คุณแม่เคยได้ยินชื่อ “ไข้อีดำอีแดง” ไหมคะ? ฟังดูเหมือนชื่อโรคโบราณที่ไม่คุ้นหู แต่รู้หรือไม่ว่าโรคนี้กำลังระบาด และหมอก็ออกมาเตือนให้ระวัง ไข้อีดำอีแดงระบาด กันด้วย!
โรคนี้คืออะไร? ร้ายแรงแค่ไหน? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยกำลังป่วย? บทความนี้มีคำตอบ! เรามาทำความรู้จักกับไข้อีดำอีแดง พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกน้อยโดยเฉพาะ “ลิ้น” ถ้าเจอแบบนี้ ต้องรีบพาไปหาหมอทันที!
ไข้อีดำอีแดงระบาด เตือนแม่! สังเกต “ลิ้น” ของลูกน้อยให้ดี
เพจเฟซบุ๊ค เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า
หากลูกของท่านมีอาการแบบนี้ นั่นคือ ไข้อีดำอีแดง
ตอนนี้กำลังระบาด เฉพาะที่มารับการรักษาที่คลินิกเราสัปดาห์นี้ก็ 4-5 รายแล้ว
ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) จะมีลักษณะให้สังเกตได้ จะพบว่าที่ลิ้นผิดปกติไปที่เรียกว่า ลิ้นสตรอเบอรี่”strawberry tongue
-> เกิดการอักเสบของลิ้น glossitis ทำให้มีลักษณะเป็นปื้น สีขาวปกคลุมลิ้น และเกิด hypertrophy การโตของ fungiform papillae เกิดตะปุ่มตะป่ำ คล้ายผิวสตรอเบอรี่
-> ไข้ดำแดง เกิดจากแบคทีเรีย (Streptococcus) พบบ่อยสุด
-> มักพบในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี มีอาการเจ็บคอ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก คอแดงลักษณะเป็น petechiae และผื่นตามตัวลักษณะเป็น fine maculopapula rash ผื่นจะหยาบคล้ายกระดาษทราย
-> รักษาด้วย penicillin เป็นเวลา10วัน

ซึ่ง ไข้อีดำอีแดงระบาด เช่นนี้อันตรายไม่น้อยเลยค่ะ เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ theAsianparent จึงมีข้อมูลเพิ่มเติมมาฝาก เพื่อให้คุณแม่รู้จักไข้อีดำอีแดงดียิ่งขึ้น และสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
ไข้อีดำอีแดง คืออะไร?
ไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet Fever จริงๆ แล้วเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “สเตร็ปโตคอคคัส” ซึ่งทำให้ลูกน้อยมีผื่นแดงขึ้นตามตัว แถมยังเจ็บคอ คออักเสบอีกด้วย
ไข้อีดำอีแดง จะพบบ่อยในช่วงอายุเท่าใด?
ส่วนใหญ่แล้วไข้อีดำอีแดง จะพบมากในเด็ก อายุ 5-15 ปีค่ะ
เชื้อสเตร็ปโตคอคคัสคืออะไร?
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคออักเสบ ผื่นแดงตามตัว หรือแม้แต่โรคหัวใจรูมาติกก็เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสเช่นกัน
ลูกน้อยติดเชื้อนี้ได้อย่างไร?
เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสจะแอบอยู่ในน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะของคนที่ป่วย เวลาลูกน้อยอยู่ใกล้ๆ คนป่วย แล้วหายใจเอาละอองฝอยเล็กๆ ที่มีเชื้อพวกนี้เข้าไป ก็อาจจะติดเชื้อได้ หรือบางทีแค่จับของเล่น แก้วน้ำ หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับคนป่วย ก็ติดได้เหมือนกัน
ไข้อีดำอีแดง อาการเป็นอย่างไร?
- ระยะแรก: ลูกอาจจะตัวร้อนๆ หนาวๆ ปวดหัว ไม่มีแรง เจ็บคอ
คุณแม่ลองสังเกตลิ้นดู ถ้ามีตุ่มแดงๆ ขึ้น คล้ายผลสตรอเบอร์รี่ แถมคอบวมแดง มีหนอง ต้องระวัง!
