5 ผลกระทบของการหย่า ที่ลูกได้รับไปเต็มๆ
ปฏิเสธไม่ได้คะว่า อัตราการหย่าร้างทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น เเม้ว่าการหย่าจะเป็นการเเก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุดก็ตาม เเต่ 5 ผลกระทบของการหย่า ที่ลูกได้รับไปเต็มๆ ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณเเม่หันมามองในเรื่องนี้ใหม่
5 ผลกระทบของการหย่า ที่ลูกได้รับไปเต็มๆ-01
1.ลูกจะวิตกกังวล
การหย่าร้าง เป็นเรื่องใหม่ของเด็ก ๆ เเละ เนื่องจากกิจวัตรหรือกิจกรรมในเเต่ละวัน จะเป็นการเปลี่ยนเเปลงไปจากเดิม เช่น ไม่มีคุณพ่ออยู่ด้วยเเล้ว คุณเเม่ไปรับเขาจากโรงเรียนเเทน ไม่มีการไปบ้านคุณปู่ คุณย่าอีกต่อไป หรือเวลาที่ถามถึงคุณพ่อ คุณเเม่มีท่าทีที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงอารมณ์ เเละ ความเครียดของคุณเเม่เองที่จะส่งผลถึงลูกได้ด้วยเช่นกันค่ะ รวมถึงระหว่างการตัดสินใจหย่า ควรหลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบทั้งหมด ไม่ให้ลูกเผชิญก็ จะยิ่งเป็นการป้องกันได้เหมือนกัน
เเต่อย่างไรก็ตามค่ะ เมื่อเด็ก ๆ ที่คุณพ่อ คุณเเม่หย่าขาดจากกันโตขึ้นไป ก็มีเเนวโน้มที่เด็ก ๆ อาจจะต้องเผชิญกับอาการวิตกกังวล เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาจะมีคนรัก หรือไปเที่ยวกันสองต่อสอง ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเด็ก ๆ อีกด้วย
2.ลูกกลายเป็นคนที่มองโลกในเเง่ร้าย
การเป็นพยาน ที่อยู่ในเหตุการณ์ของการหย่าร้างนั้น อาจจะส่งผลอย่างมากต่อเด็ก ๆ ได้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ๆ ที่ไม่เคยต้องได้รับประสบการณ์ที่หนักหน่วง เเละ เครียดขนาดนี้ ซึ่งเเน่นอนว่าจะกลายเป็นผลกระทบที่มีต่อเด็ก ๆ ในเรื่องของทัศนคติต่อความสัมพันธ์ของเขาในอนาคตค่ะ
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ถ้าคุณพ่อ คุณเเม่ปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก การให้เกียรติ เคารพซึ่งกัน เเละ กัน จะช่วยให้ลูกรู้ว่าความขัดเเย้ง ในความสัมพันธ์ไม่จำเป็น จะต้องจบด้วยการเเยกทางเสมอไป กลับกันเเม้คุณพ่อ คุณเเม่ไม่คิดที่จะหย่า เเต่ต่างฝ่ายต่างไม่ให้เกียรติ ไม่เชื่อใจ ไม่เคารพกัน เเละ ละเมิดสิทธิของเเต่ละฝ่ายตลอดเวลา มันก็เป็นผลเสียพอ ๆ หรืออาจจะเเย่ยิ่งกว่าการหย่าร้างก็ได้นะคะ
5 ผลกระทบของการหย่า-02
3.ลูกจะมีปัญหาในการเชื่อใจคนอื่น ๆ
ต้นตอของการหย่าร้าง มักจะมาจาก การทรยศ หักหลัง โดยที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ปฏิบัติตนตามสัญญา หรือสิ่งที่ควรจะเป็นต่อชีวิตคู่ เเละ ขั้นตอนสำคัญที่สุดก็คือ เด็ก ๆ ไม่ควรจะมารับรู้รายละเอียดเหล่านี้ ดังนั้นเวลาที่คุณพ่อ คุณเเม่ จะโต้เถียงกัน หรือพูดคุยถึงเรื่องราวเหล่านี้ จงเเน่ใจว่าลูก ๆ จะไม่อยู่ในบริเวณนั้น หรืออย่างน้อย ก็รอให้ลูกหลับไปก่อนค่ะ เเละ หากต้องอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้ลูก ๆ ฟัง ให้อธิบายด้วยเหตุผล อย่างตรงไหนตรงมา เเต่ต้องละเอียดอ่อนที่สุดด้วยนะคะ
4.ลูกจะมีปัญหาสังคม
เด็ก ๆ จำนวนไม่น้อย ที่มีนิสัยเปลี่ยนไป หลังจากการหย่าของพ่อ แม่ เด็ก ๆ จะระเเวดระวังตัวเองมากขึ้น กลายเป็นเด็กขี้อาย หรือ ประหม่าต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียน ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อ แม่ไม่หย่าร้างกัน เด็กที่พ่อ แม่หย่ากันจึงไม่ได้อยู่ในกลุ่มเพื่อน หรือ กลายเป็นเด็กที่ไม่มีเพื่อนสนิทได้ค่ะ
5.การหย่ากระทบต่อการเรียน เเละ กิจกรรมของลูก
เด็กที่พ่อ แม่หย่ากัน หรือเเยกกันอยู่ จะมีเเนวโน้มในเรื่องของผลการเรียน ที่ร่วงลงอย่างเห็นได้ชัด หรือ กระทบต่อกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กทำ เช่น เล่นดนตรีหรือเล่นกีฬา ในเด็กเล็ก อาจจะเป็นเรื่องของพัฒนาการที่หยุดชะงัก หรือพัฒนาการที่ถดถอยลง
5 ผลกระทบของการหย่า-03
ผลกระทบในด้านอื่น ๆ
เเม้ว่าเด็กบางคนจะไม่ได้รับผลกระทบมาก เเต่ส่วนใหญ่เเล้วเด็กจะได้รับผลกระทบทั้งทางสุขภาพกาย เเละ สุขภาพจิตค่ะ
- เด็กบางคนมีปัญหาจนอาจจะต้องเลิกเรียนกลางคัน
- พยายามฆ่าตัวตาย
- ชอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม
- ร่างกายอ่อนแอ ป่วยบ่อยขึ้น
- มีความเครียดเรื้อรัง
- เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือด
- เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมสูบบุหรี่
- ขาดทักษะทางสังคม
- มีเเนวโน้มที่จะใช้ยาบรรเทาสมาธิสั้นเช่น ริทาลิน
- เเละเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ค่ะ
ในเมื่อความเสี่ยงสูงขนาดนี้เเล้ว ยังไงคุณพ่อคุณเเม่ควรพิจารณาดีๆ ก่อนที่จะตกลงปลงใจ หย่าขาดจากกันค่ะ ในบทความไม่ได้บอกว่า หากยุติความสัมพันธ์ในฐานะสามีภรรยา มาทำหน้าที่พ่อกับเเม่อย่างเดียว ผลกระทบของเด็กๆ จะร้ายเเรงเเบบนี้หรือไม่ เเต่ก็ขอให้ลองทบทวนดูดีๆ นะคะ ไม่ใช่เพื่อคนอื่น เเต่เพื่อลูกที่รักของคุณพ่อคุณเเม่ยังไงละคะ
ที่มา Momjunction
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
9 สัญญาณเตือน หนทางสู่ชีวิตคู่ที่ต้อง “หย่า” แน่นอน
5 สาเหตุที่คู่สามีภรรยา “หย่าร้าง”
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!