X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่ของคนเพียงคนเดียว

บทความ 5 นาที
การเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่ของคนเพียงคนเดียว

หน้าที่ในการเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเพียงคนสองคน ที่ต้องช่วยกันแต่งเติมผ้าขาว ให้ออกมาได้อย่างสวยงามที่สุด

การเลี้ยงลูก ควรเป็นหน้าที่ใคร?

การเลี้ยงลูก

ใครกันนะ ที่เป็นคนนิยามหน้าที่ การเลี้ยงลูก ให้กับฝ่ายหญิงเป็นผู้ดูแลเพียงผู้เดียว หรือเป็นเพราะผู้หญิงตั้งท้องได้ หน้าที่ทุกอย่างจึงตกเป็นของผู้หญิงทั้งหมด

ถ้าครอบครัวไหน ได้สามีน่ารัก คอยช่วยดูแลทุกอย่างก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าครอบครัวไหนที่สามีไม่เคยแม้แต่จะเปลี่ยนผ้าอ้อม หรืออุ้มลูกนี่แล้วละก็ เรื่องใหญ่ อย่างน้อยลองหันหน้าคุยกัน ปรึกษาหารือว่าจะช่วยกันแบ่งเบาภาระกันและกันอย่างไรดี เพราะ การเลี้ยงลูก ร่วมกันนั้น ถือเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของคนสองคน ที่ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ให้ทุกอย่างนั้นออกมาได้อย่างดีที่สุด

การเลี้ยงลูก

แล้วจะทำอย่างไรดีละ ที่จะไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า เขาต้องทำทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว

Advertisement

1. ช่วยกันแบ่งหน้าที่ ใช่ค่ะ ถ้าคุณแม่รับทำทุกอย่างแต่เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่า ความเครียดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ทำไมเราไม่ตกลงแบ่งหน้าที่ ๆ ชัดเจนให้กันและกันดูละคะ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อยู่กะเช้า คุณพ่ออยู่กะกลางคืน คุณแม่ให้นม คุณพ่อเช็ดก้น หรือคุณแม่ทำกับข้าว คุณพ่อเล่นกับลูก เป็นต้น จงอย่าปล่อยให้คุณแม่ต้องทำทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว เพราะนั่นหมายถึง คุณกำลังโยนภาระทุกอย่างของการเป็นทั้งพ่อและแม่ให้กับเธอ

2. ให้คุณแม่ได้มีเวลาส่วนตัวบ้าง แน่นอนว่า คุณแม่คือบุคคลสำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูลูก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณแม่จะต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัวไป ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อ หรือคนรอบข้างแล้วละ ที่จะต้องคอยถาม หรือเสนอตัวช่วยให้กับคุณแม่บ้าง ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะอะไร แต่เพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาพักผ่อน และมีเวลาส่วนตัวที่จะทำอะไรได้บ้าง สำคัญที่สุด วิธีนี้ จะช่วยลดความเครียดและความกดดันในตัวของคุณแม่ได้อีกด้วย

3. ขอแค่ความเข้าใจ เพราะการทำหน้าที่แม่นั้น บอกได้เลยว่านอกจากเหนื่อยแล้วก็ยังเครียดอีกด้วย เพราะต้องคอยกังวลอะไร ๆ หลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับลูก รวมถึงอารมณ์ที่แปรปรวนจนคนรอบข้างต้องตกใจ ซึ่งใจจริงแล้ว คุณแม่ก็ไม่ได้อยากให้มันเกิดขึ้นหรอก แต่เป็นเพราะฮอร์โมนต่างหาก ที่ทำให้ต้องเป็นแบบนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่คนเป็นแม่ต้องการจากคุณสามีและคนรอบข้างมากที่สุดก็คือ ความเข้าใจ กำลังใจและการให้อภัย นั่นเอง

4. ชื่นชมในกันและกัน ไม่สำคัญว่าคุณพ่อ คุณแม่หรือคุณตาคุณยายจะเป็นคนดูแลลูกในตอนนั้น อย่าลืมที่จะกล่าวขอบคุณ พร้อมคำชื่นชมเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคนที่เขาช่วยเลี้ยงดูลูกในตอนนั้น ไม่ใช่เพื่ออะไร แต่เพื่อให้คนที่เขายื่นมาเข้ามาช่วยเรานั้น ได้มีกำลังใจ และอยากที่จะทำต่อไป เพราะสิ่งนี้ย่อมดีกว่าการตำหนิ หรือต่อว่าต่อขานอีกฝ่าย ให้รู้สึกบั่นทอนและไม่อยากที่จะช่วยหรือทำอะไรให้อีกเลย

5. ไม่มีคำว่า งานของฉัน หรืองานของเธอ ใช่แล้วละค่ะ การทำหน้าที่ของพ่อแม่ หรืองานบ้านต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นหน้าที่ของ “เรา” ที่จะช่วยกันทุกอย่างให้ดีขึ้น และคงไว้ซึ่งความผิดพลาดให้น้อยที่สุด

เลี้ยงลูก

ดังนั้น อย่าบอกว่าทำไม่เป็น เพราะไม่มีใครหรอก ที่เกิดมาแล้วเป็นพ่อแม่เลย ทุก ๆ คนย่อมต้องผ่านการเรียนรู้และอุปสรรคต่าง ๆ นา ๆ ด้วยกันทั้งนั้น รวมถึงพ่อแม่ของเราเอง แล้วทำไม เราถึงไม่ใช้โอกาสนี้ เรียนรู้ที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดีให้กับลูก ๆ ของเราให้มากที่สุดละคะ

คุณแม่หลายคนอาจกำลังประสบปัญหาครอบครัว ที่คุณสามีไม่ช่วยเลี้ยงลูก และมักปล่อยให้เรารับผิดชอบดูแลลูกอย่างหนักเพียงคนเดียว แถมหากมีปัญหาเกี่ยวกับลูก ความผิดก็มักมาลงที่แม่อย่างเราเป็นประจำ เราจึงขอรวบรวมเอาวิธีชวนคุณพ่อมาช่วยเลี้ยงลูกมาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางช่วยคุณได้ค่ะ

ปัญหาสามีไม่ช่วยเลี้ยงลูก อาจเกิดมาจากค่านิยมของผู้ชายไทย ที่มักมีหน้าที่หาเงินเข้าบ้าน และเข้าใจว่าหน้าที่ดูแลลูกเป็นของผู้หญิงเท่านั้น แต่ในยุคนี้ ผู้หญิงก็ต้องออกไปทำงานหาเงินเช่นกัน และมีผลวิจัยชี้ชัดออกมาว่า การที่คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูก จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย ค่านิยมเหล่านี้จึงอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกันบ้างแล้ว… เลี้ยงลูก

1. แสดงให้สามีรู้ว่า หน้าที่คุณพ่อสำคัญแค่ไหน

การจะเปลี่ยนความคิด ค่านิยมของคุณสามีนั้นไม่ง่ายนัก แต่การพูดคุยด้วยเหตุผลก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีค่ะ โดยคุณแม่อาจอธิบายให้คุณพ่อเข้าใจถึงประโยชน์ที่เขาควรเข้ามาช่วยดูแลลูก เช่น การที่สามีได้ใกล้ชิดลูก จะทำให้ลูกมีต้นแบบที่ดีในเรื่องของความหนักแน่น เข้มแข็งแบบผู้ชาย และการสร้างสายใยความรักระหว่างพ่อลูกเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณสามีไม่ช่วยเลี้ยงลูกเลย ความห่างเหินจะเกิดขึ้น และอาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัวได้

