หากใครที่กำลังคิดว่าการนอนหลับไม่สำคัญ ขอให้เปลี่ยนความคิดนั้นเสีย จริง ๆ แล้ว การนอนหลับนั้นสำคัญ และมีประโยชน์กว่าที่เราคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่อายุยังน้อย วันนี้ เราจะมาเล่าถึงประโยชน์ และ ความสำคัญในการนอนของเด็ก ว่ามีอะไรบ้าง เด็กแต่ละช่วงวัย ควรนอนอย่างไรให้เหมาะสม
ทำไมการนอนหลับจึงสำคัญ
การนอนหลัง มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก รวมทั้งยังดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน การเรียนรู้ และความจำของเด็กอีกด้วย เด็กที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะมีความจำดี และเรียนรู้ได้ไวเมื่อเทียบกับเด็กที่อดหลับอดนอน อย่างไรก็ตาม เด็กในแต่ละช่วงวัย ต้องการเวลาในการนอนแตกต่างกันออกไป เมื่อเด็กทารกอายุมากขึ้น เด็กจะนอนกลางวันน้อยลง แต่จะนอนในช่วงกลางคืนนานมากขึ้น และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ก็จะนอนตอนกลางคืนน้อยลง โดยเด็กแต่ละช่วงวัยนั้น ต้องการเวลานอนแตกต่างกัน ดังนี้
เด็กทารก
เด็กทารกที่เพิ่งเกิดใหม่ ๆ อาจนอนกลางวันได้มากถึงวันละ 2-3 ครั้ง และนานถึง 2 ชั่วโมง แถมในตอนกลางคืน เด็กอาจจะตื่นขึ้นมาบางครั้งบางคราว หรืออาจตื่นขึ้นเป็นรอบ ๆ ซึ่งเมื่อเริ่มมีอายุได้ 6 เดือน เด็กจะเริ่มนอนได้นานมากขึ้น สูงสุดครั้งละ 6 ชั่วโมง หรืออาจจะมากกว่านั้น และสามารถเข้านอนได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 22.00 นาฬิกา แต่เด็กก็ยังคงต้องนอนกลางวันอยู่ โดยเด็กทั่วไปที่อายุ 6-12 เดือน มักจะนอนกลางวัน 1-2 ชั่วโมง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาหารเย็นสำหรับคนท้อง กินอะไรดี? นอนหลับสบายทั้งแม่และลูก
เด็กวัยเริ่มเดิน
เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นมาหน่อยจนเข้าสู่วัยหัดเดิน เด็กจะต้องการเวลานอนประมาณ 12-13 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจแบ่งเป็นเวลานอนกลางวัน 1-2 ชั่วโมง และเวลานอนตอนกลางคืน 12-13 ชั่วโมง แต่ว่าเด็กบางคนก็ไม่ชอบนอนตอนกลางคืน เพราะอยากจะอยู่เล่นกับพ่อแม่มากกว่า
เด็กวัยก่อนเรียน
เมื่อเริ่มอายุได้ 3-5 ปี เด็กจะต้องการเวลานอนในเวลากลางคืนอย่างน้อย 11-13 ชั่วโมง และต้องการนอนกลางวันประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน
เด็กวัยประถมศึกษา
เมื่อเด็กเริ่มเข้าโรงเรียน อาจจะไม่ค่อยมีเวลานอนกลางวันเยอะเหมือนแต่ก่อน แต่ว่าก็ยังคงต้องนอนในเวลากลางคืนเยอะอยู่ดี โดยเด็กที่อายุ 5-8 ปี ควรนอนให้ได้ 10-11 ชั่วโมงต่อคืน ส่วนเด็กที่อายุ 9-11 ปี ควรนอนให้ได้ประมาณ 9-11 ชั่วโมงต่อคืน และเนื่องจากว่าเด็กอาจจะเหนื่อยล้าจากการไปโรงเรียน จึงทำให้เด็กเข้านอนได้ไวมากยิ่งขึ้น ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ จะเริ่มง่วงตั้งแต่ช่วงเวลา 1 ทุ่มเป็นต้นไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ที่นอนคนท้อง ควรเป็นแบบไหน? คนท้องนอนยังไงให้ห่างไกลอาการปวดหลัง
เด็กวัยรุ่น
ยิ่งโตก็ยิ่งต้องการเวลานอนน้อยลง เด็กที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะต้องการเวลานอนอยู่ที่ 8-10 ชั่วโมงต่อคืน หากมีเวลานอนในช่วงกลางวันด้วย ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะสมองของเด็กจะได้พักผ่อนจากการทำงานหนัก แต่หากไม่มีเวลานอนกลางวัน ก็สามารถพักผ่อนในตอนกลางคืนแทนได้
เด็กทารกกับปัญหาในการนอนหลับ
