สายสะดือพันคอ อันตรายไหม? จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสายสะดือพันคอเด็ก?

สายสะดือพันคอ เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งในช่วงของการตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก มาดูกันดีกว่าค่ะว่า สายสะดือพันคอนั้นเกิดจากอะไร คุณแม่จะรู้ได้อย่างไร และส่งผลอันตรายอย่างไรบ้างต่อทารกในครรภ์

 

สายสะดือ คืออะไร?

สายสะดือ เป็นคำที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มักนำมาใช้เรียก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ โดยสายสะดือนั้นถือเป็นแหล่งของพลังงานชีวิตของทารกเลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยสายสะดือนั้นเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก คอยส่งเลือด ออกซิเจน และสารอาหารที่จำเป็นให้แก่ทารกในครรภ์ คุณแม่หลายท่านคงมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของสายสะดือเป็นอย่างมาก แต่ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับทารกนั้นเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะสายสะดือพันคอจะพบประมาณ 1 ใน 3 ของทารก แต่ทารกเหล่านั้นเมื่อทำการคลอดแล้วมีร่างกายที่อุดมสมบูรณ์

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสายสะดือพันคอทารก คืออะไร?

ภาวะที่สายสะดือพันคอทารกในครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องปกติ จะพบประมาณ 15 – 35 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ที่มีการเคลื่อนไหวแบบสุ่ม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลทำให้เกิดสายสะดือพันทารก ดังต่อไปนี้

  • ทารกเคลื่อนไหวมากเกินไป
  • สายสะดือที่ยาวจนเกินไป
  • การตีบของสายสะดือ
  • ความผิดปกติ และความไม่สมบูรณ์ของสายสะดือ
  • มีฝาแฝดร่วมครรภ์
  • น้ำคร่ำมากจนเกินไป (polyhydramnios)

 

 

อาการของคุณแม่ที่ทารกมีสายสะดือพันคอ เป็นอย่างไร?

โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มีสายสะดือพันคอนั้นจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ซึ่งคุณแม่จะทราบได้ก็ต่อเมื่อสายสะดือนั้นไม่สามารถส่งผ่านเลือดที่มีออกซิเจนให้กับทารกในครรภ์ได้ จนทารกเกิดอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและส่งสัญญาณบางอย่างให้กับคุณ หรือบางครั้งคุณแม่อาจทราบได้จากการอัลตราซาวนด์ของแพทย์ขณะที่เข้าพบแพทย์ตามนัดหมายก็เป็นได้ โดยการอัลตราซาวนด์แบบสีเทาจะสามารถจับภาพสายสะดือได้อยู่ที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และการอัลตราซาวนด์แบบ Doppler จะสามารถจับภาพของสายสะดือได้ที่ 83 – 97 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลตราซาวนด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63

 

 

รูปแบบการพันของสายสะดือแบบไหนที่อันตราย?

สายสะดือมีหน้าที่ส่งเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน และสารอาหารต่าง ๆ จากแม่สู่ลูก และเป็นตัวกลางในการลำเลียงเลือดที่ขาดออกซิเจน และสารอาหารหลับคือสู่รก หากสายสะดือไม่การบีบรัด หรือมีการจำกัดหลอดเลือดแดงและพันอยู่รอบตัวหรือคอของทารก อาจนำไปสู่การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth asphyxia) โดยรูปแบบการพันของสายสะดือสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้

  • แบบปลดล็อก

เมื่อปลายสายสะดือที่เชื่อมกับรกตัดผ่านปลายที่เชื่อมต่อกับทารก จะถูกเรียกว่า การพันของสายสะดือแบบปลดล็อก และสายสะดือมีแนวโน้มที่จะคลายตัว และหลุดพ้นการพันร่างกายของทารกได้ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกในครรภ์เอง

  • แบบล็อก

เมื่อปลายสายสะดือที่เชื่อมต่อกับรกมีการไขว้กันที่ส่วนปลายที่ชื่อกับทารกในครรภ์ จะถูกเรียกว่า การพันของสายสะดือแบบล็อก และมีโอกาสน้อยมากที่สายสะดือที่พันอยู่จะคลี่คลายออกได้ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายของทารก

 

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการพันของสายสะดือประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ก็ทำให้ทารกเกิดความเสี่ยงที่จะขาดออกซิเจนได้ โดยมีกลไกดังต่อไปนี้

  • สายสะดือถูกบีบรัด ซึ่งหมายความว่าเส้นเลือดที่อยู่ในสายสะดือนั้นจะถูกกีดขวาง หรืออุดกั้น ทำให้เลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถส่งผ่านสายสะดือไปยังทารกในครรภ์ได้
  • สายสะดือรัดคอจนแน่น การที่ทารกมีสายสะดือพันคอนั้นหมายถึงมีความเสี่ยงสูงที่สายสะดือนั้นจะพันแน่นขึ้น หากมีการรัดแน่นบริเวณคอของทารกที่เป็นตำแหน่งของเส้นเลือดไหลอาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้

ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย หรือการเกิดภาวการณ์ขาดอากาศหายใจของทารกนั้นขึ้นอยู่กับความแน่นของการพัน ยิ่งพันแน่นขึ้นมาเท่าใดทารกก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากเท่านั้น

 

 

อาการบาดเจ็บของทารกตอนคลอดที่เกิดจาก สายสะดือพันคอ

นอกจากทารกจะสามารถเกิดภาวะขาดอากาศหายใจขณะที่อยู่ในครรภ์ที่เกิดจากสายสะดือพันคอแล้ว ยังสามารถได้รับบาดเจ็บตอนคลอดจากการพันของสายสะดืออีกด้วย โดยทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

  • ภาวะสมองทำงานผิดปกติเนื่องจากการ ขาดออกซิเจนหรือขาดเลือด (Hypoxic- ischemia encephalopathy : HIE) เป็นการบาดเจ็บที่สมองของทารกแรกเกิด ซึ่งเกิดจากการขาดออกซิเจน และการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังสมองอย่างจำกัดในช่วงเวลาใกล้คลอด ซึ่งเด็กบางคนที่มีภาวะ HIE นี้จะมีความผิดปกติทางสมอง อาทิ สมองพิการ โรคลมบ้าหมู และความพิการทางสติปัญญาและพัฒนาการ
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์
  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction : IUGR) โดยทารกจะมีขนาดของร่างกายเล็กกว่าปกติ และมีความเสี่ยงสูงที่สมองจะได้รับความเสียหายในช่วงของการคลอด ซึ่งแพทย์จะได้ทำการคลอดอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
  • การมีขี้เทาในน้ำคร่ำ (Meconium-Stained Amniotic Fluid: MSAF) หากทารกในครรภ์มีการอุจจาระครั้งแรกในช่วงของการตั้งครรภ์ อุจจาระนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้ โดยทารกอาจมีการกลืนน้ำคร่ำ และของเหลวที่มีเมโคเนียมเข้าไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่เรียกว่า ภาวะสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome: MAS)
  • ความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการผ่าคลอดที่มีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์อย่างเช่น คีม และเครื่องดูดสุญญากาศ
  • ภาวะเลือดเป็นกรดในเลือดจากสายสะดือ และความผิดปกติของการพัฒนาการทางระบบประสาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ครรภ์เป็นพิษอันตรายต่อคนท้องอย่างไร อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นแบบไหน

 

 

เมื่อแพทย์พบว่าสายสะดือพันคอทารก จะต้องทำอย่างไรบ้าง?

สายสะดือเป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาพร้อมกับทารกในครรภ์ ซึ่งการที่ทารกจะถูกสายสะดือพันนั้นถือเป็นเรื่องปกติ โดยเมื่อแพทย์ตรวจพบว่ามีสายสะดือพันคอทารกด้วยการอัลตราซาวนด์นั้น แพทย์จะสังเกตปฏิกิริยาของทารกว่ามีการแสดงอาการ หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับทารกหรือไม่ และถ้าหากคุณแม่นั้นอยู่ในช่วงของการใกล้คลอด หรือระหว่างการเจ็บท้องคลอด แพทย์จะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

 

  • ผ่าคลอด (C-section)

แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ว่าทารกนั้นมีการขาดออกซิเจนจากการถูกสายสะดือพันหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์อาจจะต้องเข้าสู่กระบวนการทำคลอดในทันที ซึ่งปกติแล้วจะใช้เป็นวิธีการผ่าคลอด (C-section)

  • คลอดแบบธรรมชาติ

หากการที่สายสะดือพันคอทารกไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจทำคลอดตามรูปแบบธรรมชาติ แต่อาจใช้เทคนิคการนำสายสะดือไปไว้เหนือศีรษะของทารก เพื่อลดการกดทับขณะที่พยายามนำช่วงไหล่และลำตัวของทารกออกจากช่องคลอด

 

ทั้งนี้ในกระบวนการคลอดของทั้งสองรูปแบบในการที่ทารกมีสายสะดือพันคอนั้น แพทย์จะทำการคอยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด และเข้าสู่กระบวนการคลอดให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และทารกที่กำลังจะลืมตาดูโลก

 

 

วิธีแก้ไขเกี่ยวกับสายสะดือพันคอทารก

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกัน หรือการรักษา แต่แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าคลอดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในช่วงของการคลอดบุตร และผลกระทบอื่นที่คุณแม่จะได้รับในช่องของการคลอดบุตรทางช่องคลอด แต่อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวนั้นไม่พบมากนัก เพราะส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ก็จะตัดสินใจที่จะคลอดบุตรตามธรรมชาติเอง ทั้งนี้วิธีที่จะช่วยป้องกันถึงแม้ว่าจะยังไม่มี แต่แพทย์นั้นจะคอยติดตาม และอัลตราซาวนด์เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในระหว่างที่สายสะดือนั้นพันไปมาในครรภ์

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเรื่องของสายสะดือพันคอทารก ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะประสบปัญหาดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะว่าอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการไปพบแพทย์ตามกำหนดเวลานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าแพทย์จะได้ตรวจสอบสุขภาพทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าทารกจะสามารถเจริญเติบโต และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ จนกว่าจะถึงกำหนดคลอดนั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รกคืออะไร รกทำงานอย่างไร และเป็นอวัยวะหล่อเลี้ยงชีวิตทารกจริงหรือไม่?

น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร คลอดธรรมชาติที่ลดความเจ็บปวดของคุณแม่

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสายสะดือพันคอ ได้ที่นี่!

สายสะดือพันคอ เกิดจากอะไรคะ คุณแม่ที่ทารกมีสายสะดือพันคอเป็นยังไงคะ

ที่มา : abclawcenters, utswmed, medicalnewstoday, healthline

บทความโดย

Siriluck Chanakit