X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ

บทความ 3 นาที
เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ

การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าลูกเห็นตัวอย่างที่ไม่โอเคอยู่ทุกวัจ เเล้วจะ เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ

เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ

เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ (หรือเเม่) คุณพ่อคุณเเม่ส่วนใหญ่ คงจะเคยเห็นหรือได้ยินประโยคที่ว่า “พ่อแม่ก็เป็นมนุษย์ ยังมีทั้งสิ่งที่ดีเเละพฤติกรรมที่เเย่” มาบ้างนะคะ เเต่จะทำอย่างไรหากอีกฝ่ายมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ที่ลูกอาจจะเสี่ยงทำตามได้

พ่อแม่ต้องเป็นต้นเเบบให้ลูก 

ทั้งด้านดีเเละด้านที่ต้องมีวิธีรับมือ ในด้านดีๆ การเเสดงออกให้ลูกเห็นนั้นไม่ต้องรอให้ลูกโตค่ะ ยิ่งเด็กเล็กๆ ยิ่งต้องเริ่มได้เเล้ว เนื่องจากเด็กๆ จะจำ ทำตาม เเละซึมซับพฤติกรรมของคุณพ่อคุณเเม่ตั้งเเต่ยังเล็กๆ ค่ะ ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การไม่ทำให้ลูกเห็น เเต่คือเมื่อคุณพ่อคุณเเม่ทำลงไป ต้องรู้ตัวว่าทำผิด เเก้ไข เเละไม่ทำผิดอีกเป็นครั้งที่สอง

ต่อมาคือพฤติกรรมที่ไม่ควรทำให้ลูกเห็นเลย เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์จนเมามาย สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น รวมไปถึงสร้างความเดือดร้อนให้คนในบ้าน เเละการใช้กำลัง การทำร้ายร่างกายก็เช่นกัน เเต่ในเรื่องของวาจาเเละการทำร้ายจิตใจก็เช่นกัน คุณพ่อคุณเเม่ไม่ควรใช้คำพูดหรือการกระทำ เพื่อสร้างบาดเเผลหรือทำให้อีกฝ่ายไม่สบายใจ เพราะลูกไม่ได้เฝ้ามองเเค่คนใดคนหนึ่ง เเต่เฝ้ามองทั้งคุณพ่อเเละคุณเเม่นะคะ

หากพฤติกรรมนั้นไม่มีทางเเก้

หรือฝ่ายที่ทำพฤติกรรมนั้นไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อลูก จะทำยังไง จริงๆ อยากจะเเนะนำให้อัญเชิญกลับบ้านตัวเองไป เเต่วิธีที่ละมุนละม่อมกว่านั้นก็มีนะคะ เช่น การพูดคุยเปิดใจกันว่า จะส่งผลต่อลูกยังไง หากไม่ได้ผล อาจจะให้ผู้ใหญ่เช่น ปู่ย่าตายายช่วยเกลี่ยกล่อมให้อีกทางหนึ่งก็ได้ค่ะ เเต่ถ้าถึงที่สุดเเล้วก็ยังไม่ได้ผลอีก คงต้องมีการตั้งกฎกันว่า พฤติกรรมนั้นจะไม่ถูกยอมรับเมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค่ะ หากอยากจะทำให้ไปทำนอกบ้าน เพื่อป้องกันการเลียนเเบบ

