X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

'Pica' โรคประหลาด ทำเด็กกินทุกอย่าง ยกเว้นอาหาร!

บทความ 5 นาที
'Pica' โรคประหลาด ทำเด็กกินทุกอย่าง ยกเว้นอาหาร!

เราขอบอกเล่าโรคประหลาดนามว่าพิก้า (Pica) โรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการกิน คือกินทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ และสิ่งเหล่านั้นก็ไม่ใช่อาหารเสียด้วย

โรค Pica กินทุกอย่าง หากคุณกำลังคิดว่า เวลาลูกเผลอหยิบจับอะไรกลืนเข้าปากเป็นสิ่งผิด เราอยากให้คิดใหม่ บางทีอาจต้องดูแลเขาใกล้ชิดและใส่ใจมากขึ้น อย่างที่คุณแม่แคทเธอลีนของหนูน้อยแมดดี้ มัลลินส์ วัย 3 ขวบชาวอังกฤษ ได้เฝ้าสังเกตลูกมาตลอดเวลาจนพบว่า แมดดี้ สาวน้อยวัยแบเบาะมักชอบหยิบจับทุกอย่างเข้าปากตั้งแต่วัยเริ่มคลาน และนานวันก็อาการหนักมากขึ้น โดยสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่อาหารแม้แต่น้อย

story1_image-2
สาวน้อยแมดดี้กับความผิดปกติด้านการกิน

กินทุกอย่าง

แมดดี้ เริ่มมีความผิดปกตินับจากวัย 1 ขวบ ที่เธอเริ่มคว้าของชิ้นเล็กๆ อาทิ ของนุ่มๆ และเศษกระดาษเข้าปาก และยิ่งเติบโตขึ้น ก็ยิ่งเริ่มคว้าของทุกอย่างใกล้มือในบ้าน ไม่ว่า ผงซักฟอก เศษพรม น้ำมันปรุงอาหาร ก้อนหิน ปูนขาว ไม้ พลาสติก ทราย กระดาษกาว แมลง ปากกา ดินสอสี แป้งโด แกนทิชชู่ และอื่นๆ ที่ชวนนำความเครียดกังวลมาสู่แคทเธอลีนเป็นอย่างมาก “เธอไม่เหมือนเด็กที่ไหนเลยค่ะ หมอทุกคนที่รักษาเธอ บอกว่าไม่เคยเจอเด็กที่พิเศษแบบนี้มาก่อนเลย” คุณแม่กล่าว

ทุกวันนี้ คุณแม่แคทเธอลีนจะต้องเฝ้าระวังลูกสาวตลอดเวลา รวมทั้งคุณพ่อที่ต้องลาออกจากงานมาช่วยจับตาด้วย บ้านหลังนี้จึงไม่มีกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างงานศิลปะบนกำแพงบ้าน เพราะไม่เช่นนั้น แมดดี้จะคว้าสี ปากกา และทุกสิ่งเข้าปากอย่างแน่นอน และนั่นจะเป็นอันตรายอย่างมากหากเผลอปล่อยให้มันเกิดขึ้น

ต่อมา คุณแม่ได้พบสาเหตุที่แท้จริง หลังจากทำการทดสอบและประเมินผลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พบว่า แมดดี้เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคพิก้า โรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองในการหยิบของเข้าปากได้ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น สาวน้อยยังเป็นออทิสซึม (Autism) ที่มีพัฒนาการล่าช้าและมีความผิดปกติด้านกระบวนการของประสาทสัมผัส นั่นเป็นเหตุให้หนูน้อยชอบกระโดดโลดเต้น หมุนตัว และปีนป่ายตลอดเวลาที่มีโอกาส

ปัจจุบัน แคทเธอลีนต้องอุทิศตัวในแต่ละวัน แต่ละนาที ให้กับลูกสาวอย่างคลาดสายตาไม่ได้ ไม่เช่นนั้นเธอจะคว้าทุกอย่างลงคอ ทำให้เธอต้องรีบเอามือเข้าไปล้วงออก เพื่อป้องกันลูกสาวสำลักจนกว่าจะถึงเวลานอนหลับ “ใช่ค่ะ มันหนักหนามาก และลูกสาวของชั้นก็ไม่สามารถออกไปไหนได้เลย เพราะเราจะไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้าง”

โรคพิก้าคืออะไร? กินทุกอย่าง


โรคนี้คือความผิดปกติด้านการกิน กล่าวคือกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร โดยทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริง สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงและชาย หรือหญิงมีครรภ์ แต่พบมากในเด็กและมักพบว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย

โรคนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆในการดำรงชีวิต ไม่ว่า ความเสี่ยงต่อการอาเจียน ท้องผูก การติดเชื้อจากการที่สิ่งของอุดตันในช่องท้อง การสำลัก และการรับสารพิษ ในบางกรณี การผ่าตัดอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการเอาของเหล่านั้นออกจากช่องท้อง หรือเพื่อเป็นการซ่อมแซมการบาดเจ็บในเนื้อเยื่อที่อาจเกิดขึ้น

Pica คือพฤติกรรมหรือโรคที่ผู้ป่วยซึ่งมีความผิดปกติทางการรับประทานอาหารซึ่งสิ่งที่รับประทานนั้นไม่ใช่อาหาร (Pica is a pattern of eating non-food materials)
•      Pica มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า "magpie" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนกตัวหนึ่งที่กินไม่เลือก ซึ่งตัวโรคดังกล่าวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จนกว่าผู้ป่วยจะกินสิ่งที่มีพิษ มีสารตกค้าง ของมีคม หรือโลหะที่มีสนิม โรคนี้มักพบในหญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กๆอายุระหว่าง 2 - 3 ขวบ ผู้มีปัญหาทางจิต ผู้มีปัญหาขาดแร่เหล็ก และสังกะสี แต่สาเหตุของโรค ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
•    สิ่งที่ผู้ป่วยโรคปิก้ากินเข้าไปมีมากมาย นับตั้งแต่ เส้นผม ดิน โคลน สี แมลง ปูน ชอล์ค  สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาชักเงา ตะปู เหรียญ ผงซักฟอก บุหรี่ ก้นบุหรี่ ขี้เถ้า กาว  กระดาษ ทราย รากไม้ โลหะ ไปจนกระทั่งเถ้ากระดูกของคนรักที่จากไป และอุจจาระ
      โรค Pica เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วโลก และเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชาย และเพศหญิงเท่าๆกัน และยังไม่ตัวเลขทางระบาดวิทยาที่แน่นอน ส่วนใหญ่มักพบการเกิดโรคในเด็กและพบร่วมกับภาวะผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามากกว่าเด็กที่ป่วยเป็น Pica โดยไม่มีโรคหรือภาวะอื่นแทรกซ้อน ผู้ป่วย Pica ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่หาได้ยาก เว้นแต่จะติดพฤติกรรมเหล่านั้นมาตั้งแต่วัยเด็ก
อย่างไรก็ตาม หากพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 18 เดือน ถึง 2ขวบปี จะไม่ถือเป็นความผิดปกติ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวนี้ยังแยกแยะว่าสิ่งใดรับประทานได้หรือไม่ และไม่อยากแยกแยะได้ว่าสิ่งใดมิใช่อาหาร และเป็นอันตรายแต่ในบางสังคม ไม่ถือการกินบางสิ่งบางอย่างเป็นพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ เช่นชาวพื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย (aborigines) ที่รับประทานดินโคลนเพื่อการเจริญพันธุ์ หรือในประเทศตุรกี ผู้หญิงสาวได้รับการสนับสนุนให้รับประทานดินโคลนเพื่อเพิ่มการเจริญพันธุ์เช่นกัน
 