เด็กวัยที่ดูจะมีปัญหากับการนอนหลับมากที่สุด คือ เด็กทารก เพราะในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากการเกิด เด็กจะตื่นตอนกลางคืน หรือช่วงกลางวันบ่อย ๆ เพื่อกินนม หากคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยนอนยาก มักจะตื่นตัวตอนกลางคืน ให้ลองปิดม่านให้สนิท ไม่ให้มีแสงสว่างลอดเข้ามา หรือจะเปิดไฟสลัว ๆ ไว้ก็ได้ เพื่อให้เด็กรู้สึกง่วง ทั้งนี้ ควรปิดหน้าต่างให้สนิท เพื่อที่เสียงจากที่อื่นจะได้ไม่ลอดเข้ามาจนทำให้เด็กสะดุ้งตื่น
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถสร้างนิสัยในการนอน และช่วยให้ลูกเเยกแยะระหว่างช่วงเวลากลางวันและกลางคืนได้ โดยการทำกิจวัตรช่วงกลางวันซ้ำ ๆ และงดกิจกรรมต่าง ๆ ในตอนกลางคืน เพื่อให้เด็กรู้ว่า ช่วงกลางคืนคือช่วงเวลาพักผ่อน ในตอนกลางวัน คุณแม่อาจจะให้ลูกดื่มนม เล่นกับลูก ป้อนข้าว หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อย ๆ และทำสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลงในช่วงกลางคืน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 10 เปลเด็ก เปลนอนสำหรับทารก แบบไหนดี และปลอดภัยกับลูกน้อย
โรคที่มากับการนอนหลับ
โรค SUDI และ SIDS ถือเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นขณะที่เด็กนอนหลับ เด็กทารกบางคน เสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิด และก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เราไม่มีทางรู้ ว่าลูกเราจะเจอกับโรคร้ายนี้ตอนไหน แต่ก็มีวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
- ให้ลูกนอนหงาย ท่านอนหงาย ถือว่าเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารก เพราะทารกส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว มักจะนอนอยู่ในท่านอนตะแคงหรือคว่ำหน้า
- อย่าให้อะไรมาปิดหน้าเด็กตอนนอน ตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าไม่มีผ้าหรือสิ่งของใด ๆ ปิดหน้า หรือจมูกเด็กในตอนที่เด็กกำลังนอน เพื่อที่เด็กจะได้หายใจสะดวก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ คุณแม่และคุณพ่อไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะเคยมีงานวิจัยชี้ว่า ควันบุหรี่ ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตขณะนอนหลับ
- ใช้เปลที่ได้มาตรฐาน การใช้เตียงที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และผ่านการทดสอบ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ทำให้เด็กหลับสบาย และไม่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวได้
- นอนกับลูก คุณแม่ควรนอนกับลูกในช่วง 6-12 เดือนแรก เพราะช่วงนี้ ร่างกายเด็กยังอ่อนแอ ต้องมีคนคอยดูแลใกล้ ๆ
- ให้นมลูกจากเต้า พยายามให้ลูกดื่มนมจากเต้า แทนการให้ดื่มจากขวดนม เพราะมีงานสำรวจพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค SUDI และ SIDS ได้มากถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
- อย่าให้มีช่องว่างบนที่นอน เพราะตัวเด็กอาจไปติดเข้ากับช่องว่าง จนทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด
- แต่งตัวให้เด็กสบาย ๆ ไม่ต้องใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปให้เด็ก เพราะอาจทำให้เด็กอึดอัดและหายใจไม่ออก
ที่มา : raisingchildren , raisingchildren
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แบบนี้ก็ได้ 11 วิธีแก้ปัญหาการนอนหลับ ที่ทำให้ลูกน้อยหลับสนิท
วิจัยชี้! เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ
6 วีธีปราบเด็กไม่ยอมนอน เด็กดื้อไม่ยอมนอนต้องลองมาเจอแบบนี้ดูบ้าง
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการนอนของทารก ได้ที่นี่!
การนอนของทารก ทำยังไงให้ลูกหลับสบายไม่งอแงคะ