พ่อแม่เลิกกันลูกควรเป็นของใคร
พ่อแม่เลิกกันลูกควรเป็นของใคร อย่าเพิ่งโวยวายอ่านก่อน!
กรณีที่ 1 กรณีพ่อและแม่จดทะเบียนสมรสกันและหย่าขาดกันด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย โดยไม่ต้องมีการฟ้องหย่า
- การหย่าด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย กรณีแบบนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถตกลงกันก่อนหย่าในเรื่องของทรัพย์สิน อำนาจการปกครอง และการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนค่าเลี้ยงชีพ ที่สำคัญต้องทำหนังสือยินยอมและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และนำไปจดทะเบียนหย่าที่เขต
- อำนาจการปกครองบุตร หรืออำนาจในการดูแลลูก ตามปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่จะใช้สิทธิในการดูแลลูกร่วมกัน จึงต้องมีทำความตกลงเป็นหนังสือระบุผู้มีอำนาจปกครองบุตร หากตกลงกันไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ชี้ขาดนะคะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาการแย่งตัวเด็กกันในภายหลัง
- การมีสิทธิในการอุปการะบุตรนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ คือ หากเวลาผ่านไป ปรากฏว่าพ่อหรือแม่ที่มีมีอำนาจปกครองบุตรประพฤติตนไม่สมควร หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี เช่น เมาสุราเป็นประจำ ประพฤติตนมั่่วสุม ศาลมีอำนาจเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้
- แม้สิ้นสุดด้วยการหย่าแล้วก็ตาม แต่ความเป็นพ่อแม่นั้นยังคงดำเนินต่อไปดังนั้น อีกฝ่ายที่ไม่ได้เลี้ยงดูลูก ไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือแม่ก็ตาม ยังมีสิทธิในการติดต่อกับลูกได้ตามสมควร เช่น การแวะไปเยี่ยมเยียน การโทรศัพท์ไปคุยด้วย การรับไปค้างที่บ้าน หรือการไปรับหลังโรงเรียนเลิก แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ และสิทธินี้ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะพ่อแม่ แต่ยังรวมถึงปู่ย่าตายาย หรือญาติสนิทของเด็กด้วย
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูลูก หากการหย่าเกิดจากความยินยอมของคุณพ่อคุณแม่ ทั้งสองจะต้องทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่า ทั้งคุณพ่อคุณแม่หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูลูกเป็นจำนวนเท่าใด ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนก็สามารถให้ศาลเป็นผู้กำหนดได้ ศาลจะชี้ขาดโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก
กรณีที่ 2 เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (แม้จะมีการจัดงานแต่งงานก็ตาม)
- ตามกฎหมาย เด็กจะต้องอยู่ในความดูแลของแม่เท่านั้น หากพ่อให้การรับรองบุตรเด็กสามารถใช้นามสกุลของพ่อได้และมีสิทธิได้รับมรดกหากพ่อเสียชีวิตแล้วเท่านั้น
กรณีที่ 3 ไม่ปรากฏบิดา
- ตามกฎหมาย : กรณีลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่ปรากฏชื่อบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย อำนาจการปกครองลูกต้องอยู่กับคุณแม่แน่นอน และคุณแม่สามารถใช้อำนาจปกครองทำการแทนลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้อย่างเต็มที
หากไม่ระบุชื่อบิดาในใบแจ้งเกิด
- ในใบแจ้งเกิดสามารถระบุชื่อมารดาเพียงคนเดียวได้ และคุณแม่จะมีสิทธิในตัวลูกอย่างเต็มที่ 100 % ที่จะปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว
- แม้ว่าเมื่อลูกโตขึ้น ต้องเข้าเรียนทำงาน หรือรับราชการใด ๆ ก็ตาม การไม่ระบุชื่อบิดาจะไม่มีปัยหาในการทำเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้น
- การกรณีที่มีเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตรในภายหลัง ต้องระบุชื่อพ่อจริง ๆ เท่านั้น ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก แนบไปกับคำขอเพิ่มชื่อในสูติบัตร โดยเขตจะพิมพ์สูติบัตรใบใหม่ที่มีชื่อบิดาด้วย ไม่สามารถระบุชื่อคนอื่นได้
อ้างอิง
mgronline
lawyerscouncil
บทความเกี่ยวข้อง
5 ผลกระทบของการหย่า ที่ลูกได้รับไปเต็มๆ
5 เหตุผล ทำไมการเเสดงความรักต่อหน้าลูกๆ ถึงมีเเต่ข้อดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!