ย่านพาหุรัด เป็นช่วงของ ถนนพาหุรัด ในท้องที่ของ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยจะเริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชรนั่นเอง ซึ่งที่นี่เป็นย่านสีสัน มีชีวิตชีวา เพราะถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นอินเดียเลย
ถนนพาหุรัด เป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมาย และหลากหลายทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ไม่ว่าจะเป็นชุดไทย – การแสดงนาฏศิลป์ ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆ ที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆ คน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย”เมืองไทย
พูดถึงคำว่า ลิตเติ้ล อินเดีย ใครๆ ก็ต้องคิดถึง ย่านพาหุรัด แน่นอน ซึ่งนอกจากชุมชนของคนอินเดียนี้แล้ว อีกสิ่งที่เป็นที่เลื่องชื่อลือชาของที่นี่ก็คือ ผ้า นั่นเอง ที่นี่ถือว่าเป็นสวรรค์ของคนรักผ้าเลยทีเดียว ย่านพาหุรัดนี้ตั้งอยู่กลางเมืองจัดว่าเป็นสถานที่ ที่มีสีสันวัฒนธรรมน่าสนใจสุดๆ ใครอยากลองไปเที่ยวอินเดีย แนะนำว่าให้ลองมาเยือนย่านนี้ไปก่อนได้เลย ว่าแล้วก็ตามมารู้จักที่นี่กันดีกว่า
ถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า “ถนนพาหรัด”
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 15 สถานที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ เดินทางไม่กี่นาทีถึง ตอบโจทย์นักเดินทางอย่างเรา!
Phahurat Road, Thailand’s number one fabric market 1
ที่มาของ ย่านพาหุรัด
จากเอกลักษณ์ต่างๆ ของบริเวณรอบๆ ย่านพาหุรัด แห่งนี้ กว่า 100 ปีมาแล้วที่แห่งนี้ เป็นย่านการค้าที่สำคัญอย่างมาก โดยมีมาตั้งแต่ในสมัยของรัชกาลที่ 5 แล้ว ซึ่งแต่ก่อนนี้ย่านนี้จะเรียกว่า บ้านญวน โดยในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ได้มีชาวญวนมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ ชาวญวนเหล่านี้อพยพมาตั้งแต่เมื่อตอนที่เกิดจลาจลวุ่นวายในเมืองเว้นั่นเอง โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ก็ให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้พักอาศัย คือบริเวณแถวพาหุรัดนี้ ทำให้ พาหุรัด ถือได้ว่าเป็นแหล่งชุมชนชาวปัญจาบและชาวซิกข์ที่ใหญ่ที่สุดในไทยเลย
ที่นี่ได้รับฉายาว่า “ลิตเติ้ล อินเดีย” (Little India) เมืองไทย โดยโซนใหญ่ๆ ที่เที่ยวขนาดย่อมๆ ที่มีชุมชนคนอินเดียอยู่ ก็คือบริเวณของ ห้าง India Emporiam และ ตลาดพาหุรัด รวมถึงมี คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา วัดซิกข์แห่งแรกของไทย ที่ตั้งอยู่กลางย่านพาหุรัดแห่งนี้อีกด้วย ซึ่งนอกจากนี้ไม่ไกลกันก็ยังมีทั้งกลิ่นอายของความเป็นไทยและความเป็นจีน ผ่านตึกราบ้านช่องและผู้คนอยู่รวมกันด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นความหลากหลายทางวัฒธรรมที่รวมกันได้แบบสวยงามจริงๆ
อีกเสน่ห์ของย่านเมืองกรุง ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เป็นอีกอินเดียในภาพจำของใครหลายๆ คน ที่แม้ว่าจะไม่เคยไปเยือนประเทศอินเดียมาก่อน แต่ก็สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายและวัฒนธรรมที่ยังคงมีอยู่ ใครอยากเที่ยวเมืองไทยเหมือนไปเมืองนอก มาเยือน ลิตเติ้ลอินเดีย แห่งนี้ ก็ได้เหมือนกัน
Phahurat Road, Thailand’s number one fabric market 2
อดีต “พาหุรัด” กับเหตุเพลิงไหม้บ้านญวนเมื่อ 130 ปีก่อน
พาหุรัด ถือเป็นย่านตลาดผ้าที่เก่าแก่ที่สุดของไทยในเขตพระนคร และมีชื่อเสียงว่าเป็นพื้นที่แห่งสีสัน (ของผ้า) ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตคนอินเดีย หรือชาวภารตะได้ชัดเจนที่สุด เมื่อ 130 ปีก่อนพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นย่านการค้าที่รุ่งเรืองของชาวญวน ทว่าความสวยงามของย่านพาหุรัดกลับไม่ได้เกิดจาก ฝีมือของโยอาคิม กรัซซี สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้สร้างวังบูรพา ให้เป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian) แต่อย่างใด แต่เกิดจากความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาเพลิงไหม้ในชุมชน ที่ตึกรามบ้านช่องติดกันเป็นแนวยาว โดยมีปลายทางคืออัคคีภัยที่สร้างความเสียหายให้กับบ้านของชาวญวนนับไม่ถ้วน
ความเสียหายกัดกินทั่วทั้งบริเวณ จนทำให้เกิดพื้นที่ว่างเป็นทางยาวกว่า 525 เมตร ย่านเศรษฐกิจขาดสะบั้นลงทันทีเมื่อชาวญวนได้ย้ายหนีออกไป แต่ทันทีที่ถนนพาหุรัดถูกสร้างขึ้น เส้นทางที่เหมาะกับการค้าขายและเดินทางขนส่งง่าย ตึกสองแถวถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ ก็ทำให้มีคนจากทางตอนเหนือของอินเดียในรัฐปัญจาบจำนวนมาก เข้ามาจับจองอาคารหาบเร่ขายของตั้งแผงลอยกันอยู่ที่นี่
ยุคที่บ้านของชาวญวนได้ถูกเพลิงมอดไหม้ลง ถนนเส้น “พาหุรัด” ก็เกิดขึ้นมาแทนที่ความว่างเปล่านั้น…
และเพื่อให้พาหุรัดเป็นย่านเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องกับถนนเจริญกรุง จึงมีการขุดคลองข้ามเมืองให้เชื่อมกับสำเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าของคนจีน เกิดเป็น สะพานหัน ทำให้ถนนพาหุรัด และสำเพ็งเชื่อมต่อกัน และนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยนั้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 15 ทริปนั่งรถไฟเที่ยว จุดเช็คอินยอดฮิต ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ!
Phahurat Road, Thailand’s number one fabric market 3
ไฮไลท์ ของ ย่านพาหุรัด
และสิ่งหนึ่งที่เป็นไฮไลท์ของ พาหุรัด แห่งนี้ ก็คือ “ผ้า” นั่นเอง เรียกว่าถ้าเราจะซื้อผ้าผืนใหญ่ๆ ไปตัดเสื้อผ้าสักผืนสองผืน เราก็ต้องนึกถึงที่นี่เป็นแห่งแรกเลย เพราะร้านค้าของที่นี่ส่วนใหญ่จะเน้นขายสินค้าประเภทผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าตัดเสื้อ เสื้อผ้าสำเร็จรูปนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น ชุดไทย ชุดการแสดงนาฎศิลป์ ชุดจีน เป็นต้น
โดยเฉพาะชุด “ส่าหรี” เครื่องแต่งกายของสาวอินเดีย โดยการนำเอา 5 เมตร มานุ่งด้วยวิธีการพันผ้า ซึ่งก็จะมีแบบเป็นเอกลักษณ์มากกว่า 30 แบบต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์การตัดเย็บต่างๆ รวมไปเครื่องประดับตกแต่งแบบอินเดีย ทั้ง กำยาน น้ำมันหอม เทียนหอม ของใช้แบบอินเดีย ของชำร่วย เครื่องเทศต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ อาหารอินเดีย คือถ้าใครอยากลองอาหารอินเดียแบบต้นตำรับ ก็ต้องมาที่นี่เท่านั้น