- หลังจากนั้น 1-2 วัน: จะเริ่มมีผื่นแดง ขึ้นที่คอ หน้าอก แล้วก็ลามไปทั่วตัว ผื่นนี้จะสากๆ คล้ายๆ กระดาษทราย แต่ส่วนใหญ่จะไม่ขึ้นที่หน้า
- ผ่านไป 3-4 วัน: ผื่นจะเริ่มจางลง แล้วก็จะเริ่มลอกเป็นแผ่นๆ โดยเฉพาะที่ง่ามแขน ขาหนีบ
- ที่สำคัญ: โรคนี้สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างโรคหัวใจหรือไตอักเสบได้ด้วย
ขอบคุณภาพจาก : เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม
ไข้อีดำอีแดงในเด็ก อันตรายอย่างไร?
เมื่อ ไข้อีดำอีแดงระบาด สิ่งที่ควรทราบคือ โรคนี้มีความอันตรายแฝงอยู่สำหรับเด็กๆ อย่างไรบ้าง
-
โรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
- ไข้รูมาติก: เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย แต่ภูมิคุ้มกันนั้นกลับไปทำลายเนื้อเยื่อหัวใจ ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่หัวใจ ลิ้นหัวใจ ข้อต่อ หลอดเลือด และสมอง ในระยะยาวอาจทำให้ลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจทำงานหนัก และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายได้
- ไตอักเสบเฉียบพลัน: ภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายไต ทำให้เกิดการอักเสบ มีอาการบวม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีแดง หรือมีเลือดปน ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ไตวายได้
-
การแพร่กระจายเชื้อ
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ผ่านทางการไอ จาม น้ำลาย หรือการสัมผัส ทำให้เด็กๆ ในบ้าน โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก มีโอกาสติดเชื้อต่อๆ กันได้ง่าย
-
การรักษาที่ไม่ครบถ้วน
ถึงแม้ว่าอาการของลูกจะดีขึ้นหลังจากทานยาปฏิชีวนะ แต่คุณแม่ต้องให้ลูกทานยาจนครบตามที่คุณหมอสั่งนะคะ เพราะการหยุดยาเร็วเกินไป อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียยังไม่ตายหมด และเพิ่มโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
-
ภาวะขาดน้ำ
เด็กที่ป่วยเป็นไข้อีดำอีแดงมักจะมีไข้สูง เจ็บคอ ทำให้ไม่อยากกินอาหารและดื่มน้ำ ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำได้ คุณแม่ควรดูแลให้ลูกดื่มน้ำมากๆ และกินอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย

สิ่งที่คุณแม่ควรสังเกต
- มีไข้สูง
- เจ็บคอ
- ผื่นแดงตามตัว
- ลิ้นเป็นตุ่มแดง คล้ายผลสตรอเบอร์รี่ หรือเรียกว่า ลิ้นสตรอเบอร์รี่
- ต่อมน้ำเหลืองโต
ทำอย่างไร หากสงสัยว่าลูกเป็นไข้อีดำอีแดง?
หากสงสัยว่าลูกเป็นไข้อีดำอีแดงให้รีบพาลูกไปหาหมอนะคะทันทีนะคะ ยิ่งรักษาเร็วยิ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนได้ โดยคุณหมอจะตรวจดูอาการ และอาจขูดเชื้อในคอไปตรวจ หากเป็นไข้อีดำอีแดงจริงๆ คุณหมอจะให้ยา penicillin มาทานเป็นเวลา10วัน ร่วมกับยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้เด็ก โดยไข้จะลดลงภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาฆ่าเชื้อ และต้องให้ลูกน้อยทานยาให้ครบตามที่คุณหมอสั่ง ถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
วิธีป้องกัน ไข้อีดำอีแดง
- ดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรง: กินอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ
- ล้างมือบ่อยๆ: สอนลูกให้ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินข้าว หลังเข้าห้องน้ำ
- อย่าใช้ของร่วมกับคนอื่น: เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า
- ถ้ามีคนป่วย: ให้ลูกอยู่ห่างๆ คนป่วย
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับแม่ๆ ทุกคน ในการดูแลลูกน้อยให้แข็งแรง ปลอดภัยจาก ไข้อีดำอีแดงระบาด ในครั้งนี้นะคะ
ขอบคุณและรูปภาพจาก : เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม , สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูกป่วยเพราะเขียง เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม แหล่งก่อเชื้อโรคร้ายให้ลูกน้อย
รู้ไว้ให้ชัวร์! ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ ทำเด็ก IQ ต่ำลง จริงไหม?
รู้จัก เชื้อเอนเทอโรไวรัส และ สัญญาณโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!