ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ปกครองทั้งหลายมักจะต้องพบเจอกับ ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็ก (Separation Anxiety Disorder – SAD) โดยพัฒนาการนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติในช่วงชีวิตของเด็ก และมักจะพบบ่อยในเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุ 6 – 7 เดือน ถึง 3 ปี แต่หากภาวะนี้มีมากจนเกินไป และยาวนานต่อเนื่อง ก็ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี มิเช่นนั้นอาจจะส่งผลถึงสภาวะทางด้านอารมณ์ของเด็ก จนส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้

 

ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็ก แต่ละวัยเป็นอย่างไร?

  • วัยทารก

เด็กในวัยทารกเป็นวัยที่ต้องได้รับการสร้างความไว้วางใจจากบุคคลรอบข้าง และคนในครอบครัว เพื่อให้เกิดความไว้วางใจบุคคลอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม ความวิตกกังวลของเด็กวัยนี้จะส่งผลถึงพัฒนาการของตัวเด็กเองในอนาคตอย่างมาก โดยพฤติกรรมที่มักจะพบเห็นได้ คือการเกิดความหวาดระแวงคน ไม่ไว้ใจผู้อื่น เรียกร้องความสนใจ และส่งผลให้เกิดอารมณ์รุนแรง และต่อต้านในอนาคต

  • วัยหัดเดิน

ความวิตกกังวลในเด็กจะมีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กจะมีความพร้อมในการควบคุม พัฒนาการทางด้านร่างกายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ในความพร้อมทางด้านจิตใจเป็นหลัก แต่หากเด็กรู้สึกกังวลถึงการพรากจาก เด็กจะเกิดความไม่มั่นใจ และเป็นกังวลว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้ เป็นผลให้เกิดความกังวลในการทำสิ่งต่าง ๆ และเรามักจะพบเห็นว่า เด็กมีพัฒนาการที่ถดถอย และเจ้าอารมณ์มากขึ้น

  • วัยก่อนเข้าเรียน

เด็กในวัยนี้โดยปกติจะพร้อมที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมของตน และจะมีทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ แต่กหากเด็กมีความวิตกกังวลเกิดขึ้น เด็กจะรู้สึกถึงความกลัว หวาดระแวง รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ และรู้สึกผิด ทำให้ไม่กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

 

ลักษณะอาการที่พบ เมื่อเกิดความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็ก

  • ไม่กล้าหรือต่อต้าน ไม่ยอมออกจากบ้าน เพราะกลัวการแยกจาก
  • หวาดกลัว และมีความคิดวิตกวนเวียนด้านลบ กลัวโดนทอดทิ้ง กลัวต้องถูกแยกจาก
  • มองโลกในแง่ร้าย หวาดระแวงสถานการณ์รอบด้าน
  • ฝันร้ายซ้ำ ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับการแยกจาก
  • ไม่กล้าอยู่คนเดียว แม้ว่าจะอยู่ในบ้านของตัวเองก็ตาม
  • มีอาการป่วยทางกายแบบไม่มีสาเหตุ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง เป็นต้น
  • เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อเรียกร้องความสนใจ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

 

ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็กส่งผลต่อโรคทางจิตเวช

ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็กเป็นสาเหตุหลักที่จะส่งผลต่ออาการจิตเวชในเด็กตามมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น อาการแพนิก (Panic Disorder) หรือโรควิตกกังวลอื่น ๆ และอาการนี้ยังมีโอกาสส่งผลไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของการเกิดอาการวิตกกังวล

อาการวิตกกังวลดังกล่าว มักจะมีสาเหตุมาจากสถานการณ์ของการแยกจากกับคน หรือสิ่งที่มีชีวิตที่เด็กรู้สึกผูกพันส่งผลให้เด็กรู้สึกถึงความเครียด และความกลัวกับการพลัดพราก เช่น การเจ็บป่วย การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด พ่อแม่แยกทางกัน สัตว์เลี้ยงที่รักตายจากไป หรือการถูกให้ไปอยู่ที่อื่น ๆ นาน ๆ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสเป็นโรควิตกกังวลต่อการแยกจาก คือ พื้นอารมณ์ (Temperaments) ของเด็กคนนั้น ๆ ประวัติการป่วยทางจิตเวชของบุคคลในครอบครัว และสภาพแวดล้อมที่ไม่มั่นคงปลอดภัย

แน่นอนว่า การแยกจากกันเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคนที่จะต้องพบเจอ รวมถึงตัวเด็กเองก็เช่นกัน ดังนนั้นผู้ปกครองรอบตัวเด็ก จะเป็นคนสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไปให้ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลกระทบจากความวิตกกังวลจากการพรากจาก

ผลกระทบที่ส่งผลต่อเด็ก

ในระยะเริ่มแรกที่เด็กจะต้องเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลจากการพรากจากนั้น จะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น เด็กจะรู้สึกหงุดหงิด โกรธ กลัว และอึดอัดกับเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว หากเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติกับเหตุการณ์ดังกล่าวนานเกิน 4 สัปดาห์ จะส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่ผิดปกติของเด็ก จนก่อให้เกิดความอึดอัด กระสับกระส่าย

และเป็นสาเหตุของการเกิดความกลัวโรงเรียน (School Phobia) และเกิดผลกระทบกับปัญหาการนอน นำมาสู่ผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน รวมถึงพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ จนไม่สามารถสร้างความไว้วางใจต่อบุคคลอื่น ๆ รอบข้างได้ จนอาจกลายเป็นภาวะหวาดกลัวการเข้าสังคมในวัยรุ่น ได้ในอนาคต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลกระทบต่อครอบครัว

การแสดงพฤติกรรมของการกังวลจากการพรากจาก ทำให้เด็กมีการแสดงออกเพื่อให้พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างได้รับรู้ว่าเขามีความวิตกกังวล แต่พฤติกรรมเหล่านั้นส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงาน และกังวลกับการจัดการกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ และความกังวลเหล่านั้น ก็จะย้อนกลับไปสู่การรับรู้ของเด็กอีกด้วย

เรามักจะพบว่าความวิตกกังวลดังกล่าวจากภาวะปกติที่เกิดขึ้น หากนิ่งนอนใจ ก็จะเกิดผลกระทบต่อสภาพจิตใจทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก และจะเกิดผลกระทบที่รุนแรง และยากที่จะแก้ไขหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ดังนั้นเราไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยจากความรู้สึกดังกล่าว

 

วิธีจัดการกับความวิตกกังวลจากการพรากจาก

เราจะแบ่งวิธีการจัดการกับอาการวิตกดังกล่าวออกเป็น 3 ระยะ ตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของเด็กได้ดังนี้

  • ระยะประท้วง

ระยะประท้วงนับเป็นระยะแรกของการแสดงพฤติกรรมเพื่อบ่งบอกให้คนรอบข้าง และคุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ว่าถึงความกังวลที่เกิดขึ้น และเป็นระยะที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการมากที่สุด เพราะเด็กจะเริ่มแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการเรียกร้อง หรือร้องขอให้ทางผู้ใหญ่หันมาสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

เด็กจะเริ่มแสดงออกให้รู้ว่าเขารู้สึกกลัว โกรธ วิตกกังวล เครียด กับสถานการณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้น เหตุที่แสดงออกด้วยพฤติกรรมเป็นหลักนั้น เป็นเพราะข้อจำกัดของพัฒนาการทางด้านภาษา ดังนั้นในระยะนี้ การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือการสร้างความไว้ใจว่าตัวเด็กจะยังมีความปลอดภัยทั้งในบุคคลที่เด็กพบใหม่ รวมถึงสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ อีกด้วย

คุณสามารถช่วยให้เด็กได้ระบายความรู้สึกที่อัดอั้น โดยการสร้างกิจกรรมการเล่นที่สามารถปลดปล่อยพลังงานความรู้สึกออกมาได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การตีกลอง ทุบ เคาะไม้ ตีลูกบอล และหาสิ่งของที่เด็กสามารถสร้างความผูกพัน เพื่อมาเป็นตัวแทนความอุ่นใจ ความใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา ผ้าขนหนู เป็นต้น

 

  • ระยะสิ้นหวัง

หากลูกของคุณเกิดความกลัว ความกังวลแล้ว คุณสามารถสร้างความไว้วางใจต่อเด็กได้ ด้วยการสร้างความมั่นใจว่าเขาจะไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้หายไปไหน และจะกลับมารับเขาตรงตามเวลาที่ตกลงเอาไว้ โดยให้เด็กเข้าใจในเรื่องของเวลา แต่หากลูกของคุณยังไม่สามารถทำความเข้าใจกับเรื่องของเวลาได้ อาจจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กทำ เช่น จะกลับมารับหลังทานอาหารกลางวันเสร็จ เป็นต้น และเมื่อมารับให้แสดงความรู้สึกถึงความรัก และผูกพัน เช่น การโอบกอด การหอมแก้ม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ระยะปฏิเสธ

ในระยะนี้มักเกิดปัญหาต่อผู้ปกครองที่ดูแลเด็กเป็นหลัก เนื่องจากเด็กจะมีการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแลรู้สึกเครียด ซึ่งเด็กจะเริ่มแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นมาเรื่อย ๆ เมื่อพบว่าการแสดงออกมาในลักษณะดังกล่าว สามารถเรียกร้องความสนใจจากบุคคลรอบข้างได้

โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้รับการดูแลการคนดูแลที่แปลกหน้าแปลกตาไปจากเดิม เด็กจะเรียนรู้ที่จะเอาชนะ และแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นในแต่ละครั้ง ดังนั้นการเลือกที่จะผลักไสเด็กให้ไปอยู่กับผู้ดูแลคนอื่น ๆ จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม และฟื้นฟูความกังวลจากการพรากจาก