         แม้ความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเป็นปัญหาที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็มีความสำคัญทางคลินิก และถูกจัดอยู่ในโรคทางจิตเวช ตามเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder (DSM-IV)
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคPica
๑.  ต้องรับประทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร หรือสิ่งซึ่งไม่มีสารอาหารต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน
๒. สิ่งที่รับประทานนั้นไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของบุคคลนั้น
๓. สิ่งที่รับประทานไม่ใช่ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
๔. ถ้าพฤติกรรมเกิดขึ้นร่วมกับความผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่นภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ภาวะบกพร่องทางพัฒนา จิตเภท มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการวินิจฉัยทางคลินิก
สาเหตุของโรค
   สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด มีหลายสมมติฐานไม่ว่าสมมติฐานทางเคมี ชีวภาพ สังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และพลวัตร ที่พยายามจะอธิบายพฤติการณ์ดังกล่าว ดังนี้
๑. ภาวะบกพร่องทางโภชนาการ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่หนักแน่นพอเกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางโภชนาการกับโรคปิก้า แต่ในปัจจุบัน สมมติฐานนี้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเนื่องจาการพัฒนาวิธีการที่จะอธิบายลักษณะทางกายภาพ แร่ธาตุ และเคมีของโรคปิก้า ซึ่งผู้ป่วยปิก้า ที่รับประทานดินโคลนและดินมักถูกวินิจฉัยว่ามีความสัมพันธ์กับการขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุ โดยเฉพาะถูกเชื่อมโยงกับภาวะการขาดธาตุเหล็ก
๒. ปัจจัยด้านครอบครัวและวัฒนธรรม การรับประทานสิ่งแปลกๆเด็กอาจเห็นต้นแบบจากพ่อแม่ของเขาและเรียนรู้ผ่านการได้รับการเสริมแรง โดยเฉพาะการรับประทานดิน โคลน เป็นต้น ได้รับการยอมรับในหลายๆสังคมโดยไม่ถือว่าเป็นความเป็นความเจ็บป่วย อาทิ กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกา กลุ่มชนทางตอนใต้ของอเมริการ และชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย
            ๓. ความเครียด เช่น การถูกแยกจากพ่อแม่ การพลัดพรากจากแม่หรืออาการขาดแม่ (maternal deprivation)  ถูกพ่อแม่ละเลย ไม่เอาใจใส่ ถูกกระทำด้วยความก้าวร้าวรุนแรงความสัมพันธ์ที่ห่างเหินระหว่างพ่อแม่กับเด็ก เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคPica
๔. ฐานะยากจน เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีฐานะยากจนมักขาดการดูแลจากพ่อแม่ซึ่งมีผลต่อการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
๕. การไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นอาหารกับสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญา การแยกแยะประกอบไปด้วย ๒ กลไก ได้แก่ การรับรู้ความรู้สึกอิ่มในสิ่งที่รับประทานเข้าไปและความอยากจะรับประทานอาหารชนิดอื่นๆ และความกลัวอาหารชนิดใหม่ๆที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน ซึ่งพบว่ากลไกทั้ง ๒ อย่างของผู้ป่วยโรคPica มีความบกพร่องผลต่อร่างกายเนื่องมาจากโรคPica คือได้รับสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะพิษจากสารตะกั่ว  หรืออาจติดเชื้อจากปรสิตชนิดต่างๆเช่น toxoplasmosis และ toxocariasis
         ถึงแม้โรคPicaจะพบได้ไม่มากและจะพบในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ผลจากโรคนี้อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อพัฒนาการด้านร่างกายในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคแล้ว จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ดังนั้นพ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างมากกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคนี้โดยการ
 
  ๑. ดูแลสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์
 
  ๒. การเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
 
  ๓. จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ให้เด็กมีโอกาสรับประทานอาหารของที่เป็นพิษ
 
  ๔. การเลี้ยงดูเอาใจใส่ให้ความรักแก่ลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากใยครอบครัว

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง:
ลูกมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ (Eating Disorder) หรือเปล่า?
ไม่อยากอ้วนแต่กินไม่หยุด ทำไงดี

https://psychology-easy.blogspot.com/2012/10/pica-diseases.html

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

อิสราภรณ์ บุนนาค

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • 'Pica' โรคประหลาด ทำเด็กกินทุกอย่าง ยกเว้นอาหาร!
แชร์ :
  • ลูกก้นแดง เกิดจากอะไร รุนแรงไหม ต้องทำอย่างไรถึงหาย ?

    ลูกก้นแดง เกิดจากอะไร รุนแรงไหม ต้องทำอย่างไรถึงหาย ?

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • ลูกก้นแดง เกิดจากอะไร รุนแรงไหม ต้องทำอย่างไรถึงหาย ?

    ลูกก้นแดง เกิดจากอะไร รุนแรงไหม ต้องทำอย่างไรถึงหาย ?

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