ทารกแรกเกิดกินน้อย จะขาดสารอาหารไหม? ลูกควรกินมากเท่าไรถึงพอดี

lead image

ลูกกินน้อยเกินไปหรือเปล่า ทารกแรกเกิดกินน้อยจะขาดสารอาหารไหม พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี? เรามีคำตอบค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนึ่งในความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยวัยแรกเกิด คือ เรื่องปริมาณนมที่ลูกน้อยกินได้ในแต่ละมื้อ เมื่อทารกน้อยดูเหมือนจะกินน้อยกว่าที่คิด หรือกินได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสงสัยและกังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ theAsianparent จะพาไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ ทารกแรกเกิดกินน้อย ว่ามีสัญญาณอะไรที่ควรสังเกตบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะแนวทางการรับมืออย่างเหมาะสมยังไง

ทำไม ทารกแรกเกิดกินน้อย

ทำไม? ทารกแรกเกิดกินน้อย

ปริมาณนมที่ทารกแรกเกิดต้องการนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนักแรกเกิด อายุครรภ์ สุขภาพโดยรวม และชนิดของนมที่ได้รับ (นมแม่หรือนมผง) นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้ทารกกินน้อยลงได้ เช่น

  • กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก

ทารกแรกเกิดมีกระเพาะอาหารที่เล็กมาก ในช่วงวันแรกๆ หลังคลอด กระเพาะอาหารของลูกอาจมีขนาดเท่าลูกแก้วเท่านั้น ทำให้กินนมได้ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

  • ต้องปรับตัวกับการดูดนม

ลูกน้อยวัยแรกเกิดยังอยู่ในช่วงปรับตัวกับการดูดนม ไม่ว่าจะเป็นการดูดจากเต้านมแม่หรือจากขวดนม อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และประสานงานระหว่างการดูด กลืน และหายใจค่ะ

  • ได้รับน้ำคร่ำ

ในช่วงแรกเกิด โดยเฉพาะใน 2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกอาจจะยังกินนมได้ไม่มากนัก เนื่องจากทารกอาจยังมีน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปค้างอยู่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน

  • ง่วงนอน

ทารกแรกเกิดกินน้อย อาจเกิดจากการที่ทารกส่วนใหญ่มักจะง่วงนอนมากและหลับบ่อย จึงอาจดูดนมได้ไม่นานก็หลับไป

  • ไม่สบายตัว

หากลูกน้อยวัยแรกเกิดไม่สบาย มีอาการคัดจมูก ท้องอืด หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ก็อาจทำให้ไม่อยากกินนมได้

  • ได้รับนมมากเกินไปในมื้อก่อนหน้า

เป็นไปได้เช่นกันค่ะที่ ทารกแรกเกิดกินน้อย เพราะลูกน้อยได้รับนมในปริมาณมากเกินไปในมื้อก่อนหน้านั้น และอาจยังรู้สึกอิ่มจึงกินน้อยลงในมื้อถัดมาค่ะ

  • การไหลของนมแม่ไม่สม่ำเสมอ

หากน้ำนมแม่ไหลแรงเกินไป หรือไหลน้อยเกินไป อาจทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดและไม่อยากดูดนม ทำให้กินน้อยได้ค่ะ นอกจากนี้ การให้นมลูกแบบไม่ถูกวิธีอาจทำให้ลูกดูดนมได้ไม่เต็มที่ หรือลูกดูดนมแม่น้อยลงจนส่งผลให้ต่อมน้ำนมผลิตนมน้อยลงไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทารกแรกเกิด ควรกินนมมากเท่าไร? ถึงจะพอดี

ปริมาณนมที่ทารกแรกเกิดต้องการนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน และเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ น้ำหนักตัว และความถี่ในการกิน ซึ่งโดยทั่วไปมีแนวทางดังนี้ค่ะ

  • ช่วง 1-2 วันแรก ทารกอาจกินนมเพียงครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร (ประมาณ 1-2 ช้อนชา) บ่อยๆ ประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน
  • ประมาณ 3-7 วัน ปริมาณนมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นครั้งละประมาณ 15-30 มิลลิลิตร (ประมาณ 0.5-1 ออนซ์) และกินบ่อยเท่าเดิม
  • วัย 1 เดือน ทารกส่วนใหญ่จะกินนมครั้งละประมาณ 60-90 มิลลิลิตร (ประมาณ 2-3 ออนซ์) ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน

ทารกแรกเกิดกินน้อย แบบไหนควรกังวล?

จะเห็นได้ว่า การที่ลูกน้อยวัยแรกเกิดกินนมทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งในช่วงแรก ถือเป็นเรื่องปกตินะคะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณอื่นๆ ร่วมด้วย หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • น้ำหนักไม่ขึ้นหรือลดลง การที่น้ำหนักของลูกไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ หรือกลับลดลง เป็นสัญญาณที่น่ากังวล
  • ปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งต่อวัน (หลังสัปดาห์แรก) แสดงว่าลูกอาจได้รับน้ำนมน้อยเกินไป
  • สัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง ซึมลง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
  • อาเจียนพุ่ง การอาเจียนออกมาในปริมาณมากและพุ่ง อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติ
  • ซึม ไม่ค่อยตื่นมากินนม ลูกดูไม่กระตือรือร้นและไม่แสดงอาการหิว
  • มีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ตัวเหลือง หายใจลำบาก

 

ลูกกินน้อย… จะขาดสารอาหารไหม?

หาก ทารกวัยแรกเกิดกินน้อย แต่ยังมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ปัสสาวะปกติ ตื่นตัว และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลมากนักค่ะ ร่างกายของทารกแรกเกิดมีความสามารถในการปรับตัวและดูดซึมสารอาหารได้ดี อย่างไรก็ตาม หากลูกกินน้อยร่วมกับมีสัญญาณที่น่ากังวลตามที่กล่าวมาข้างต้น อาจส่งผลให้ลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ค่ะ

แนวทางการดูแลและรับมือ เมื่อ… ทารกแรกเกิดกินน้อย

  1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ขณะให้นม ควรอยู่ในบรรยากาศที่เงียบสงบและสบาย เพื่อให้ลูกมีสมาธิในการกิน ควรหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน ปิดโทรทัศน์หรือเสียงดังอื่นๆ ขณะให้นม
  2. จัดท่าให้นมที่ถูกต้อง ตรวจสอบให้ลูกน้อยอยู่ในท่าที่สบายและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กระตุ้นการดูด หากลูกดูดๆ หยุดๆ หรือหลับไป ลองกระตุ้นเบาๆ ที่แก้มหรือฝ่าเท้า
  4. ให้นมบ่อยขึ้น หากลูกกินได้น้อยในแต่ละมื้อ ลองให้นมบ่อยขึ้น
  5. ตรวจสอบการไหลของน้ำนม เนื่องจากหากน้ำนมของคุณแม่ไหลแรงหรือน้อยเกินไป อาจทำให้ลูกกินได้ไม่ดี ในกรณีลูกกินนมผงควรตรวจเช็กขนาดรูจุกนมให้เหมาะสมกับวัยของลูกด้วยค่ะ
  6. ให้นมตามความต้องการของลูก (On Demand Feeding) โดยสังเกตสัญญาณความหิวของลูก เช่น เอามือเข้าปาก ทำปากขมุบขมิบ หันหน้าหาเต้านม/ขวดนม และให้นมเมื่อลูกต้องการ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับตารางเวลาเป๊ะๆ
  7. สังเกตสัญญาณความอิ่ม เมื่อลูกเริ่มหันหน้าหนี ปฏิเสธการดูด หรือดูดช้าลงและหลับไป แสดงว่าลูกอิ่มแล้ว ไม่ควรบังคับให้กินต่อ
  8. หลีกเลี่ยงการบังคับ อย่าบังคับให้ลูกกินนมจนเกินความต้องการ เพราะอาจทำให้ลูกต่อต้านและเกิดความเครียด
  9. อดทนและให้กำลังใจตัวเอง การเลี้ยงลูกน้อยวัยทารก ต้องใช้เวลาและความอดทน อย่าท้อแท้และให้ควรกำลังใจตัวเองนะคะ
  10. ติดตามน้ำหนักและพัฒนาการ จดบันทึกปริมาณนมที่ลูกกินในแต่ละมื้อ จำนวนครั้งของการปัสสาวะและอุจจาระ จะช่วยให้คุณสังเกตแนวโน้มและแจ้งข้อมูลแก่แพทย์ได้หากจำเป็น รวมถึงการชั่งน้ำหนักลูกเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ และสังเกตพัฒนาการด้านอื่นๆ จะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่าลูกได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณนมที่ลูกกิน หรือมีข้อสงสัยอื่นๆ เกี่ยวกับการกินและโภชนาการของทารกวัยแรกเกิด ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กเพื่อขอคำแนะนำและการประเมินที่ถูกต้องนะคะ

การที่ ทารกแรกเกิดกินน้อย ในช่วงแรกเป็นเรื่องปกติ8jt แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณอื่นๆ ร่วมด้วย และปรึกษาแพทย์เมื่อมีข้อสงสัย เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและสมวัย ซึ่งการเข้าใจธรรมชาติของการกินนมของทารกแรกเกิดและการรับมืออย่างถูกวิธี จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลและเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างมีความสุขและมั่นใจยิ่งขึ้น

 

 

ที่มา : iel.co.th , www.samitivejhospitals.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นมแม่สีเหลือง ปกติมั้ย? ลูกกินได้หรือเปล่า น้ำนมแม่มีกี่สี

นมแม่เป็นลิ่ม เพราะอาหารที่กินจริงมั้ย? เกี่ยวกับ ท่อน้ำนมอุดตัน หรือเปล่า?

ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า วิธีแก้ไขให้ลูกน้อย ยอมกลับมากินนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี