X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง แม่ท้องต้องทำอย่างไร

บทความ 3 นาที
ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง แม่ท้องต้องทำอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนล้วนแล้วแต่อยากให้ลูกคลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ด้วยกันทั้งนั้น และสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเกิดความวิตกกังวล เมื่อพบว่าลูกน้อยที่คลอดออกมามีภาวะตัวเหลือง ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะตัวเหลืองกัน

ภาวะตัวเหลือง คืออะไร

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง : รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน อธิบายถึงเรื่องภาวะตัวเหลืองไว้ว่า ภาวะตัวเหลืองในเด็ก เกิดขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายต้องกำจัดออกทางตับ โดยเอนไซน์ในตับจะช่วยเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะส่งต่อไปยังลำไส้ และขับถ่ายสารเหลืองออกมาทางอุจจาระมากที่สุด ดังนั้นหากมีโรค หรือ ความผิดปกติใดๆของร่างกายที่มีผลต่อขั้นตอนเหล่านี้ก็จะส่งผลให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกตินั่นเอง

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง ภาวะตัวเหลือง

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง

ทำไมลูกจึงมีภาวะตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลือง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และอาจจะพบได้มากขึ้นหากทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเด็กจะมีอาการตัวเหลืองที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งภาวะตัวเหลืองนั้น แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ

เป็นภาวะตัวเหลืองที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดเกือบทุกคน ทำให้ทารกตัวเหลืองเล็กน้อยตอนที่อายุได้ 3-5 วัน จากนั้นจะค่อย ๆ เหลืองน้อยลงจนหายได้เอง และมักจะไม่เป็นอันตรายต่อทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองปกตินี้ มีสาเหตุมาจาก ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิดเด็ก เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกออกก็จะมีสารเหลืองออกมาด้วย

และด้วยความที่เด็กแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งเม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุสั้น และมีเม็ดเลือดแดงที่สร้างไม่สมบูรณ์ปริมาณมาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ และการทำงานของตับเด็กแรกเกิดก็ยังไม่สมบูรณ์จึงกำจัดสารเหลืองได้ช้า ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองปกตินั่นเอง

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติ หรือตัวเหลืองเนื่องจากเป็นโรค

ภาวะตัวเหลืองผิดปกติ หรือตัวเหลืองเนื่องจากเป็นโรค จะมีลักษณะที่สังเกตได้ คือ เริ่มเหลืองเร็ว เมื่ออายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และอัตราการเพิ่มของค่าสารเหลืองในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วมาก และมีตัวเหลืองนานเกินกว่า 14 วัน โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

สาเหตุของภาวะตัวเหลืองผิดปกติ หรือตัวเหลืองเนื่องจากเป็นโรค ที่พบบ่อย ได้แก่

  • กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากันทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมาก พบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมาก เนื่องจากโรคที่เม็ดเลือดแดงผิดปกติ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย, โรคขาดเอนไซน์ G6PD เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะ ซึ่งเลือดที่ออกนี้ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น
  • เด็กที่มีการทำงานของตับไม่สมบูรณ์ หรือมีโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ ทำให้กำจัดสารเหลืองได้น้อยลง

นอกจากนี้ ความผิดปกติที่ลำไส้ เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึมสารเหลืองกลับเข้ากระแสเลือดมากกว่าปกติแทนที่จะขับถ่ายออกไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลืองได้

ภาวะตัวเหลือง ส่งผลร้ายต่อทารกอย่างไร ?

  • หากทารกมีภาวะตัวเหลืองโดยที่ไม่ได้ดำเนินการรักษาจนระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงมาก บิลิรูบินก็จะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อสมอง และก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทได้
  • ถ้าหากเกิดขึ้นเฉียบพลัน ทารกจะมีอาการซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก หรือ อาจเกิดอาการเกร็งหลังแอ่น ชัก มีอาการไข้ และอาจร้องไห้เสียงแหลม
  • หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในระยะเวลา 6-12 เดือนต่อมา ร่างกายและแขนขาของทารกจะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ การได้ยินและการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า ระดับสติปัญญาลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้ หากเกิดขึ้นในทารกแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้ว่าจะลดระดับของบิลิรูบินจนเข้าสู่ภาวะปกติก็ตาม

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง ทำอย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไป >>>

ภาวะตัวเหลือง รักษาอย่างไร

คุณหมอรวีรัตน์ กล่าวถึงวิธีการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเอาไว้ว่า ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดมีวิธีการรักษาในโรงพยาบาลโดยการส่องไฟ และการเปลี่ยนถ่ายเลือดหากค่าสารเหลืองสูงมาก หลังจากการรักษาคุณหมอจะตรวจระดับค่าสารเหลืองซ้ำ ถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง

คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะตัวเหลือง

หากพบว่าลูกมีภาวะตัวเหลืองตั้งแต่แรกคลอด คุณหมอก็จะทำการรักษาตามวิธีมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีการนัดตรวจติดตาม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยมาตรวจตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้วพบว่าลูกมีอาการตัวเหลืองเพิ่มขึ้น ควรนำลูกมาตรวจที่โรงพยาบาลทันที นอกจากนี้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ ได้แก่

  • สังเกตสีอุจจาระ หรือปัสสาวะของทารก หากพบว่าผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีซีด หรือ ปัสสาวะมีน้ำตาลเข้ม ควรพาลูกไปพบคุณหมอทันที
  • สังเกตอาการ หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม หรือท้องอืด หากพบอาการเหล่านี้ ควรพาลูกน้อยมาพบแพทย์ทันที
  • แนะนำให้เลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่ และให้ลูกกินนมแม่ทันทีที่เป็นไปได้หลังคลอด

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

เพื่อความปลอดภัยและลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ คุณแม่ท้องควรปฏิบัติดังนี้

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
  • ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติใด ๆ คุณหมอก็จะประเมินพร้อมให้คำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยได้
  • เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์เสียแต่เนิ่น ๆ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • ให้ลูกดูดนมแม่หลังคลอด จะช่วยให้ลำไส้ของลูกเคลื่อนตัวได้ดี และเป็นการช่วยขับสารสีเหลือง หรือ บิลิรูบิน ได้อีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

เคล็ดลับคลอดง่าย ต้องกินอะไรก่อนคลอด

หลังคลอดกินยาสตรีได้ไหม อยากให้น้ำคาวปลาไหลดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำอย่างไร

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง แม่ท้องต้องทำอย่างไร
แชร์ :
  • ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

    ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

  • รีวิวนมถั่วเหลือง 10 นมถั่วเหลืองที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย อร่อย!

    รีวิวนมถั่วเหลือง 10 นมถั่วเหลืองที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย อร่อย!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

    ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

  • รีวิวนมถั่วเหลือง 10 นมถั่วเหลืองที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย อร่อย!

    รีวิวนมถั่วเหลือง 10 นมถั่วเหลืองที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย อร่อย!

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