คุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ NIPT สิทธิบัตรทอง คัดกรองดาวน์ซินโดรม ฟรี! โดย สปสช. ไฟเขียว! สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มในวงเงิน 2,700 บาทต่อครั้ง
29 ม.ค. 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศปรับเพิ่มวงเงินค่าตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี NIPT เป็น 2,700 บาทต่อครั้ง จากเดิม 1,700 บาท เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่แท้จริง
โดยวิธี NIPT เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงกว่าวิธีเดิม (Quadruple Test) สปสช. จึงเลือก NIPT เป็นทางเลือกหลักในการคัดกรอง แทนวิธี Quadruple Test ตั้งแต่ 2 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการตรวจคัดกรองที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจาก สปสช. ได้หารือกับผู้ให้บริการตรวจ NIPT พบว่าราคาอยู่ระหว่าง 2,500 – 5,000 บาทต่อครั้ง การปรับเพิ่มวงเงินเป็น 2,700 บาท ช่วยให้ผู้ให้บริการที่มีศักยภาพสามารถให้บริการได้ทั่วถึง ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณรวมประมาณ 644.20 ล้านบาท
การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมจำเป็นอย่างไร
หลายคนเข้าใจผิดว่าเด็กดาวน์ซินโดรมจะเกิดกับคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้น ความจริงแล้ว ถึงแม้คุณแม่จะมีอายุน้อย ก็มีโอกาสมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมได้
จากสถิติพบว่า
- 70-75% ของเด็กดาวน์ซินโดรม เกิดจากคุณแม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
- 25-30% เกิดจากคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอายุเท่าไหร่ ก็ควรให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมนะคะ อายุเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยง ยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าอายุน้อยแล้วจะไม่มีความเสี่ยงเลย

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่วิธี
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในครรภ์ มีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เรามาเปรียบเทียบ 3 วิธีหลักๆ ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing), Quadruple Test และการเจาะน้ำคร่ำ ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
|
|
NIPT
|
Quadruple Test
|
การเจาะน้ำคร่ำ
|
วิธีการ |
เจาะเลือดแม่ |
เจาะเลือดแม่ |
เจาะน้ำคร่ำ |
อายุครรภ์ที่ตรวจ |
ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ |
14-16 สัปดาห์ |
16-20 สัปดาห์ |
ความแม่นยำ |
> 99% |
80% |
> 99% |
ความเสี่ยง |
ไม่มีความเสี่ยงแท้งบุตร |
ไม่มีความเสี่ยงแท้งบุตร |
มีความเสี่ยงแท้งบุตร ประมาณ 0.5% |
ตรวจอะไรบ้าง |
-ดาวน์ซินโดรม,
-ความผิดปกติของโครโมโซม 13, 18,
-โครโมโซมเพศ |
-ดาวน์ซินโดรม
-ความผิดปกติของโครโมโซม 18 |
-ดาวน์ซินโดรม,
-ความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ
-ความผิดปกติทางพันธุกรรม
|
ข้อดี |
– แม่นยำสูง
– ปลอดภัย
– ตรวจได้เร็ว |
– ราคาถูกกว่า NIPT
– เข้าถึงบริการได้ง่าย |
– ยืนยันผลได้ 100%
– ตรวจหาความผิดปกติได้หลากหลาย
|
ข้อเสีย |
– ราคาค่อนข้างสูง
– อาจให้ผลบวกลวง/ลบลวง |
– แม่นยำน้อยกว่า NIPT
– ให้ผลเป็นค่าความเสี่ยง |
– มีความเสี่ยงแท้งบุตร
– ต้องรอผลนาน |
เหมาะกับ |
– หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการความแม่นยำสูง
– หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง เช่น อายุมาก, มีประวัติครอบครัว |
– หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการตรวจคัดกรองเบื้องต้น
– หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สะดวกตรวจ NIPT |
– กรณีผล Quadruple Test มีความเสี่ยงสูง
– ต้องการยืนยันผลวินิจฉัย
|

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมสำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ
หลายคนอาจสงสัย คุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ NIPT สิทธิบัตรทอง ฟรี แล้วคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิข้าราชการ ตรวจ NIPT ฟรีด้วยหรือไม่ จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า สิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ ยังไม่ครอบคลุมการตรวจ NIPT ไม่สามารถเบิกได้ แต่ สามารถตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
ทางเลือกเมื่อตรวจพบว่าลูกมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม
การตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ ช่วยให้คุณแม่มีทางเลือกมากขึ้น และมีเวลาตัดสินใจอย่างรอบคอบ
- ตั้งครรภ์ต่อ: หากคุณแม่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ คุณแม่จะมีเวลาศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว และเตรียมตัวสำหรับการดูแลบุตร รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- ยุติการตั้งครรภ์: คุณแม่สามารถเลือกยุติการตั้งครรภ์ได้กฎหมาย
theAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้องแข็งแรง ไม่มีภาวะเสี่ยงใดๆ และลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยทุกคนนะคะ
ที่มา : ไทยโพสต์ , โพสต์ทูเดย์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ , โรงพยาบาลรวมใจรักษ์, โรงพยาบาลวิชัยเวช, โรงพยาบาลเปาโล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
22 หมอสูตินรี ที่ไหนดี ปี 2568 รวมสูตินรีแพทย์ที่คุณแม่บอกว่าดี
ออกจากงานมาเลี้ยงลูก ดีมั้ย? ควรทำงานประจำ หรือเป็นแม่ Full Time
นวดคนท้อง ที่ไหนดี 10 พิกัด ที่นวดคนท้อง ปี 2568
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!