X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ต้องระวัง ! พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมใกล้ตัวที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก

บทความ 5 นาที
ต้องระวัง ! พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมใกล้ตัวที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก

“มือถือ” ได้กลายเป็นอวัยวะส่วนที่ 33 ของคนเราในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะทำงาน หรือเรียน เราต่างจำเป็นจะต้องใช้ “มือถือ” อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะต้องใช้ชีวิตกับเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วยความจำเป็นในหลาย ๆ ด้าน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าถ้า พ่อแม่ติดมือถือ จนละเลยความสัมพันธ์ในครอบครัวไป อาจจะส่งผลต่อเด็ก ทั้งทางด้านความสัมพันธ์ พฤติกรรม และอารมณ์ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กโดยตรง

 

พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมที่ส่งผลกระทบถึงลูกได้

เรามักจะเห็นว่าหลายครอบครัว เกิดพฤติกรรมในการปล่อยปละละเลยในการดูแลกันและกัน หรือแม้แต่ การพูดคุยกันในครอบครัว จนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ถึงแม้ว่ามือถือจะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนได้ แต่การใช้เวลาชีวิตไปกับการปัดหน้าจอมือถือ ก็ส่งผลเสียให้กับคุณ และคนรอบข้างได้เช่นกัน รวมถึงพฤติกรรมนี้ ก็ยังสามารถส่งต่อถึงลูกของคุณได้ แม้ว่าคุณไม่ต้องการก็ตาม

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่าจากการสำรวจพบว่า หนึ่งในปัญหาท็อปฮิตของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ ลูกติดมือถือจนไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ  ที่ควรจะทำ อย่างการไปเรียนหนังสือ ปัญหาลูกติดมือถือเป็นประเด็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครองกังวลและอยากแก้ไขมากที่สุด ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว พฤติกรรมดังกล่าว อาจจะเป็นพฤติกรรมที่มีผลมาจากการติดมือถือของพ่อแม่ และตัวผู้ปกครองเอง

 

เมื่อเด็กวัย 7 ขวบ เป็นแกนนำประท้วงพ่อแม่ที่ติดมือถือ

 

พฤติกรรมการติดมือถือของพ่อแม่เริ่มมากขึ้น จนละเลยความสัมพันธ์ภายในครอบครัว รวมถึงลูกที่ต่างก็คาดหวังให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของพวกเขาใส่ใจ และมีเวลาให้กับพวกเขามากยิ่งขึ้น

โดยเหตุการณ์ที่เราจะยกตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องราวของหนูน้อย Emil Rustige เด็กชาวเยอรมัน วัยเพียง 7 ขวบ ได้ผันตัวมาเป็นแกนนำกลุ่ม เพื่อทำการประท้วงบรรดาคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ให้เลิกหมกมุ่นอยู่กับโทรศัพท์มือถือ แล้วหันมาใส่ใจ และให้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น ด้วยสโลแกน “Play with me, not your smart phone.” พร้อมร้องตะโกนไปด้วยว่า “We are here. We are Loud.”

 

ต้องระวัง ! พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมใกล้ตัวที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก

 

ซึ่งเมื่อเห็นคลิปดังกล่าว หลายคนอดที่จะอมยิ้มในมุมมอง และความกล้าออกมาเรียกร้องของเด็ก ๆ กับปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่ แต่ในทางกลับกัน สิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใหญ่ทั้งหลาย ที่ละเลยความรักความสัมพันธ์ที่ควรมีในครอบครัว การขาดการใส่ใจกับลูกหลานของตนเอง การขาดการดูแล และเอาใจใส่ อันเนื่องมาจากสังคมก้มหน้า ให้เวลากับมือถือมากจนเกินไปนั่นเอง

บทความอื่นที่น่าสนใจ : เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?

 

ปัญหาเด็กติดมือถือ มาจากพฤติกรรมของพ่อแม่?

ในหลาย ๆ ครั้ง เรามักจะได้ยินผู้ใหญ่ส่วนมากต่างพากันเรียกร้องให้เด็ก ๆ ลดการใช้โทรศัพท์มือถือลง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ลดการแชท ลดสื่อโซเชียล รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านมือถือ พร้อมบอกถึงข้อเสีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสารพัด

แต่แท้ที่จริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์ รวมถึงผู้ปกครองทั้งหลาย อาจจะทำพฤติกรรมเหล่านั้นให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่างก่อนก็ได้ แม้คุณจะอ้างว่า คุณจำเป็นต้องใช้มือถือ หรือจดจ่ออยู่กับมัน เป็นเพราะเรื่องงานของคุณ ซึ่งตัวเด็ก ไม่สามารถเข้าใจได้หรอกว่า คุณเล่นมือถือด้วยเหตุผลอะไร แต่ประเด็นหลักก็คือ คุณไม่สามารถจัดสรรเวลาให้กับกิจกรรมอื่นในชีวิตของคุณได้ รวมถึงความสัมพันธ์กับลูก ๆ ของคุณ และคนในครอบครัว

