X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไปได้สบายงหายห่วง

บทความ 5 นาที
พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไปได้สบายงหายห่วงพาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไปได้สบายงหายห่วง

การพบจิตแพทย์ ในความคิดของผู้คนส่วนใหญ่แล้ว ยังคงมีภาพในหัวที่ติดอยู่กับความน่ากลัว อาการของโรคจิต โรคประสาท รวมไปถึงอาการผิดปกติทางสมอง เป็นต้น จึงก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการเข้าพบจิตแพทย์ แต่แท้จริงแล้วหากมีภาวะความเครียด วิตกกังวล หรือมีเรื่องทุกข์ใจก็สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้เป็นเรื่องปกติ และในช่วงอายุเด็กที่กำลังเติบโตหากผู้ปกครองมีความต้องการอยาก พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ก็จะมีบริการ จิตแพทย์เด็ก ไว้สำหรับปรึกษาเด็กโดยเฉพาะด้วยเช่นเดียวกัน และที่สำคัญไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

 

จิตแพทย์เด็ก

การเข้าพบจิตแพทย์เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเด็ก

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กจะมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่ในหลายด้าน ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวลูกได้เสมอ และเมื่อพาเด็กไปพบจิตแพทย์ตั้งแต่เริ่มเห็นถึงความผิดปกติได้เร็วมากเพียงใด อาการของเด็กก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสมองเด็กมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรมต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ การพาลูกเข้าพบจิตแพทย์จึงเป็นการป้องกันและชะลอของปัญหาทางจิต รวมไปถึงพัฒนาการที่บกพร่องของตัวลูกได้ มาดูกันว่าปัญหาใดบ้างที่ผู้ปกครองควรจะนำเด็กมาพบจิตแพทย์เพื่อแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด

 

  • ปัญหาด้านพฤติกรรม หากเด็กมีพฤติกรรมดื้อ ซน ก้าวร้าว ใจร้อน ขี้โมโห อาการเหล่านี้เมื่อผู้ปกครองสังเกตได้ถึงความผิดปกติแล้วของพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นบ่อยมากเกินไป ควรรีบนำเด็กเข้าพบจิตแพทย์ทำการรักษาและแก้ไขโดยเร็วที่สุด
  • ปัญหาพัฒนาการล่าช้า นอกจากปัญหาด้านพฤติกรรมแล้ว การเข้าพบจิตแพทย์เมื่อเด็กมีปัญหา เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด พูดไม่เข้าใจ หรือไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ก็จะช่วยปรับพฤติกรรมส่วนนี้ให้พัฒนาดีขึ้นได้
  • ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความรุนแรงภายในบ้าน พ่อแม่ทะเลาะกัน การหย่าร้าง หรือการเลี้ยงลูกในวิธีที่ต่างออกไป ก็อาจจะส่งผลต่อจิตใจของเด็กได้อย่างโดยตรง ปัญหานี้เองที่ผู้ปกครองต้องช่วยให้ความร่วมมือกับหมอเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจของเด็กให้ดียิ่งขึ้น
  • ปัญหาการเรียน เช่น ไม่ตั้งใจเรียน สอบตก เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก ปัญหาที่จิตแพทย์เด็กจะมีวิธีการรักษาเฉพาะด้าน เพื่อแก้ไขให้โดยเร็ว มิฉะนั้นจะส่งผลต่อเด็กได้ในระยะยาว
  • ปัญหาด้านอารมณ์ เมื่อผู้ปกครองสังเกตถึงความผิดปกติในเรื่องอารมณ์ของลูก เช่น ไม่มีความสุข ซึมเศร้า กังวล ต้องรีบนำเด็กเข้ามาปรึกษาและแก้ไขโดยด่วน

บทความที่น่าสนใจ : ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็ก มีอาการอย่างไร เด็กก็เศร้าเป็น

 

จิตแพทย์เด็ก

ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจก่อนพาลูกพบจิตแพทย์เด็ก

ก่อนอื่นที่จะพาเด็กเข้าไปพบจิตแพทย์ ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจ ศึกษาหาข้อมูล รวมไปถึงการเปิดใจให้กว้างและเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การพบจิตแพทย์นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกของเราจะเป็นโรคจิต โรคประสาท หรือคนบ้า เพียงแต่การพาลูกเข้าไปพบจิตแพทย์จะเป็นการชะลอความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนเวลาที่เป็นไข้หรือไม่สบาย เราทุกคนก็ต่างไปหาหมอเพื่อรักษาให้อาการนั้นหายขาดนั่นเอง มาดูกันว่ามีสิ่งใดบ้างที่ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนพาลูกเข้าพบจิตแพทย์เด็ก

 

1. ปรับมุมมองทางความคิดใหม่

อย่างที่กล่าวเน้นย้ำไปข้างต้นบทความมาโดยตลอด เพื่อเปลี่ยนมุมมองและความคิดของผู้ปกครองว่าการที่นำลูกของเราไปพบจิตแพทย์เด็ก นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกของเราจะมีอาการป่วยทางจิตหรือสติไม่สมประกอบแต่อย่างใด หากแต่เป็นการไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการนั้นให้หายไปนั่นเอง

 

2. มีปัญหาเมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์ทันที

หากผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติของลูกแล้ว ควรรีบที่จะเข้ามาพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหรือปรึกษาได้ทันที เนื่องจากถ้าเราพบปัญหาได้เร็วที่สุดก็จะสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากว่าบางปัญหาที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของพัฒนาการเด็กก็อาจจะทำให้สามารถกลับไปแก้ไขได้ยากกว่าเดิม

 

3. บอกลูกอย่างตรงไปตรงมา

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะนำลูกมาพบจิตแพทย์เด็ก นั้นคือการเตรียมความพร้อมกับลูก ซึ่งผู้ปกครองควรบอกความจริงกับลูกอย่างตรงไปตรงมาว่ากำลังจะพาไปหาหมอเรื่องอะไร และมีความสำคัญอย่างไร แต่ถ้าหากบอกไปแล้วแต่ลูกเกิดไม่อยากมา ผู้ปกครองจึงต้องขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อได้รับคำแนะนำในการบอกได้อย่างถูกวิธี แต่หากว่าผู้ปกครองโกหกกับลูกเมื่อไหร่ก็จะทำให้ความไว้วางใจของลูกนั้นหมดไปทันที

 

4. จิตแพทย์เด็กตรวจอะไรบ้าง

อันดับแรกคุณหมอจะต้องสอบถามข้อมูลความผิดปกติจากคุณแม่ หลังจากนั้นจะพูดคุยกับเด็กในอิริยาบถที่ผ่อนคลาย ถามถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าช่วงนี้เด็กมีความรู้สึกอย่างไรและคิดอะไรอยู่ โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเรียน หรือปัญหาด้านพัฒนาการ 

 

5. เมื่อลูกโตขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

การที่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่และคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก แล้วรีบนำลูกเข้ามาพบจิตแพทย์เด็กก็จะยิ่งเป็นการชะลอความรุนแรงของปัญหานั้นให้เบาลง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ผู้ปกครองพบถึงปัญหาแล้วแต่ยังไม่ได้มีการนำเด็กเข้ามาพบแพทย์หรือตัวผู้ปกครองเองไม่ได้เข้ามาเพื่อขอคำปรึกษา ถึงตอนนั้นอาจเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากและสามารถส่งผลต่อพัฒนาการความบกพร่องของเด็กได้โดยตรง 

 

6. เตรียมข้อมูลและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์

นอกจากเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจแล้วอาจยังไม่พอ ผู้ปกครองควรในเรื่องประวัติตามช่วงวัยของลูก ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการหรือการต่างๆ หากมีสมุดบันทึกสุขภาพหรือมีเอกสารต่างๆ เช่น ประวัติการรักษาเดิม ใบผลการเรียน หรือใบรายงานพฤติกรรมจากครู ก็จะส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยของคุณหมอได้

 

7. ผู้ปกครองควรเปิดใจให้กว้าง

เชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่านคงยากที่จะกล้ายอมรับความจริง แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ได้อยากให้มันเกิดขึ้นก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วคือการเปิดใจให้กว้างแล้วยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อขอคำแนะนำจากแพทย์และนำไปปฏิบัติต่อเพื่อชะลอปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวลูกได้

 

จิตแพทย์เด็ก

ลูกยังเด็ก พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ได้ไหม ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการที่เจอพฤติกรรมที่ผิดปกติมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสามารถแก้ไขปัญหาตรงนั้นให้หายไปได้มากขึ้นเท่านั้น ก่อนอื่นผู้ปกครองต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจด้วยว่าการพาลูกเข้ามาพบจิตแพทย์นั้นไม่จำเป็นต้องป่วยเสมอไป โดยปัญหาของเด็กนั้นมีมากมายหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในบางกรณีผู้ปกครองมีความต้องการปรึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกเพื่อให้เข้าสังคมได้กับเพื่อนๆ หรือในกรณีที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า การที่นำเด็กมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดก็จะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้อาการเหล่าเบาลงไปและได้รับการดูแลจากแพทย์ได้โดยตรง

บทความที่น่าสนใจ : 5 อันดับ จิตแพทย์เด็ก ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย

 

บทความจากพันธมิตร
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบจิตแพทย์ ?

หากผู้ปกครองได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับจิตแพทย์และเปิดใจให้กว้างต่อการรับรู้ หรือศึกษาข้อมูลมาอย่างครบถ้วนแล้ว หลังจากนั้นควรทำใจให้สบายเพราะการเข้าพบจิตแพทย์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ต่อจากนี้คงต้องมีการเตรียมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก เช่น สมาธิสั้น ผู้ปกครองอาจต้องมีการสอบถามข้อมูลจากคุณครูที่โรงเรียน ขอใบเอกสารต่างๆ เช่น ผลการเรียน การบันทึกพฤติกรรม ที่สำคัญผู้ที่พาเด็กไปพบจิตแพทย์ควรเป็นบุคคลใกล้ชิดที่อาศัยอยู่กับเด็กตลอดเวลา เพื่อสามารถบอกข้อมูลแก่คุณหมอได้มากที่สุด

 

การพาบุตรหลานของท่านไปพบจิตแพทย์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด ผู้ปกครองทั้งหลายควรเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอ เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่าตัวเองกำลังเจอกับปัญหาอะไรอยู่ ดังนั้นผู้ปกครองจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งต่อข้อมูลให้กับจิตแพทย์ เพื่อวางแผนแนวทางการรักษาและประสานงานกับคนที่เกี่ยวข้อง เช่น คุณครู หรือบุคคลใกล้ชิด สำหรับการช่วยเหลือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

 

บทความที่น่าสนใจ :

5 วิธีสอนให้ลูก ๆ แก้ปัญหา ด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาเติบโตเป็นเด็กที่เก่งและฉลาด

9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ช่วยลูกคิดเป็น ต่อยอดได้

ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Thanawat Choojit

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • พาลูกพบจิตแพทย์เด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไปได้สบายงหายห่วง
แชร์ :
  • ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
    บทความจากพันธมิตร

    ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

  • ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

    ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

  • ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

    ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

app info
get app banner
  • ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
    บทความจากพันธมิตร

    ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

  • ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

    ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

  • ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

    ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