2. ให้ลูกนอนหลับอยู่บนอกคุณพ่อบ้าง

การสร้างความรู้สึกผูกพันระหว่างคุณสามีกับลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว สายใยความผูกพันระหว่างแม่ซึ่งอุ้มท้องลูกมาตลอด 9 เดือนย่อมมีมากกว่าพ่อ คุณอาจลองปล่อยให้ลูกนอนหลับบนแผ่นอกของคุณสามีบ้าง เพื่อสร้างช่วงเวลาอบอุ่นระหว่างคุณพ่อกับคุณลูกให้แนบแน่นยิ่งขึ้น

3. ให้กำลังใจสามีแม้ว่าเขาจะดูเงอะงะ

อาจมีบ้างที่คุณพ่อมือใหม่จะเกิดอาการเงอะๆ งะๆ ในการเลี้ยงลูก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยอุ้ม เปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนนม (ซึ่งเด็กบางคนก็ชอบกินนมจากเต้าคุณแม่มากกว่านมจากขวด) หากคุณยิ่งไปตำหนิ ต่อว่าคุณสามีที่ไม่คล่องแคล่วในการเลี้ยงลูก ก็อาจจทำให้เขาหมดกำลังใจ คุณแม่จึงต้องใจเย็นๆ อย่าลืมชื่นชมเมื่อเขาช่วยได้ดี และคอยช่วยอธิบายวิธีที่ถูกต้องเมื่อคุณสามียังไม่เชี่ยวชาญ

4. อย่าใช้อารมณ์บังคับสามี

เมื่อสามีไม่ช่วยเลี้ยงลูก คุณแม่บางคนอาจไม่เก่งเรื่องการสื่อสาร จึงอาจเผลอใช้อารมณ์งอน เหวี่ยง โวยวาย หรือตำหนิสามีแทนการพูดคุยด้วยเหตุผล ทำให้คุณสามีเกิดความรู้สึกรำคาญ ไม่พอใจ ต่อต้าน และเกิดการทะเลาะกันขึ้นจนกลายเป็นปัญหาครอบครัว คุณจึงอาจจะต้อใช้จิตวิทยาในการพูดสักหน่อยค่ะ

5. อย่าละเลยการดูแลสามี

การเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของชีวิตคู่ ในขณะที่เราเหนื่อยกับหน้าที่ดูแลลูกของเรา คุณสามีก็อาจเหนื่อยกับเรื่องอื่นๆ มาเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยากให้คุณสามีมาแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงลูกของเรา เราก็อาจต้องช่วยแบ่งเบาภาระของเขาด้วย โดยอาจช่วยดูแล ทำหน้าที่ของภรรยาอย่างเต็มที่ ให้คุณสามีมีความสุขและสบายใจ เขาจะได้มีพลัง กำลังใจในการช่วยดูแลลูกไงคะ

การเลี้ยงลูก

ที่มา: Scary Mommy

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

พฤติกรรมผิด ๆ ที่พ่อแม่ใช้เลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ

9 วิธี เลี้ยงลูกแบบไหนให้โตมาไม่ก้าวร้าว

มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • การเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่ของคนเพียงคนเดียว
แชร์ :
  • เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?”  วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

    เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?” วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

  • “ลูกสาวตัวแสบ”  ภายใต้ความดื้อรั้น เธอต้องการความรักและความเข้าใจมากกว่าที่คิด

    “ลูกสาวตัวแสบ” ภายใต้ความดื้อรั้น เธอต้องการความรักและความเข้าใจมากกว่าที่คิด

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?”  วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

    เมื่อลูกถามว่า “ทำไมคนต้องตาย ?” วิธีตอบคำถามยาก ๆ แบบฮีลใจและซื่อตรง

  • “ลูกสาวตัวแสบ”  ภายใต้ความดื้อรั้น เธอต้องการความรักและความเข้าใจมากกว่าที่คิด

    “ลูกสาวตัวแสบ” ภายใต้ความดื้อรั้น เธอต้องการความรักและความเข้าใจมากกว่าที่คิด

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว