ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่ ต้องผ่านความยากลำบาก และ ความเครียดมากมาย เกินกว่าที่ใครจะคิดได้ นอกจากความเครียดเรื่องตั้งท้อง จนมาเครียดเรื่องลูก ร่างกาย และ ฮอร์โมนของคุณแม่ ก็ทำให้ คุณแม่ ร่างกายไม่แข็งแรง อ่อนแอกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ล่าสุดมีงานวิจัยออกมาบอกว่า แม่ลูกสามเครียดที่สุด ในจำนวนคุณแม่ทั้งหมด
แม่ลูก 3 Is The Magic Number
เลข 3 เป็นเลขที่แสนวิเศษ อ้างอิงจาก แบบสอบถาม บอกว่า แม่ที่มีลูก 3 คนนั้นเป็นแม่ที่เครียดที่สุด เครียดกว่าแม่ที่มีลูก 1 หรือ 2 คน น่าแปลก แม่ที่มีลูก 4 คนขึ้นไปจะยังมีความเครียดน้อยกว่าอีก
คุณหมอ Janet Taylor บอกว่า เมื่อคุณมีลูกมากขึ้น ในสมองของคุณจะไม่มีเวลาคิดเลยว่า ตอนนี้จะทำอะไรดี มันแทบไม่มีเวลาให้หายใจเลย สิ่งที่คุณจะทำได้ก็คือ ยิ่งคุณมีลูกมาก คุณก็จะมีประสบการณ์มากกว่า และ ประสบการณ์นี้ จะบอกคุณได้ว่า คุณควรจะมีความมั่นใจมากกว่านี้ เพราะคุณทำได้แน่นอน
การที่คุณจะไปกังวลว่าทุกอย่างจะออกมาดี หรือ เพอร์เฟ็ค แค่ไหน อาจจะไม่ใช่คำตอบ
แม่หลายคนมีความเครียด
แม่กว่า 7,000 เข้าร่วมการสำรวจนี้ และส่วนใหญ่ ค่าเฉลี่ยความเครียดจะอยู่ที่ 8.5 จาก 10 โดยแม่ 46 เปอร์เซ็นต์ บอกว่า แฟนของพวกเขาเครียดเรื่องลูกมากกว่าตัวเอง และอีกกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ออกมายอมรับว่าพวกเขา เครียด เพราะเมื่อเวลาอยู่ต่อหน้าแฟน สามี หรือ ภรรยา พวกเขาจะต้องทำเหมือนรู้ทุกอย่าง ทุกอย่างโอเค
คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Mommy Wars” หรือ สงครามคุณแม่ คุณแม่ที่เข้าร่วมทำแบบสำรวจมากมายบอกว่า แม่ๆด้วยกันนี่แหละ ที่ชอบตัดสิน และ วิจารณ์กันมากกว่าใคร แทนที่คนเป็นแม่ด้วยกันจะสนับสนุนกันมากกว่าซะอีก
ผลวิจัย หากคนท้องเครียดมาก แม่ลูกสามเครียดที่สุด
สมาคมทางวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยา ได้ทำการค้นคว้าว่า การที่คุณแม่ท้องเครียดมากนั้น ส่งผลร้ายกับทารกในครรภ์มากมาย แน่นอนว่าเป็นการส่งผลแบบระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของทัศนคติในการใช้ชีวิตของทารกในครรภ์หลังจากที่คลอดออกมา
จริงอยู่ ที่อารมณ์อาจจะไม่สามารถส่งผ่านรกของคุณแม่ได้ แต่ทุก ๆ ครั้งที่คุณแม่ท้องเครียด ก็จะเกิดฮอร์โมนความเครียดชนิดหนึ่งขึ้นมา แล้วเจ้าฮอร์โมนตัวนี้นี่แหละค่ะ ที่สามารถส่งผ่านรกของคุณแม่ไปยังทารกในครรภ์ได้
และการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนความเครียด ก็จะส่งผลให้สภาพภายในร่างกายของคุณแม่ท้อง เช่น
- มดลูกเกิดการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
- กระตุ้นให้ต้องคลอดก่อนกำหนด
- ทำให้ลูกน้อยมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์
- มีปัญหาเรื่องปอด
- มีพัฒนาการที่ช้า
- มีปัญหาด้านการเรียนรู้เมื่อโตขึ้น
จากการศึกษาถึงผลระยะยาว พบว่า เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้น ความเครียดของแม่ท้องจะมีผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมของลูกในครรภ์เป็นอย่างมาก เด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะซึมเศร้า ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าได้ง่าย ตกใจ โมโหง่าย และปรับตัวเข้ากับวิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ยาก กลายเป็นเด็กเลี้ยงยาก
ที่สำคัญนะคะ การที่คนท้องเครียดมากเกินไปนั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมองของลูก โดยเฉพาะในส่วนของอารมณ์และการเรียนรู้ ทำให้ทารกที่เกิดมาพร้อมนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะออทิสติกเช่นกัน ดังนั้นคุณแม่ท้องทุกท่านคะ อย่าเครียดไปเลยค่ะ เพราะความเครียดนั้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อคุณแม่แล้ว ทารกในครรภ์ก็ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กัน
สัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอด
ผู้หญิงหลังคลอดแต่ละคนก็จะมีอาการและสัญญาณของโรคที่ต่างกันออกไป แต่จะครอบคลุมอาการต่อไปนี้
- รู้สึกสิ้นหวัง
- รู้สึกผิด
- เหนื่อยล้า
- ไม่มีความสุข
- รู้สึกโดดเดี่ยว
- รู้สึกวิตกกังวล
- รู้สึกสิ้นหวังหาทางออกไม่ได้
โดยปกติแล้วแม่ทุกคนจะมีอาการแบบนี้บ้าง แต่จะหายไปได้เอง แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้นก็เข้าข่ายว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดแล้วล่ะค่ะ
โดยปกติแล้วผู้หญิงมักจะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ หรือไม่ก็หลังจากลูกอายุหลายเดือนแล้ว คุณอาจจะรู้สึกดีที่ได้ดูแลลูก แต่ก็ไม่วายพบว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด หากว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ เวลาคลอดลูกแล้วก็จะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอด
เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอดที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากการสั่งการของสมองและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกาย บางกรณีอาจจะเกิดจากปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่คุณอาจจะรับมือไม่ไหวก็เป็นได้ เช่น
- คุณอาจจะเคยเป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาทางจิต หรืออาจจะเป็นโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
- ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังโดยสามีและครอบครัวไม่ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร
- มีปัญหาด้านการเงิน บ้าน งาน หรือความสัมพันธ์ของคุณและสามี
- ปัญหาช่วงคลอดลูกและสุขภาพหลังคลอด
- ลูกคลอดก่อนกำหนดและไม่แข็งแรง
- เครียดเรื่องน้ำนมไม่ไหล
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด
คุณสามารถพูดคุยเพื่อระบายความในใจให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวฟัง แต่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจว่าคุณกำลังเผชิญปัญหากับโรคซึมเศร้าเพราะคนไทยมักจะไม่ค่อยรู้จักโรคนี้มากนัก
แต่โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการรักษาที่ถูกต้อง
คุณสามารถดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงโรคซึมเศร้าได้ดังนี้
พักผ่อนเยอะ ๆ พยายามนอนพร้อมกับลูก เวลาลูกตื่นคุณจะได้ไม่เหนื่อยและหงุดหงิด หรือ หากมีคนคอยช่วยดูแลลูกก็พยายามพักผ่อน ดื่มนมอุ่น ๆ ฟังเพลงผ่อนคลายและนอนหลับ
ทานอาหารมีประโยชน์ ร่างกายของคุณต้องการอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรองรับการปรับตัวของร่างกายในการให้นมลูก พยายามอย่าปล่อยให้ตัวเองหิวและขาดอาหารนานนัก เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในร่างกายตก การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เหนื่อย หรือโทรม
ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ แต่จริง ๆ แล้วการออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสดใส ค่อย ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเดินเล่นกับลูกในสวนเล่นโยคะ หรือพิลาเตส เพื่อผ่อนคลาย คุณอาจจะมองหาคลาสออกกำลังกายสำหรับแม่และเด็กที่สามารถให้คุณออกกำลังกายได้พร้อมกับดูแลลูกอยู่ใกล้ ๆ ในกรณีที่คุณไม่สามารถหาคนช่วยดูแลลูกได้
ลองออกไปพบปะกับคุณแม่คนอื่นดู สำหรับเมืองไทยยังไม่มีการรวมกลุ่มของแม่และลูกที่เกิดในช่วงเดียวกันเหมือนต่างประเทศ แต่คุณสามารถตั้งกลุ่มขึ้นมาเองได้
จากการสังเกตและการผูกมิตรกับแม่ที่คลอดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับคุณที่โรงพยาบาลเพื่อถามไถ่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน คุณจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่ตัวคนเดียว
คอยดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง คุณควรดูแลตัวเองให้ดีเพื่อจะได้ดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องทำก็ปล่อยไปบ้าง ปัญหาใหญ่บางอย่างยังหาทางแก้ไม่ได้ก็พักไว้ก่อน
อย่าทำให้ตัวเองเครียดเกินไป คุณควรประเมินว่าพอมีอะไรบ้างที่คุณทำได้อะไรที่ทำไม่ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ
คนรอบข้างสามารถช่วยได้อย่างไรบ้าง โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ดังนั้นคุณจะควรให้ข้อมูลเรื่องโรคซึมเศร้าหลังคลอดแก่คนรอบข้าง
และเล่าให้ฟังว่าตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง เมื่อคนรอบข้างคุณเข้าใจเขาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณ เช่น
การดูแลลูกเพื่อให้คุณมีเวลาพักผ่อน และใช้เวลาร่วมกับสามี สามีอาจช่วยแบ่งเบาภาระในบ้าน เช่น ทำความสะอาด ดูแลลูกให้คุณได้พักผ่อน การช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้มากทีเดียว
ไม่อยากเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดควรทำอย่างไร
คุณควรดูแลตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์ พยายามลดระดับความเครียดลง และยินดีให้คนรอบข้างช่วยแบ่งเบาภาระ เมื่อคุณรู้สึกว่ามีคนรอบข้างคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ
เวลาที่คุณมีลูกคุณก็จะมั่นใจว่ามีคนรอบข้างที่คอยอยู่เคียงข้างคุณ แต่ถ้าหากคุณรู้สึกวิตกกังวล หรือรู้สึกว่าตัวเองกำลังแย่ก็ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ
Source : nypost
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
8 วิธีลดความเครียด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เครียดมากส่งผลต่อลูกในท้อง
อยากให้ลูกเรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร?
สังเกตุตัวเองให้ดี 13 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ใช่แม่แค่เครียด