เเล้วจะเลี้ยงลูกชายยังไง ให้สมชายชาตรี

  1. ลูกชายต้องช่วยงานบ้าน ในเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป ต้องมีงานบ้านที่ทำเป็นกิจวัตรเเล้วนะคะ สำหรับเด็กๆ ที่อายุต่ำกว่านั้น คุณพ่อคุณเเม่ควรปล่อยให้เล่นกับงานบ้านได้ทุกงาน โดยที่เก็บของอันตรายให้พ้นมือค่ะ ในข้อนี้จะทำให้ลูกชายของคุณเเม่นั้นโตขึ้นโดยไม่คิดว่างานบ้านคืองานของผู้หญิง เเละทำให้ละลายการเเบ่งหน้าที่ระหว่างเพศอีกด้วย
  2. ลูกชายต้องมีน้ำใจ มีความเมตตากรุณา ต่อคนทั่วไปโดยไม่เเบ่งเพศ เเบ่งเชื้อชาติ เเบ่งชนชั้น รวมไปถึงกับสัตว์เเละธรรมชาติด้วย เพราะต่อไปลูกต้องกลายเป็นพลเมืองที่ร่วมงานกับคนทั่วโลกค่ะ สิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ทำได้คือการเเสดงความเมตตากรุณาให้ลูกเห็นก่อน เเล้วค่อยอธิบายด้วยเหตุผลง่ายๆ เเต่ทำให้ลูกเข้าใจได้อย่างชัดเจนค่ะ
  3. ลูกชายต้องไม่ใช้ข้อได้เปรียบทางร่างกาย ไปเบียดเบียนคนอื่น สรีระของเพศชายนั้นมีพละกำลังเเละความเเข็งเเรงมากกว่าผู้หญิง นอกจากจะไม่ไปรังเเกข่มเหงเเล้ว เมื่อมีโอกาสควรช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย ไม่ใช่เเค่เพียงสตรีเพศเท่านั้น คุณพ่อคุณเเม่ควรทำให้เขาเห็นภาพชัดเจน โดยที่อาจจะไม่ต้องให้ลูกลงมือทำจริงๆ เช่น การดูคลิปวิดีโอในยูทูป หรือเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในโรงเรียน หรือเวลามีข่าว คุณพ่อคุณเเม่ก็สามารถหยิบยกมาเล่าให้ลูกฟังได้เหมือนกันค่ะ
  4. ลูกชายต้องยึดถือศีล 5 (ในครอบครัวที่นับถือพุทธศาสนา) หรือยึดถือข้อปฏิบัติของเเต่ละศาสนา เพื่อที่จะได้อยู่ในศาสนาๆ นั้นอย่างเต็มภาคภูมิ รวมไปถึงเด็กๆ ที่ไม่มีศาสนา ก็ต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นอีกด้วย คุณพ่อคุณเเม่ต้องทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างค่ะ เช่น ในเรื่องของการไม่ฆ่าสัตว์ การไม่พูดโกหก ไม่กินเหล้าเบียร์
  5. ลูกชายต้องสุภาพ ทั้งวาจา พฤติกรรม เเละความคิด พูดจาดีเป็นที่รักต่อทุกคน โดยคุณพ่อคุณเเม่ต้องพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีศิลปะในการพูด ไม่พูดจาส่อเสียด กระเเทกกระทั้น หรือเสียดสีเป็นต้นค่ะ
  6. ลูกชายต้องเข้มเเข็งเเละอ่อนโยน ไปพร้อมๆ กัน การเผยด้านที่อ่อนเเอไม่ใช่เรื่องต้องห้ามสำหรับผู้ชาย เเต่มันคือการบอกว่าลูกต้องการความช่วยเหลือ หรือเเค่เพียงมีคนที่จะรับฟังเขาได้ทุกเมื่อ เเละเขาควรจะเป็นผู้ฟังที่ดี หากมีคนต้องการความช่วยเหลือจากเขา เเละในการหล่อหลอมลูกในเป็นคนเเบบนี้ คุณพ่อคุณเเม่ต้องทำตัวเป็นต้นเเบบก่อน เช่น การรับฟังเวลาที่ลูกมีเรื่องจะเล่า เเละไม่ด่วนตัดสินลูก เมื่อลูกเล่าอะไรก็ตามให้ฟัง ควรถามคำถามอย่างเช่น เเล้วลูกรู้สึกยังไง เเล้วลูกคิดว่ายังไง เเล้วลูกจะทำยังไงต่อไป เป็นต้น หากลูกถามความคิดเห็น ควรจะบอกว่า ถ้าเป็นเเม่เจอเหตุการณ์เเบบนี้ เเม่จะ… เพราะ… หรือยกตัวอย่างว่า เเม่จะไม่ทำ… เพราะ… เป็นต้นค่ะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Advertisement
บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

20 เรื่องเบสิกที่แม่ควรสอนลูกชายตั้งแต่เล็ก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ
แชร์ :
  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว