G6PD หรือ ภาวะพร่องเอนไซม์ คือภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ G6PD ซึ่งมีบทบาทในการปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดงจากการทำลาย ในเด็กที่มีภาวะนี้ระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่สามารถปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดงจากการถูกทำลายได้อย่างปกติ อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง (Hemolytic Anemia) ได้ หากรับสารบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กทานอาหารหรือดื่มนมที่มีส่วนประกอบที่ไม่เหมาะสม เรามาดูกันค่ะว่า นมสำหรับเด็กเป็น G6PD เลือกยังไง? มีข้อควรระวังอะไรที่คุณแม่ต้องรู้บ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการบำรุงอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร ?
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ โรคแพ้ถั่วปากอ้า เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเมื่อได้รับสารบางชนิด พบมากในเด็กชาย ซึ่งจี-ซิกพีดี เป็นเอนไซม์ที่พบในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย หากเด็กที่เป็น G6PD รับยา อาหารบางชนิด มีภาวะเจ็บป่วยหรือมีไข้ หรือได้รับสารที่กระตุ้นการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง อาจทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีโค้ก เกิดอาการโลหิตจางอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น หากลูกน้อยเป็น G6PD คุณพพ่อคุณแม่ก็ต้องใส่ใจเป็นพิเศษกับการเลือกอาหาร และ นมสำหรับเด็กเป็น G6PD เพื่อหลีกเลี่ยงสารที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกค่ะ
สาเหตุของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD
G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรมค่ะ ส่วนใหญ่จะพบการถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกชาย ในประเทศไทยมีเพศชายเป็นโรคนี้ประมาณ 15% ส่วนผู้หญิงพบประมาณ 3-4% ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นพาหะ และผู้ชายจะเป็นโรค โดยบางคนก็ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคนี้ เนื่องจากไม่ได้มีการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกเกิด โดยโรคพร่องเอนไซม์ G6PD หรือ โรคแพ้ถั่วปากอ้า อาจมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ได้ด้วย
- เม็ดเลือดแดงแตกตัว จากการที่ร่างกายได้รับสารหรือยาบางอย่าง เช่น ถั่วปากอ้า ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก โดยเฉพาะถั่วปากอ้าสด จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายกว่าการกินถั่วปากอ้าที่ผ่านการปรุงสุกมาแล้ว
- ได้รับยาบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด ยาแอสไพริน ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟาหรือไนโตรฟูแรนโทอิน ยาต้านมาลาเรียบางชนิด เช่น ควินิน หรือควินิดีน
- การกินเชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ โยเกิร์ตบางชนิดที่มีถั่ว ไวน์แดง และการได้รับกลิ่นลูกเหม็น

อาการที่แสดงว่าลูกเป็นภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
ในทารกแรกเกิดอายุ 1–4 วัน จะมีอาการซีดและตัวเหลืองนานกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับตรวจเลือดพบค่าสารเหลืองมากเกินปกติ โดยพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ต้องรับการส่องไฟ จะเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ซึ่งหากพบว่ามีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง แพทย์ก็จะเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ G6PD จะทำให้ทราบตั้งแต่ตอนนั้นว่าทารกเป็นโรคนี้หรือไม่
ทั้งนี้ การส่องไฟ (Phototherapy) เพื่อให้แสงไฟทำปฏิกิริยากับสารเหลืองที่อยู่บริเวณผิวหนังทารก กลายเป็นสารเหลืองที่สามารถขับออกจากร่างกายได้ หลังกลับบ้านทารกที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ส่วนใหญ่จะมีสุขภาพแข็งแรงดี คุณแม่สามารถให้การดูแลเหมือนทารกปกติทั่วไปได้ แม้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ไม่มีอันตรายร้ายแรงถ้ารู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หรือเมื่อมีอาการเจ็บป่วย มีไข้ ให้รีบพบแพทย์ค่ะ

หลักการเลือก นมสำหรับเด็กเป็น G6PD
การเลือกนมสำหรับเด็กเป็น G6PD มีความสำคัญมากนะคะ เนื่องจากบางชนิดของนมและส่วนผสมในนมอาจมีส่วนประกอบที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการผิดปกติได้ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยอาจอาศัยหลักการต่อไปนี้
-
นมแม่ดีที่สุดสำหรับเด็กเป็น G6PD
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกทุกคน รวมถึงทารกที่มีภาวะ G6PD หากคุณแม่มีน้ำนมเพียงพอ ควรให้นมแม่แก่ลูกน้อยค่ะ เนื่องจากมีสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทารก มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อและปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีภาวะ G6PD และกินนมแม่เป็นหลัก คุณแม่ให้นมควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารต่างๆ ต่อไปนี้ค่ะเหล่านี้
- ถั่วปากอ้า บลูเบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
- วิตามินซี ที่อยู่ในรูปเม็ดยาหรืออาหารเสริม แต่วิตามินซีที่อยู่ในอาหารโดยธรรมชาติกินได้ตามปกต
- น้ำโซดาบางชนิด (tonic water) เพราะอาจมีควินินผสม
- ไวน์แดง
- เมนทอล การบูร
นอกจากนี้ ไม่ควรกินยาต่างๆ เช่น
- ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
- ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide)
- ยารักษาโรคเรื้อน เช่น dapsone
- ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin)
- ยาลดไข้ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น อะเซตานิไลด์ (Acetanilide) รวมถึงยาแอสไพรินหรือพาราเซตามอล (Paracetamol) ก็อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น กรดนาลิดิสิก (Nalidixic acid) โคไตรมอกซาโซล (Cotrimoxazole)
- ยารักษาโรคมะเร็ง เช่น ดอกโซรูบิซิน (doxorubicin)
- หลีกเลี่ยงสารต่างๆ เช่น แนฟธาลีน (ลูกเหม็นที่ใช้อบผ้า, กันแมลง)

-
นมวัว 100% หรือนมสูตรพิเศษ
หากคุณแม่ไม่สามารถให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้ แต่ลูกน้อยไม่ได้มีภาวะแพ้นมวัว ก็สามารถให้ลูกกินนมวัวได้ค่ะ หรือควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกนมสูตรพิเศษที่เป็น นมสำหรับเด็กเป็น G6PD โดยเฉพาะ เนื่องจากนมผงสูตรปกติทั่วไปมักมีส่วนผสมของถั่วเหลืองที่อาจมีความเสี่ยงในการ กระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ แต่นมสูตรพิเศษจะได้รับการปรับปรุงสูตรเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว และปราศจากสารเคมีหรือส่วนผสมที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือเม็ดเลือดแดงแตกค่ะ
-
หลีกเลี่ยงนมที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง
เด็กที่เป็น G6PD บางคน อาจมีอาการแพ้ถั่วเหลือง ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ ควรเลือกนมที่ไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง หรือปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนเลือกนมให้ลูกน้อยค่ะ
-
หลีกเลี่ยงนมที่มีส่วนผสมของสารสังเคราะห์
ควรเลือกนมที่ไม่มีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ เช่น สีสังเคราะห์ สารกันบูด หรือสารปรุงแต่งรสชาติ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ นมสำหรับเด็กเป็น G6PD
ภาพ : Big C Online
-
Hi-Q Super Gold Pepti Synbio ProteQ สูตร 1
เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด – 1 ปี ที่แพ้โปรตีนนมวัว สูตรผสมโปรตีนเวย์เข้มข้นจากนมที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (อาหารทางการแพทย์) ผสม patented GOS/lcFOS ratio of 9:1 combination
ภาพ : Big C Online
-
S-26 Gold Pro HA
นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด – 1 ปี มีเวย์โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน โอลิโกแซคคาไรด์ (ใยอาหาร) โพรไบโอติกผสม (จุลินทรีย์บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส) และสารอาหารหลากหลาย
นมสำหรับเด็กเป็น G6PD ต้องใส่ใจในการเลือก และการดูแลลูกน้อยที่เป็น G6PD ก็ต้องอาศัยความใส่ใจและการดูแลอย่างใกล้ชิด ที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย โดยก่อนเลือก นมสำหรับเด็กเป็น G6PD คุณแม่ควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างละเอียดก่อนซื้อ และสังเกตอาการของลูกน้อยหลังดื่มนม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ตัวเหลือง ซีด หรือปัสสาวะสีเข้ม ควรรีบปรึกษาแพทย์ รวมทั้งติดตามการนัดหมายกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินสุขภาพและปรับเปลี่ยนอาหารของลูกน้อยตามความเหมาะสมค่ะ
ที่มา : www.khonkaenram.com , www.rajavithi.go.th , hdmall.co.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมนมแม่มีหลายสี ! แต่ละสีของน้ำนมบอกอะไร ลูกกินได้ไหม ?
ทารก 6 เดือน กินอะไรได้บ้าง ? เริ่มต้นอาหารตามวัยอย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ครบ!
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!