ความได้เปรียบของพ่อค้าแม่ค้าชาวอินเดีย คือการนำผ้าหลากสีที่นำเข้าจากประเทศอินเดียโดยตรง มาส่งขายที่พาหุรัด ถือเป็นการนำเข้าวัฒนธรรมต่างถิ่น ที่หาดูได้ยาก ผ้าที่ถูกถักทอแต่งแต้มสีสันอย่างมีเอกลักษณ์ ทำให้หลายคนทั้งพื้นที่ใกล้เคียงและห่างออกไปหลงใหล “จะซื้อผ้าต้องมาพาหุรัด” นิยามของเขตการค้าย่านนี้ถูกส่งต่อและผลิตซ้ำต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และได้รับฉายาว่า “Little India” เนื่องจาก “วัฒนธรรมอินเดีย” ที่เริ่มแพร่หลายภายในย่าน เพราะมีผู้อพยพจากรัฐปัญจาบมาอาศัยอยู่ในย่านพาหุรัดอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันพื้นที่สองข้างทางของพาหุรัด ตกแต่งด้วยตึกพาณิชย์ และประดับด้วยสีสันจากผ้า เสียงบทสวดขับเคลื่อนผู้คนให้ไปรวมตัวกันที่วัดซิกข์ เพื่อทำพิธีกรรมบางอย่าง ชั่วขณะหนึ่งที่เดินผ่านวัดซิกข์คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา เราจะได้ทั้งกลิ่นธูปกลิ่นกำยานในแบบที่ไม่เคยได้กลิ่นมาก่อน หรือแม้แต่ภาษาในบทสวดก็เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ และเมื่อให้กลิ่นนำทางไป เราจะพบว่ากลิ่นนั้นหลุดออกมาจากซอกซอย ที่ถ้าเดินผ่านไปเฉย ๆ เราอาจจะไม่สนใจเลย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : สถานที่ท่องเที่ยว 4 ภาค วิวสวย ๆ แหล่งท่องเที่ยวไทย มีที่ไหนบ้าง ?
Phahurat Road, Thailand’s number one fabric market 4
สินค้าส่งตรงจาก “ประเทศอินเดีย” ในราคาเป็นกันเอง
หากมองแค่หน้าปกของหนังสือ ภาพรวมของพาหุรัด ก็คงเป็น “ตลาดผ้า” ที่ครึกครื้นตลอดเวลาตามที่คนเล่ากัน แต่เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ตามซอกซอยต่าง ๆ นั้นกลับเป็นชุมชนที่คนอินเดียมากมายอาศัยอยู่ พอถึงหน้าปากซอย กลิ่นกำยานจะถูกกลบด้วยกลิ่นเครื่องเทศจาง ๆ จากซาโมซ่าทอด ภาพสีสันของผ้าเปลี่ยนเป็นสีขนมหวาน ๆ ทั้งขนมลาดู จาเลบี้ ขนมหน้าตาแปลก ๆ ที่แม้แต่ในเซเว่นก็ไม่มีขาย ผู้คนที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพ่อค้าแม่ค้าต้อนรับผู้มาเยือนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
ไม่ใช่แค่ความต้องการที่จะขายผ้าอย่างเดียว ในพาหุรัดมีครอบครัวชาวอินเดียนับร้อย ที่ต้องการมาตั้งตัวสร้างชีวิตครอบครัวในเมืองไทย ซึ่งในอดีตนั้น “ผ้า” เป็นสิ่งของที่แปลกตา สำหรับคนไทยและทำรายได้สูง คนอินเดียจึงเลือกที่จะเปิดร้านขายผ้า แต่พอเวลาผ่านไปลูกค้าของพาหุรัดกลับไม่ได้มีแค่นักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยและต่างชาติ เมื่อมีคนอพยพมามากขึ้นเรื่อย ๆ “คนอินเดียด้วยกันเอง” จึงเป็นหนึ่งในลูกค้าที่คนในพาหุรัด ต้องหาสิ่งของมาขายเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด ทำให้พาหุรัดเป็นพื้นที่ที่มีของขายจากอินเดียอยู่เยอะมาก ๆ ทั้งกำยาน ธูป รูปปั้นเทพแกะสลัก อุปกรณ์ไหว้เทพ เครื่องแต่งกาย ขนมหวาน อาหารคาว ที่สำคัญ “ราคาเป็นกันเองสุด ๆ”
ที่มา : (wongnai) (trueid)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ไขข้อข้องใจ ทำไมยอดมณฑปของ โลหะปราสาท จึงมีสีที่เปลี่ยนไป
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!