การโกหกเด็ก เพื่อการหลีกเลี่ยงหรือหลบหนี ก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เช่นการโกหกว่าไปเข้าห้องน้ำ แล้วหลบหนีไป หรือการหลบหนีเมื่อเด็กเผลอ ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะลดความไว้วางใจในตัวคน ๆ นั้น ซึ่งรวมถึงคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นการดูแลเด็ก นอกจากจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมความกังวลของเด็กแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ ผู้ดูแล คนใกล้ชิด ที่จะทำให้เด็กรู้สึกเชื่อมั่น และไม่กลัวที่จะเกิดการพรากจาก หรือกังวลถึงการถูกทอดทิ้ง จะต้องถูกบูรณาการไปพร้อม ๆ กัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิธีรักษาโรควิตกกังวล และโรคเครียด ด้วยวิธีทางธรรมชาติทำได้ที่บ้าน

 

แนวทางแก้ไขเมื่อต้องเกิดการแยกจาก

  • เมื่อชีวิตประจำวันเด็กต้องเปลี่ยนแปลงไป

แต่ละช่วงวัยของเด็ก มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะการเข้าโรงเรียน การย้ายโรงเรียน การย้ายบ้านที่อยู่ การที่คุณพ่อคุณแม่ต้องไปค้างคืนที่อื่น  ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นจะต้องค่อย ๆ บอกเด็กให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และวัยของตัวเด็กเอง

    • เด็กวัยก่อนประถม : ในวัยนี้เราอาจจะต้องบอกเล่าด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น บอกผ่านการเล่านิทาน การเล่น หรือการวาดรูป โดยมีเนื้อหาสอดแทรกเกี่ยวกับการจัดการกับความกังวลที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความเสียใจ หรือความกังวล
    • เด็กวัยประถม : เด็กในวัยนี้ เราจะสามารถสื่อสารกันได้มากยิ่งขึ้น สามารถบอกเล่าหรือยกตัวอย่างของคนอื่น ๆ รอบข้าง เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจ แต่ถ้าเด็กยังไม่พร้อม ให้ค่อย ๆ อธิบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
    • เด็กวัยรุ่น : เด็กในวัยนี้ เราสามารถพูดคุยได้ตรง ๆ ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ ซึ่งเราต้องคอยสังเกตท่าทาง และพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนประกอบด้วย

 

  • ติดต่อสื่อสารกลับมาเป็นระยะ

หากคุณจะต้องจากเด็กไปเป็นเวลานาน การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์พูดคุย การ VDO Call หากันอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเวลา ไม่ว่าจะเป็นการโทรปลุกตอนเช้า หรือการพูดคุยตามเวลาที่นัดหมายเอาไว้ ก็จะทำให้เด็กรู้สึกถึงความมั่นคง ปลอดภัย และยังไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกด้วย (Secure/Trust)

 

  • แสดงความรักด้วยการสัมผัส

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องแยกจาก การแสดงความรักด้วยการโอบกอด การบอกรัก การใส่ใจ และคำสัญญา จะทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจได้ แต่ทั้งนี้อย่าไปสัญญาแบบไม่มีเป้าหมาย ไม่มีกำหนดการชัดเจน เช่น “จะรีบกลับมาให้เร็วที่สุด” ซึ่งคำว่าเร็วในที่นี้ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า ต้องรอคอยนานแค่ไหน

 

  • ฝึกให้เด็กจัดการกับความรู้สึกให้ได้

การฝึกให้เด็กสามารถจัดการกับความรู้สึกไม่มั่นคงได้ด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองหลาย ๆ คนปรารถนาอย่างมาก ซึ่งคุณสามารถทำได้ผ่านการฝึก เช่น ก่อนเข้าชั้นอนุบาล ให้พาเด็กไปอยู่บ้านญาติที่เด็กรู้สึกสนิท และไว้ใจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ซึ่งก่อนจะพาไป จำเป็นจะต้องพูดคุยกับเด็กถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า

 

  • ให้เด็กเตรียมพร้อมรับต่อสถานการณ์

การให้เด็กเตรียมพร้อม เตรียมตัวรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ จะต้องเตรียมพร้อมแต่เนิ่น ๆ เช่นการพกของแทนใจ (Transitional Objects) ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา หมอนสุดโปรด ผ้าขนหนูสุดรักเป็นต้น

 

หากคุณทำทุกวิธีแล้วแต่ยังคงรู้สึกว่าเด็กยังคงแสดงความวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder-SAD) และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่ามองข้ามเด็ดขาด และควรเข้ารับการแนะนำ หรือพาไปพบกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อประเมินสถานการณ์ พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดผลเสีย และเป็นการป้องกันโรคอื่น ๆ ที่จะเกิดตามมาได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไปได้สบายงหายห่วง

โรคกลัวสังคม อาการป่วยทางจิตที่มีอยู่จริง เช็คด่วนแบบไหนเข้าข่ายป่วย

ถอดรหัส ฝันไม่ดี ฝันร้ายฝันน่ากลัวของลูกน้อย ควรรับมืออย่างไร?

ที่มา : thaijo , manarom

บทความโดย

Arunsri Karnmana