X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่ตั้งครรภ์ กับ เคล็ดลับสำคัญที่ควรต้องรู้

บทความ 5 นาที
คุณแม่ตั้งครรภ์ กับ เคล็ดลับสำคัญที่ควรต้องรู้

ก่อนการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องมีการเตรียมตัววางแผน คุณแม่ควรจะตรวจเช็กว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะผู้หญิงมีหลายบทบาทที่ต้องทำและเพิ่มความรับผิดชอบเป็นพิเศษเมื่อถึงเวลา “ตั้งครรภ์” เพื่อให้ลูกน้อยที่กำเนิดมามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้เรื่องของ เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ต้องเตรียมพร้อมและใส่ใจเป็นพิเศษในหลากหลายเรื่อง ทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารและโภชนาการ หรือแม้แต่การปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมกับความเจ็บป่วยของลูกในอนาคตด้วย

 

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้

1. เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ข้อแรก คือ หาข้อมูลที่ฝากท้องและเตรียมตัวพบแพทย์ทันทีที่รู้ว่ากำลังมีน้อง พร้อมอัปเดตอาการหรือโรคประจำตัว

2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก เน้นโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก งดอาหารสุกๆ ดิบๆ และดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน พร้อมทั้งลดเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่และสารเสพติด กระทบต่อการเจริญเติบโตของลูก ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง และเสี่ยงแท้งได้

3. พักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน ก็คือเคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้ แถมยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ในช่วง 3-6 เดือน แต่ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดควรงด

4. ระมัดระวังในการใช้ยาทุกชนิดโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังพัฒนาอวัยวะและระบบประสาทต่างๆ จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง แม้แต่ยาสามัญประจำบ้าน

5. ออกกำลังกายเบาด้วยการ เดิน โยคะ หรือว่ายน้ำ ไม่ควรออกกำลังกายรุนแรงหรือหักโหม และไม่ควรออกกำลังกายต่อเนื่องเกิน 30 นาที

6. เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สำคัญคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ยแทนรองเท้าส้นสูง เลือกเสื้อผ้าสวมใส่สบายแก่การเคลื่อนไหว ไม่ฉีดโบทอกซ์ ไม่สักลวดลายบนลำตัว อีกทั้งงดฟอกฟันขาว ทำสี ยืดหรือดัดผม เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

7. แม่ท้องที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่ควรเดินหรือยืนนานๆ อาจทำให้ขาและเท้าบวมขึ้น และเกิดเส้นเลือดขอดที่ขาหรือทำให้ปวดหลังง่าย และอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

บทความที่น่าสนใจ : เคล็ดลับการตั้งครรภ์ และวิธีสังเกตอาการคนท้องระยะเริ่มแรก

 

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

8. งดอบไอน้ำหรือการอบซาวน่า ความร้อนจากไอน้ำทำให้ร่างกายของแม่ท้องขาดน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น อาจทำให้ทารกในครรภ์แท้งได้ การขาดน้ำส่งผลทำให้เลือดข้น จนทำให้เส้นเลือดอุดตัน เลือดจึงไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้น้อยลง ทำให้ทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่และอาจถึงขั้นแท้งได้

9. คุณแม่ตั้งครรภ์คนไหนที่เลี้ยงน้องแมว หรือน้องหมา ต้องงดทำความสะอาดมูลภายในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อปรสิต (Toxoplasma gondii) ที่สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

10. ควบคุมจิตใจไม่ให้หงุดหงิดง่ายและเครียด ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายและความกังวลจากการตั้งครรภ์

11. ออมเงิน และทำประกันสุขภาพ เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะในอนาคตอาจเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดได้ การลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยเป็นการออมเงิน และปรึกษากับบริษัทประกัน เป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อให้ตัวคุณแม่และลูกได้รับสิทธิที่เป็นประโยชน์

12. กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจหาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์เพิ่มเติม เพื่อลูกน้อยในครรภ์ให้เติบโตสมบูรณ์

13. ควรตรวจหา “ความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ” หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ และอาจมีความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ ถึงแม้จะยังไม่มีการป้องกันได้แบบ 100% แต่ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง

14. การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ หรือการตรวจ NIPT (Non Invasive Prenatal Testing) ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดดาวน์ซินโดรม หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ เพื่อช่วยคลายความกังวลและวางแผนดูแลก่อนที่ลูกน้อยจะออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

บทความที่น่าสนใจ : ตรวจการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล ราคาเท่าไหร่ แม่นยำกว่าตรวจเองแค่ไหน?

