษ หรือ การแสดงความช่วยเหลือต่อคนอื่น ระบบประสาทของคนที่มีความรู้สึก ประเภทนี้จะมีความไวมาก ๆ เป็นพิเศษ หากเจอสิ่งเร้าในทางลบ หรือ สิ่งกระตุ้นที่ตนเองไม่พอใจ จะมีอาการตอบสนอง อย่างรุนแรงทันที เมื่อไม่ถูกใจ
โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง เกิดขึ้นได้กับบุคคลที่ไม่มีการแสดงออก ถึงมารยาทพื้นฐานทางสังคม เช่น การขอบคุณ การขอโทษ การตอบรับการทักทาย การยิ้ม การตอบคำถามทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือ การให้ความร่วมมือกับงานของส่วนรวม และ ไม่มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือ มีน้ำใจต่อผู้อื่น ๆ เท่าที่ควรจะเป็น หรือ ไม่คิดจะทำหากปราศจากผลประโยชน์ตอบแทน
คนที่เป็นโรคมารยาททางสังคมบกพร่องขั้นวิกฤติ จะมีอาการต่อต้านสังคมอย่างเห็นได้ชัด ความมี “เหตุ” และ “ผล” จะหายไป และ มีสัญชาตญาณของความเห็นแก่ตัวจะเข้ามาแทนที่ อาการที่แสดงออกอย่างเห็นได้ชัด คือมีหน้าตาที่บูดบึ้ง มีกริยาที่ก้าวร้าวต่อผู้ที่ทำดีกว่า บางคนมีท่าทีที่ดูแปลกผิดปกติ อันเกิดจากบุคลิกภาพที่เสื่อมไป เพราะคิดว่าตัวเองสำคัญเกินกว่าจะต้องลด ตัวเองลงไปทำดีกับใคร แต่จะต้องเป็นหน้าที่ของ คนรอบข้างที่จะต้องมาเอาใจตน และ สำคัญตนเองที่สุดจนมองว่า ไม่จำเป็นต้องเคารพกติกามารยาท หรือ ต้องมีกาละเทศะใด ๆ ในสังคม
สอนลูก ไว้ไม่ เป็น โรคมา รยาททาง สั งคมบ กพร่ อง แค่พูด “ข อโ ทษ”
วิธีป้องกันและการรักษา
- หัดยิ้มให้คนรอบข้าง ด้วยความเป็นมิตร
- หัดเอาใจเขามาใส่ใจเรา
- หัดพูดคำว่า “ขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไร” อย่างจริงใจ
- หัดเป็นผู้ให้ และ รู้จักให้อภัย
- เปลี่ยนจากคำว่ายอม เป็นคำว่าเข้าใจ
เห็นอาการแบบนี้แล้วน่ากังวลใช่ไหมคะ คนเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจกลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจ ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคม และ ใช้ชีวิตในสังคมอยู่ยาก แต่หากพบว่ามีความผิดปกติขั้นจริงจัง ควรจะรีบพบ และ ปรึกษาจิตแพทย์นะคะ เพื่อความสะบายใจของ คุณพ่อ คุณแม่ ด้วยนะ
สำหรับทางออกที่ดี กับลูกรัก นอกจากวิธีป้องกันที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว การเริ่มต้นสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกับมารยาทพื้นฐาน อันได้แก่ การมีสัมมาคารวะ มีความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัย และ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาต่อผู้อื่น เพื่อให้เติบโตมาเป็นที่รัก และ คนที่ดีได้ในสังคมอนาคต.
ขอบคุณที่มา : www.scholarship.in.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“โรคติดหรู” ผลกระทบจากการเลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยม
เตือนพ่อแม่ระวังโรคใหม่ของเด็กไทย “โรคไม่รู้จักความลำบาก”!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!