X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!

บทความ 5 นาที
มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!

ภาวนาขอให้นโยบายที่ว่านี้ผ่านจริง มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ คงจะดีใจ

ไม่ว่าจะคุณจะดำรองอาชีพไหน จะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือไม่ หากเข้าเกณฑ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ต่างก็ต้องจ่ายเงินค่าภาษีด้วยกันทั้งนั้น

มนุษย์เงินเดือน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ที่กรมสรรพากรให้เงินได้กำหนดเงินได้เป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้าง มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และเพราะภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้มีเงินได้เป็นอัตราภาษีก้าว หน้า คือ ยิ่งเงินได้สุทธิสูง ยิ่งเสียภาษีแพง

วิธีการคำนวณเงินได้ ก็ได้มาจาก เงินได้พึงประเมิณ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน มื่อเทียบเงินได้พึงประเมินเท่ากัน พวกมนุษย์เงินเดือนจะเสียภาษีมากกว่า เพราะหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า คือสูงสุดแค่ 60,000 บาทตัวอย่างเช่น หากเทียบมนุษย์เงินเดือนกับพวกหมอ พวกหมอจะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ ตัวอย่างเช่น หากหมอมีเงินได้ 1 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 แสนบาท หากหมอมีเงินได้ 10 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 ล้านบาท แต่หากมนุษย์เงินเดือนมีเงินได้ 1 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ 6 หมื่นบาท หรือหากมีเงินได้ 10 ล้านบาท ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้แค่ 6 หมื่นบาทเท่าเดิม และหากลองคำนวณหาเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนว่า 60,000 บาทที่กรมสรรพากรให้เป็นค่าใช้จ่ายนั้น พอใช้จ่ายไหมในแต่ละเดือน จะคำนวณได้เท่ากับเดือนละ 5,000 บาทเท่านั้น ไม่พอใช้จ่ายแน่ ๆ และยิ่งของแพงขึ้นทุก ๆ ปี ขณะที่เงินเดือนก็ไม่ได้ขึ้นตามเงินเฟ้อได้ทัน ก็ทำให้มนุษย์เงินเดือนมีปัญหาด้านการเงินอย่างที่หลายคนทราบ ๆ กัน อยู่

ที่ผ่านมาก็เคยได้ข่าวกรมสรรพากรจะปรับความไม่ยุติธรรมเหล่านี้ โดยปรับเรื่องค่าใช้จ่ายของมนุษย์เงินเดือน แต่ก็เหลวมาตลอด มาครั้งนี้ก็ดีใจที่ได้ยินคุณประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ออกมาบอกว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์จะเสนอข้อสรุปในเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปยัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยหลักการในการปรับปรุงภาษีจะทำให้คนรายได้น้อยสบายมากขึ้น คนจนยิ้มได้ เพราะภาษีที่ปรับปรุงใหม่นั้น จะเป็นประโยชน์กับผู้เสียภาษีทุกราย ซึ่งการปรับภาษีเงินได้บุคคลดังกล่าว ทำให้กรมสูญเสียรายได้หลายหมื่นล้านบาท โดยการปรับโครงสร้างภาษีนี้ จะประกาศใช้ในปี 2560 คือ เริ่มได้ตั้งแต่การยื่นภาษีปี 2561 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เบื้องต้นมีการเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลจาก 6 หมื่นบาท เป็น 1-1.2 แสนบาท ถ้าสมมติเป็น 1.2 แสนบาท ก็จะทำให้คนที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 25,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งก็น่าจะดี เพราะ 25,000 บาท คิดเป็นรายได้ต่อวันแค่ 833 บาทเท่านั้น อาจจะพอใช้จ่ายแต่ไม่พอให้มีเงินออมสำหรับอนาคตเลย

2. จะมีการปรับปรุงขั้นการเสียภาษีใหม่จาก 7 ขั้น และปรับปรุงรายได้ในแต่ละขั้นใหม่ รวมถึงกำลังสรุปเรื่องว่าควรจะปรับอัตราสูงสุดที่กำหนดไว้ 35% หรือไม่ ซึ่งก็ควรจะปรับลดลงให้ยุติธรรมกับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจครับ เพราะอัตราภาษีที่แท้จริงของเจ้าของธุรกิจขณะนี้อยู่ที่ 28% ขณะที่คนทำงานอัตราภาษีที่แท้จริงอยู่ที่ 35% ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น และจะจูงใจให้หลายคนวางแผนภาษีโดยการจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลขึ้นมาแทน เพราะนอกจากเสียภาษีต่ำกว่าแล้ว ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้โดยไม่มีเพดานกั้น สุดท้ายแล้วหากมีคนจัดตั้งบริษัทมากๆเพื่อวางแผนภาษี กรมสรรพากรแทนที่จะเก็บภาษีได้มากขึ้น ก็จะเก็บภาษีได้น้อยลง

3. ค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่เคยมีข่าวว่าจะปรับลด ก็จะไม่ลดค่าลดหย่อน ส่วนเรื่องค่าลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว 1.5 หมื่นบาทที่หมดอายุไปเมื่อ 31 ธันวาคม 2558 นั้น กรมสรรพากรก็จะเสนอไปยังกระทรวงการคลังให้ต่ออายุอีก 2 ปี เป็นหมดอายุ 31 ธันวาคม 2560 ในวงเงินลดหย่อนเท่าเดิมปีละ 1.5 หมื่นบาท

หากข้อมูลเหล่านี้เป็นจริง ก็ภาวนาอย่าเลิกหรือสะดุดกลางคันอีก และขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมสรรพากรปัจจุบันที่มองทุกอย่างในสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่มุ่งแต่จะเก็บภาษีมาก ๆ และมองมนุษย์เงินเดือนเป็นของตายที่เก็บภาษีได้มากอยู่แล้วไม่ต้อง ปรับอะไร ทำนองรีดเลือดจากปู จนมนุษย์เงินเดือนจะไม่มีเงินเหลือแล้ว

ที่มา: Post Today

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน เพื่อใช้ชีวิตอย่างมั่นคง

เด็กออทิสคิกเรียนร่วมกับเด็กปกติได้หรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • มนุษย์เงินเดือนอาจมีเฮ! หากปรับลดหย่อนภาษีแบบนี้จริง!
แชร์ :
  • มนุษย์เงินเดือนเริ่มสร้างครอบครัวควร "เช่าบ้าน"หรือ"ซื้อบ้าน"

    มนุษย์เงินเดือนเริ่มสร้างครอบครัวควร "เช่าบ้าน"หรือ"ซื้อบ้าน"

  • อัพเดท ม.33 เรารักกัน รับเงินเพิ่ม 2,000 บาท เตรียมเช็กเลย

    อัพเดท ม.33 เรารักกัน รับเงินเพิ่ม 2,000 บาท เตรียมเช็กเลย

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • มนุษย์เงินเดือนเริ่มสร้างครอบครัวควร "เช่าบ้าน"หรือ"ซื้อบ้าน"

    มนุษย์เงินเดือนเริ่มสร้างครอบครัวควร "เช่าบ้าน"หรือ"ซื้อบ้าน"

  • อัพเดท ม.33 เรารักกัน รับเงินเพิ่ม 2,000 บาท เตรียมเช็กเลย

    อัพเดท ม.33 เรารักกัน รับเงินเพิ่ม 2,000 บาท เตรียมเช็กเลย

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