 

ปัจจัยสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เรียกว่าความเสี่ยงสูง

สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงออกเป็น 3 ด้านคือ ตัวคุณแม่เอง ตัวทารก และรกและน้ำคร่ำ ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน

1.ตัวคุณแม่เอง จะมีทั้งความเสี่ยงด้านอายุ คือคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี หรือเกินกว่า 35 ปีขึ้นไป ก็จัดอยู่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนั้นก็จะเป็นเรื่องภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์และโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, เคยมีประวัติการแท้ง, เคยคลอดลูกที่มีความพิการ, ตกเลือด, เคยผ่าตัดเนื้องอก, คนที่เคยทำเด็กหลอดแก้ว หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษในท้องที่ผ่านมา

2.ตัวทารก คือทารกมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ หรือมีการตรวจพบว่าทารกพิการตั้งแต่กำเนิด และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดก็จัดอยู่ในมารดาที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

3.รกและน้ำคร่ำ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำหรือ มารดาที่ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ

ซึ่งสาเหตุของแต่ละคนเวลามาพบคุณหมอ ปกติคุณหมอจะซักประวัติและตรวจเช็กหาความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มต้น แต่จากทั้งสามสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และมีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากตัวคุณแม่มากที่สุด แต่สาเหตุก็อาจจะแตกต่างกันไป ปัจจุบันคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ก็จะมีปัญหาความเสี่ยงสูงเนื่องจากอายุมากเป็นส่วนใหญ่

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

ถึงคุณแม่จะมีภาวะเสี่ยงสูง ก็สามารถมีลูกได้ถ้าดูแลตัวเองดี

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของ คุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย แต่ถ้าคนที่มีภาวะเสี่ยงสูง เช่น เป็นเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ก็อาจจะต้องมานอนโรงพยาบาลเพื่อดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด ต้องทำอัลตราซาวด์ถี่กว่าปกติ นัดพบคุณหมอถี่ขึ้น และต้องคอยสังเกตตัวเอง อาจจะต้องนับลูกดิ้นช่วง 32 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มตัวใหญ่ขึ้นจนคุณแม่จับความรู้สึกเองได้ คอยสังเกตอาการผิดปกติตามที่บอกไป หรือคนที่มีโรคประจำตัว อย่างเบาหวาน ก็ต้องคอยเจาะเพื่อตรวจระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ภาวะไหน ที่คุณหมอไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ

จริงๆ แล้วภาวะที่ไม่ควรตั้งครรภ์เลยก็คือ คนที่มีโรคประจำตัวที่ค่อนข้างอันตราย เช่น โรคหัวใจชนิดรุนแรง เพราะถ้ามีการตั้งท้องขึ้นมาจะทำให้เกิดอันตรายกับคุณแม่ได้มาก เพราะช่วงที่ตั้งครรภ์จะมีสารที่เป็นเลือดและน้ำในตัวมากกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดหัวใจวายได้ หรือไม่ก็กลุ่มคนที่โรคยังไม่สงบอย่าง SLE หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง เพราะถ้าตั้งท้องขึ้นมาก็จะทำให้โรคกำเริบหนักขึ้นได้

แต่ที่คุณหมอจะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์เลยก็คือ เป็นโรคที่เป็นอันตรายกับคุณแม่ถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจชนิดรุนแรง อีกกลุ่มก็คือทารกในครรภ์พิการจนไม่สามารถเลี้ยงได้ คือต่อให้ตั้งครรภ์จนคลอดออกมาแล้วก็ต้องเสียชีวิตแน่ๆ ส่วนใหญ่จะตรวจจากการที่อัลตราซาวด์ช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ คุณหมอก็จะพิจารณายุติการตั้งครรภ์

 

บทความที่น่าสนใจ

คนท้องออกกำลังกายได้ไหม ? ควรทำหรือไม่ในขณะตั้งครรภ์

คนท้องกินลาบดิบได้ไหม มีความเสี่ยงมาพร้อมกับความอร่อยหรือไม่ ?

7 วิตามิน คนท้อง วิตามินเสริมที่ดีที่สุดสำหรับคนท้องและทารกในครรภ์

ที่มา (1) (2)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ กับ เคล็ดลับสำคัญที่ควรต้องรู้
แชร์ :
  • 49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

    49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

  • วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

  • 49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

    49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

  • วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