ใครว่า ที่เที่ยวเชียงใหม่ มีดีแค่ธรรมชาติ เมื่อย่างเข้าหน้าหนาวหลายครอบครัวคงมองหารที่เที่ยวเป็นแน่ และจังหวัดยอดฮิตที่เมื่อพูดถึงหน้าหนาว คงหนีไม่พ้นเชียงใหม่ แต่วันนี้เราจะพาไปชม ที่เที่ยวเชียงใหม่ แต่ไม่ได้จะพาไปชมธรรมชาตินะ วันนี้เราจะย้อนยุคนิดนึง ไปชม พิพิธภัณฑ์ ที่น่าสนใจในเมืองเชียงใหม่กัน
1. พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ภายใต้การกำกับดูแลของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้รับการออกแบบ ตกแต่งภายในแบบร่วมสมัย ผสมผสานกับเอกลักษณ์ล้านนา เพื่อให้สอดคล้องกับการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และการใช้เงินตราล้านนา โดยนำเสนอผ่านภาพวาด วีดิโอ แอนิเมชั่น และเกม ควบคู่กับการจัดแสดงเงินตราประเภทต่าง ๆ ที่เคยใช้ในดินแดนล้านนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
นิทรรศการถาวร อาคารอเนกประสงค์
- ชั้น 1 จัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา การก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ และประวัติ ของอาคารจากบ้านทิพวรรณสู่พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่
- ชั้น 2 นิทรรศการ “วิวัฒนาการเงินตราไทย” จัดแสดงเงินตราโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน – ทวารวดีอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย ไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รวมถึงเงินตรานานาชาติที่แพร่หลายเข้ามา ผ่านการค้ากับต่างชาติ เรียนรู้เรื่องราวความสำคัญของเหรียญกับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเงินตราไทย ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์ ประเภทของเหรียญ และความเชื่อในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับเหรียญ ความสำคัญของเหรียญ ในชีวิตประจำวันและแนวโน้มในอนาคต ผ่านเทคโนโลยีมัลติมีเดียทันสมัยหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งผู้เข้าชมสามารถนำกลับไปเป็นที่ระลึกอีกด้วย
- อุโมงค์ทางเชื่อมระหว่างอาคารบ้านทิพวรรณ ไปยังอาคารอเนกประสงค์ เป็นเส้นทางที่จะนำผู้เข้าชมร่วมไขปริศนาเกี่ยวกับเรื่องราวรอบด้านของ “เหรียญ”
นิทรรศการหมุนเวียน อาคารอเนกประสงค์
- ชั้น 1 ชมนิทรรศการ “ลวดลายบนเงินตราล้านนา” ลวดลายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนเงินตราล้านนา สะท้อนความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ลวดลายเกี่ยวกับวิถีชีวิต เอกลักษณ์และความรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา ลวดลายเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และลวดลายเกี่ยวกับธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ จัดแสดงร่วมกับงานหัตถกรรมภาคเหนือ
ห้องสมุด ให้บริการสารสนเทศเกี่ยวข้องกับเหรียญกษาปณ์และเงินตราไทยในอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลองค์ความรู้ทั่วไปด้านต่างๆ
การเดินทาง
- รถเมล์เชียงใหม่ (RTC Chiang Mai City Bus) สายสีแดง R3 รถออกทุก 30 นาที
- รถเมล์ขาว สายสีส้ม (ขาไป) และสายสีแดง (ขากลับ) B1 รถออกทุก 40 นาที
วันและเวลาทำการ
- วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. (ปิดทำการวันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- รอบเข้าชมนิทรรศการ รอบแรก เวลา 09.00 น. และรอบสุดท้ายเวลา 14.30 น. โดยมีเจ้าหน้าที่นำชมพร้อมการบรรยาย
- รอบเข้าชมจัดทุก 60 นาที หรือตามความเหมาะสมในแต่ละวัน
**หมายเหตุ : สามารถตรวจสอบรอบเข้าชมในแต่ละวันได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 5322 4237 ในวันและเวลาราชการ**
ไม่มีอัตราค่าเข้าชม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 0 5322 4237
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : หยุดทั้งที เที่ยวไหนดี? ที่เที่ยวอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ต้องไปสักครั้ง!
2. ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เป็นสถานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถานเวียงกุมกาม โดยจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย มีห้องจัดแสดงทั้งหมด 5 ห้อง
- ห้องแรก จัดแสดงประวัติพญามังราย ผู้สร้างเวียงกุมกาม ในรูปแบบวีดีทัศน์
- ห้องถัดมา จัดแสดงประวัติความเป็นมาของเวียงกุมกาม ในรูปแบบวีดีทัศน์ 360 องศา
- ห้องที่ 3 จัดแสดงสถาปัตยกรรม เจดีย์จำลองขนาดเล็ก จากวัดต่างๆ ที่มีความสำคัญของเวียงกุมกาม
- ส่วนห้องที่ 4 จัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในเขตเวียงกุมกามพร้อมคำบรรยาย
- และห้องที่ 5 จัดแสดงเครื่องมือ อุปกรณ์ และช่วงเวลาในการขุดค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุ ของเวียงกุมกาม โดยสำนักศิลปากรที่ 8
ที่ตั้ง ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม หมู่ 7 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
เปิดทุกวัน เวลาทำการ 9.30-16.30 น. ไม่เก็บค่าเข้าชมสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 053-140 322
3. หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
อาคารหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ภายในพื้นที่ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการถาวร แหล่งขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงโบราณของวัดพระแก้วในอดีต ที่สร้างขึ้นตามคติของชาวไทยภาคกลาง และห้องสมุดฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียงเชียงใหม่ แหล่งค้นคว้าข้อมูลสาธารณะสำหรับชาวเชียงใหม่
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมืองเชียงใหม่มีช่วงผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 720 ปี และมีความสำคัญต่อพัฒนาการของประเทศไทยในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งด้วยเหตุนี้ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre) ได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ นับแต่สร้างเมืองเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน
การเดินทาง
- โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่ง คือ จากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปางถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร
- รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทุกวัน
- รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
- เครื่องบิน มีบริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
เปิดบริการทุกวัน วันพุธ – วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 – 16.30 น. (ปิดทำการวันจันทร์ – วันอังคาร)
อัตราค่าเข้าชม
คนไทย
- ผู้ใหญ่ 20 บาท
- เด็ก 10 บาท
ชาวต่างชาติ
- ผู้ใหญ่ 90 บาท
- เด็ก 40 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 053 – 217 793
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : แนะนำทริป สัมผัสเมือง 3 หมอก เที่ยวภาคเหนือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
4. พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
เนื่องจากชาวล้านนามีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน ภายใต้เอกลักษณ์ความงดงาม ภายนอกนั้นได้แฝงความหมายภายในที่สะท้อนถึงคติความเชื่อ และความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวล้านนา ผลผลิตต่างๆเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของดินแดนแห่งนี้มาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) ได้รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา ลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่าง ๆ เช่น พุทธศิลป์ พิธีกรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรมไว้ด้วยกัน มีนิทรรศการจัดแสดง 13 ห้อง และนิทรรศการหมุนเวียน 5 ห้อง
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาตั้งอยู่ที่อาคารศาลแขวง (เดิม) บริเวณตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในย่านกลางเวียงเชียงใหม่ เมืองแห่งประวัติศาสตร์
การเดินทาง
- โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่ง คือ จากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปางถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร
- รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ทุกวัน
- รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
- เครื่องบิน มีบริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 – 16.30 น. (ปิดทำการวันจันทร์ – วันอังคาร)
อัตราค่าเข้าชม
คนไทย
- ผู้ใหญ่ 20 บาท
- เด็ก 10 บาท
ชาวต่างชาติ
- ผู้ใหญ่ 90 บาท
- เด็ก 40 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 053 – 217 793
5. หอภาพถ่ายล้านนา
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ ได้ริเริ่มจัดตั้ง “หอภาพถ่ายล้านนา” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บภาพถ่ายโบราณอันทรงคุณค่ารวมถึงข้อมูลต่างๆที่ประกอบในภาพถ่ายเหล่านั้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่สู่สาธรณชน เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดของการนำข้อมูลต้นทุนทางวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นเอกลักษณ์หาที่ใดเหมือน ซึ่งจะก่อเกิดองค์ความรู้ที่จะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
อาคารหอภาพถ่ายล้านนา ตั้งอยู่บนพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตัวอาคารได้รับการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างขึ้นจากอาคารบ้านจ่าศาลหลังเก่า ให้มีความพร้อมด้านพื้นที่สำหรับรองรับการดำเนินงานของหอภาพถ่ายล้านนา ด้วยงบประมาณของสาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานและออกแบบให้สามารถรองรับภาระงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
- ศูนย์อนุรักษ์และค้นคว้า : เป็นศูนย์กลางสำหรับดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย เป็นพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ข้อมูล แหล่งสืบค้นข้อมูลอ้างอิงสำหรับนักวิจัยที่ต้องการข้อมูลศึกษาค้นคว้าภาพถ่ายเพื่อการสร้างสรรค์และวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านศิลปะภาพถ่าย
- ส่วนนิทรรศการหมุนเวียน : พื้นที่ห้องโถงชั้นสองของหอภาพถ่ายล้านนา สำหรับเผยแพร่ความรู้และผลงานเชิงวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบการนำเสนอด้วยนิทรรศการภาพถ่ายทั้งแบบดั่งเดิมและผลงานศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย ที่ผ่านการคัดเลือกโดยดุลพินิจของภัณฑารักษ์ประจำหอภาพถ่ายล้านนา
- ส่วนห้องสมุดดิจิทัล : แหล่งค้นคว้าข้อมูลภาพถ่ายที่ได้รับการอนุรักษ์ในรูปแบบดิจิทัลเเละอนาล็อก รวมถึงข้อมูลภาพที่เผยเเพร่ในรูปแบบของภาพถ่าย หนังสือภาพ ตำรา งานวิจัย เเละบทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านการถ่ายภาพ โดยใช้พื้นที่บริเวณชั้น 1 หอภาพถ่ายล้านนา ให้บริการสำหรับผู้สนใจสามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้โดยตรง
- ส่วนอบรมและกิจกรรม : พื้นที่อเนกประสงค์ ด้านหลังบริเวณชั้น 1 พื้นที่สำหรับจัดดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหอภาพถ่ายล้านนา รวมทั้งพื้นที่สำหรับประชุมสัมมนาและพื้นที่ปฏิบัติงานซึ่งสามารถรองรับการอบรมเชิงปฏิบัติการได้จำนวน 40-60 ท่าน
เปิดให้บริการทุกวันอังคาร–วันอาทิตย์ เวลา 8:30–16:30 น.(หยุดวันจันทร์) ไม่เสียค่าเข้าชม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 052-000 393
ที่มา : museumthailand.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
อัพเดท ที่เที่ยวเชียงใหม่ ในเมือง ยอดฮิต จองตั๋วแล้วเตรียมเดินทางเลย
20 ที่พักเชียงใหม่ ไปแอ่วเมืองล้านนา ที่พักไหนต้องไปสักครั้ง ที่เที่ยวเชียงใหม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!