 

พ่อแม่ติดมือถือกระทบพัฒนาการลูกแค่ไหน

พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพ่อ-แม่ และลูกน้อย ความสุขในการได้พูดคุยกับลูกหายไป แต่กลับแทนที่ด้วยพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความเบื่อหน่ายในการเลี้ยงดูทารก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่า พ่อแม่ติดมือถือ เป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวในปัจจุบัน

Dana Suskind รองศาสตราจารย์สาขากุมารแพทย์ศัลยกรรมมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าวว่า ภาษาคืออาหารสำหรับการพัฒนาสมองทารกในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิต หากพ่อแม่ติดมือถือ มัวแต่จดจ่อกับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็จะไม่ได้พูดคุยกับลูกมากพอ ซึ่งการพูดคุยนั้นสำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กอย่างมาก ทารกที่พ่อแม่พูดคุยด้วยจะสามารถสะสมคำศัพท์ในหัวและเรียนรู้ได้เร็วกว่าทารกที่ถูกปล่อยให้นั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบ

อย่างไรก็ตาม Suskind และผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ก็เชื่อว่า เป็นไปไม่ได้หรอกที่พ่อแม่จะไม่ดูโทรศัพท์มือถือเลย และเอาแต่จ้องลูกน้อยตลอดเวลา

 

พ่อแม่ติดมือถือ

 

การศึกษาพบว่า พัฒนาการทารกไม่ได้เกิดจากการได้ยินถ้อยคำเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบด้วย

Brock Ferguson ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการคำศัพท์ของทารกกล่าวว่า วิธีหนึ่งในการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกคือ การเล่าเรื่อง พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูก ชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งรอบตัว แล้วเล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่คุณและลูกเห็นในขณะนั้น

Suskind อ้างการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการพูดจะ “สว่างขึ้น” เมื่อทารกมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ ภาพสมองเช่นนี้แสดงว่าทารก “พยายามที่จะพูดคุย”

บทความอื่นที่น่าสนใจ : ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

อุปกรณ์มือถือของพ่อแม่นั้นกีดกั้นพัฒนาการเด็ก

ในปี 2014 มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารกุมารแพทย์ โดยนักวิจัยได้สังเกตผู้เลี้ยงดูเด็กขณะอยู่ในร้านอาหารพบว่า ผู้เลี้ยงดู 40 คน จาก 55 คน ใช้สมาร์ทโฟนระหว่างมื้ออาหาร นักวิจัยกล่าวว่า พ่อแม่ที่จดจ่อกับอุปกรณ์ในมือมีแนวโน้มที่จะตอบสนองลูกน้อยด้วยความรุนแรง

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า 54% ของเด็กบอกว่า พ่อแม่ของเขาเช็กโทรศัพท์มือถือบ่อยเกินไป

ทางด้าน Chip Donohue ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีในเด็กปฐมวัยที่สถาบันอิริกสันในชิคาโกกล่าวว่า การเป็นพ่อแม่ในยุคดิจิทัลนั้นไม่ง่าย พ่อแม่ควรจำไว้ว่า การพูดคุยกับลูกคือการสอน และอุปกรณ์ดิจิทัลพวกนี้ขัดขวางการสอนและการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ดังนั้น พ่อแม่จำเป็นต้องควบคุมการใช้อุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม

จากงานวิจัยต่าง ๆ ข้างต้นทำให้เราเห็นแล้วว่า ถึงเราจะเป็นพ่อแม่ในยุคดิจิทัลที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปเสียแล้ว แต่พ่อแม่ก็คือคนสำคัญที่สุดที่จะเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต จงอย่าปล่อยให้ช่วงเวลาสำคัญของชีวิตลูกผ่านเลยไปเพียงเพราะว่า…พ่อแม่ติดมือถือ เลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

การวิจัยพบ พ่อแม่ติดเล่นมือถือ กีดกั้นการพัฒนาสมองของลูก

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือ-แท็บเล็ตได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ

ที่มา : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ต้องระวัง ! พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมใกล้ตัวที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก
แชร์ :
  • ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

    ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

    ชัดเจน! คุณแม่ทดสอบเอง ถ้าพ่อแม่ติดมือถือจะพลาดอะไรไปเยอะแค่ไหน

  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาว แม่เตือน! เช็ดอวัยวะเพศลูกสาวให้สะอาด ระวังติดเชื้อ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